วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

โรคที่มีความสำคัญในมะนาว

โรคที่มีความสำคัญในมะนาว




1 โรคแคงเกอร์  ( Citrus Canker ) คือ โรคที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้ จะทำให้ ใบ ผล กิ่งมะนาว ผิดปกติ โดย จะพบจุดเหลืองที่ใบ และ ตรงกลางมักมีสีน้ำตาล  โรคแคงเกอร์ระบาดเร็วมาก รักษายาก  สามารถสร้างความเสียหายแก่ต้นมะนาวได้รุนแรง  มะนาวที่ติดโรคแคงเกอร์จะโตช้า  ผลจะเสียหายและขายไม่ได้ราคา กรณี มะนาวติดโรครุนแรง ต้นมะนาว สามารถตายได้ สายพันธุ์มะนาว ที่ ติดโรคแคงเกอร์ได้ง่าย  มีหลายพันธุ์ได้แก่ แป้นรำไพ  แป้นพวง  แป้นเกษตร และ แป้นวโรชา  ส่วนแป้นพิจิตร  แป้นสุขประเสริฐ  และ ตาฮิติ พบว่า มีความต้านทานโรคแคงเกอร์ ได้ดี พอสมควร หากพบโรคแคงเกอร์ ให้รีบตัดแต่งกิ่งใบที่เป็นโรคไปเผาทำลาย  และ ใช้ยา Super C ฉีดพ่นเพื่อคุมโรคทันที 



2 โรครากเน่า โคนเน่า  เกิดจากเชื้อรา  หลายสายพันธุ์ ที่พบบ่อยได้แก่  เชื้อไฟท็อปเทอร่า  ฟิวราเซี่ยม  และ ไพเรียม   โรคนี้ จะก่อความเสียหาย รุนแรง ทำให้ต้นมะนาวยืนต้นตาย  เพราะเมื่อเชื้อราไปทำลายระบบรากมะนาว  ใบมะนาวจะร่วง ลำต้นมะนาว จะ ค่อยๆ แห้งตายไป  โดยจะพบว่า รากจำนวนมาก ถูกทำลายลงไป  ยาเคมี ที่ใช้ รักษาป้องกันโรค คือ ยา เมทาแลกซิล  และ  ยา เทอร์ร่าคลอ ซุปเปอร์ เอ็กซ์  หากต้องการใช้ยาแบบปลอดสารพิษ แนะนำให้ใช้  Killer B ผสมน้ำ ราดดินปีละ 2 ครั้ง




3 โรคสแค็บ ( Citrus Scab )  เป็น โรคที่เกิดจากเชื้อรา  ที่ทำให้ใบและผล มี ตุ่ม และรอยแผล เป็นก้อนกลมๆ พบในมะนาว ได้ สามารถใช้ ยากลุ่มคอปเปอร์ หรือ ไฮโดรเจน เพอออกไซต์ในการรักษา โรคสแค๊บได้ผลดี มาก หากพบโรค Scab ให้รีบตัดแต่งกิ่งใบที่เป็นโรคไปเผาทำลาย  และ ใช้ยา Super C ฉีดพ่นเพื่อคุมโรคทันที 




4 โรคราน้ำหมาก ( Melanose )  เป็น โรคที่เกิดจากเชื้อรา  ใบและ ผลมี จุดดำ คล้ายน้ำหมาก เกิดจากความชื้นที่สูงเกินไป  หากกเกิดกับ ผลมะนาว จะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง อาการจะคล้ายกับ โดนยาที่เข้าน้ำมัน เช่น ยาอะบาเม็กติน  แต่ ราน้ำหมาก มักพบความเสียหายที่ใบด้วย ตามภาพ  โรครากน้ำหมาก ใช้ ยา Super C หรือ โพพิแนบ ในการรักษา




5 โรคกรีนนิ่ง  Huanglongbing )  เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ที่มีเพลี้ยไก่แจ้ เป็นพาหะนำโรค  จะทำให้ใบมะนาว มีสีซึดจาง และ ใบอาจมี ลักษณะเล็กลง มองดูคล้าย การ ขาดธาตุ สังกะสี โดยเชื้อแบคทีเรีย จะอาศัย ในระบบท่อน้ำต้นมะนาว ปัจจุบัน เราใช้ ยา เตตร้าซัยคลิน  หรือ  แอมพิซิลิน ในการรักษา โรคกรีนนิ่ง  หรือยา Super C โดยฉีดเข้าลำต้น จำนวน 4  รอบ  สำหรับ ยา  แอมพิซิลิน ส่วน  Super C โดยฉีดเข้าลำต้น จำนวน 2  รอบ  พอแล้ว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น