วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแคงเกอร์ รุนแรง มากขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคแคงเกอร์ รุนแรง ที่สำคัญคือ


1 ตัวสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคแคงเกอร์
2 สายพันธุ์ของ พืชตระกูลส้ม
3 ปริมาณน้ำฝน
4 ความเร็วลม
5 อุณหภูมิ ที่เหมาะสม
6 ความอ่อนแอของ พืช

                                       โรคแคงเกอร์  เป็น โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Xanthomonas axonopodis หรือ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Xanthomonas campestris  ชาวสวนหลายคนมักสับสนกับ โรคขี้กลาก หรือ Scab ซึ่งเกิดจากเชื้อรา โรคแคงเกอร์ จะทำให้ใบ  กิ่ง ผลมี จุดเหลือง ตรงกลางจะออกสีน้ำตาล ต่อมาจะขยายและ มีการแตกออกในที่สุด โรคนี้จะส่งผลให้ ใบถูกทำลาย  การสังเคราะห์แสงลดลง ผลมีขนาดเล็กและหลุดร่วงได้ง่าย  



โรคแคงเกอร์
ภาพ ลักษณะรอยโรคแคงเกอร์ 


1 ตัวสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคแคงเกอร์ ซึ่งมีหลายพันธุ์  หลักๆ จะมี พันธุ์บราซิล พันธุ์อเมริกา พันธุ์อาหรับ-อินเดีย และ พันธุ์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้  เราพบว่า โรคแคงเกอร์สายพันธุ์เอเซีย มี ความรุนแรงมากที่สุด


2 สายพันธุ์ของ พืชตระกูลส้ม  พืชตระกูลส้ม ที่ไม่ทนต่อโรคแคงเกอร์ได้แก่ มะนาวแป้นรำไพ มะนาวแป้นพวง  มะนาวแป้นวโรชา ส่วน แป้นพิจิตร แป้นสุขประเสริฐ สามารถทนต่อโรคแคงเกอร์  มะนาวตาฮิติ  ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง ได้ดี พอสมควร   ส่วนส้มจีนแมนดาริน และ ส้ม kumquat จะทนต่อโรคแคงเกอร์ได้ดีมาก


3 ปริมาณน้ำฝน ยิ่งฝนมาก การระบาดโรคแคงเกอร์ยิ่งรุนแรง เพราะเชื้อ แคงเกอร์ Xanthomonas axonopodis  เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปแท่ง มีหาง สามารถว่ายน้ำได้ดี

4 ความเร็วลม ลมแรงจะช่วยพัดกระจาย เชื้อโรคให้ระบาดมากขึ้น เร็วขึ้น


5 อุณหภูมิ ที่เหมาะสม คือ ใน ช่วง 20 องศา ถึง 39 องศา เป็นช่วงที่ เชื้อโรคแคงเกอร์สามารถ เจริญเติบโตได้ดี การระบาดจะรุนแรงมาก ในฤดูฝน หรือ ฤดูร้อน  หากอากาศหนาวจัดโรคมักไม่ระบาด แต่เมื่ออากาศร้อนชื้น  เชื้อ แคงเกอร์ Xanthomonas axonopodis   จะเพิ่มจำนวน ขึ้นกว่า 10 ล้านเท่า ในเวลาเพียง 10 วันเท่านั้น




6 ความอ่อนแอของ พืช  เกิดจากพืชขาดอาหาร หรือ ขาดน้ำ  ดินที่มี pH ไม่เหมาะสม จะทำให้ต้นพืชอ่อนแอ โดยเฉพาะดินเป็นกรดจัด  ดินที่ดินจะมี pH ในช่วง 6.0-7.0 กรณี pH ต่ำกว่า 5.5 พืชจะอ่อนแอมากขึ้นเกิดโรคได้ง่าย และ มักขาดธาตุอาหารหลายชนิดตามมา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น