วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

เตรียมก่อนมะนาวจะออกดอก

การขายมะนาวให้ได้ราคาแพง คือ ขาย ช่วง 25 เมษายน ถึง 10 พฤษภาคม ของทุกปี

การจะขายผลมะนาวช่วงราคาแพงนี้ มะนาวต้องออกดอก ใน วันที่ 20 พฤศจิกายน ถึง



10  ธันวาคม  ก็จะสามารถ มีผลมะนาวขาย ช่วงมะนาวราคาแพงพอดี ดังนั้น การเตรียม



ต้นมะนาวใน   เดือนตุลาคม และ  พฤศจิกายน จะมีความสำคัญมาก ต่อ  การทำมะนาว



นอกฤดู   ให้ได้ราคาดี โดย ใน  เดือนตุลาคม  ต้องทำ สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้



  1. ปรับปรุงดิน ให้ ปูนขาว (หากดินเป็นกรด )  และ เชื้อไตรโคเดอร์ม่า
  2. กวาดล้างโรคแคงเกอร์ และ เชื้อรา ด้วย Super C หรือ LionHeart
  3. ให้ปุ๋ยสูตร 0-0-60  ทางดินต้นละ 2 ขีด  รอบทรงพุ่ม
  4. ให้ปุ๋ยโยกหลังทางใบ  ทุก 10 วัน แนะนำ สูตร 10-20-30 ชาลีเฟท


ส่วน เดือน พฤศจิกายน ต้องทำ สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

  • งดให้น้ำทางดิน ทุก ชนิด
  • หากมีฝนตก ให้ ปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 และ สูตร 0-0-60 ทางดิน
  • ให้ปุ๋ยโยกหลังทางใบ  ทุก 10 วัน แนะนำ สูตร 10-20-30 ชาลีเฟท
  • เมื่อถึงวันที่  15  พฤศจิกายน หาก ใบเริ่มเหี่ยวขาดน้ำ เล็กน้อย ให้เปิดตาดอก


การเปิดตาดอกปกติจะทำให้ช่วง  15  พฤศจิกายน ถึง  5   ธันวาคม โดยทำดังนี้
  1. หาก ใบเริ่มเหี่ยวขาดน้ำ เล็กน้อย ให้ น้ำไปเต็มที่ 100% วันแรกทันที
  2.  วันที่สอง ให้ น้ำสัก 90% พร้อมปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 โดยให้ ปุ๋ย 100 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร
  3. วันที่สาม ให้ น้ำต่อ อีก 80%
  4. วันที่สี่ ให้ น้ำต่อ อีก 80%  พร้อมปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 โดยปกติ จะมี ตาดอกเริ่มเกิดแล้ว
  5. วันที่ห้า ให้ น้ำต่อ อีก 80%  ปกติ จะมี ตาดอกเริ่มเกิดแล้ว
  6. วันที่หก ให้ น้ำต่อ อีก 80%  ปกติ จะมี ตาดอกเริ่มเกิดแล้ว
  7. วันที่เจ็ด ให้ น้ำต่อ อีก 80%  ปกติ จะมี ตาดอกเริ่มเกิดแล้ว
  8. วันที่แปด  ให้ น้ำ ต่อ หาก เริ่มมีแทงยอดอ่อน ให้ ยาฆ่าแมลง อิมิดาคลอพริด


วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

ฝน อุปสรรค ใน การทำมะนาวนอกฤดู

ในการทำมะนาว นอกฤดู คือ ฝนตก เมื่อฝนตกมะนาว จะได้ ไนโตรเจน ที่มากับ น้ำฝน



มีการแตกใบอ่อนออกมามากมาย  หากเราตัดปลายกิ่งเดือน กรกฏาคม หรือ สิงหาคม

จำเป็นต้องอดน้ำมะนาว ใน เดือน กันยายน หรือ ตุลาคม แต่ปัญหาก็คือ สองเดือนนี้มัน



มีฝนตกมาเยอะ  ฝนยังไม่หมด โดยเฉพาะเดือนกันยายน ฝนจะมากที่สุด  ส่วนในเดือน

ตุลาคม ก็มี ฝนบ้างพอสมควร  เมื่อฝนตก ก็จะกดยอดอ่อนไม่อยู่ เมื่อมะนาวแตกใบอ่อน

ใบอ่อน มะนาว จะใช้อาหารสะสม จนหมดไป จนไม่มี การออกดอก ตามที่เราต้องการ ทาง



แก้ไขคือ ตัดปลายกิ่งในเดือน กันยายน  จะทำให้ เราต้องงดน้ำมะนาว ในเดือน 11 หรือ ก็

คือ เดือนพฤศจิกายน เมื่ออดน้ำมะนาว ครบ 1 เดือน ใบมะนาว จะแก่พอดี ใบอายุครบ



90 วัน จะออกดอก ได้แล้ว  เมื่อเราเปิดตาดอก ด้วยน้ำ และ ปุ๋ย สูตร 13-0-46 นั้น จะทำให้

มะนาวออกดอก ใน ช่วงวันที่ 5 ถึง 12 ธันวามคม พอ ถึงปลายเมษายน จน ถึงเดือน ต่อมา



คือ กลางเดือน พฤษภาคม มะนาวก็จะมีผลที่แก่ เต็มที่  พร้อมจำหน่าย  จากข้อมูลย้อนหลัง



4 ปี มะนาวในต้น เดือน  พฤษภาคม วันที่ 1 ถึง 15 จะเป็นมะนาวนอกฤดูที่ แพงที่สุด นอก



จากนี้  การใช้ปุ๋ย 0-0-60 ลงดิน ในเดือน  ตุลาคม  ถึง พฤศจิกาย  จะช่วย ให้ไม่มีใบอ่อนแตก



ออกมาได้ และ หากมีฝนตก ช่วงเดือน  พฤศจิกาย เราต้องให้ ปุ๋ยกดยอด่อน สูตร 0-52-34

ในทันที และ นี่ คือ วิธีรับมือ ปัญหา  อุปสรรค ใน การทำมะนาวนอก ฤดู  โดย สารอื่นที่ช่วย



กดการแตก ใบอ่อน คือ สารแพคโคบิวทาซอล นั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

การใช้ แพคโคบิวทาซอล ในทำมะนาวนอกฤดู

แพคโคบิวทาซอล  หรือ ภาษาอังกฤษว่า  paclobutrazol  




คือ สารเคมี ที่มี หน้าที่ ยับยั้ง การสร้างสาร  gibberellin  ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมการ

 แตกใบอ่อน เร่งการเจริญเติบโต ของกิ่งกระโดง ดังนั้นเมื่อใช้ สาร แพคโคบิวทาซอล

 จะทำให้ไม่มีการแตกใบอ่อน และ การสร้างรากพืชลดลง  พร้อมทั้ง ยับยั้งการเติบโต





ของ กิ่งกระโดง จึงส่งผล ให้ พืช พวกมะนาว ไม่มีการแตกใบอ่อน ออกมาใหม่ เพิ่ม

 เรื่อยๆ ส่งผลดีดังนี้


1 จะมีแต่ใบโตเต็มวัย หรือ ใบแก่ ที่ สังเคราะห์แสงได้ดีมาก

2 ต้นมะนาว จะสะสมอาหาร ได้มากขึ้นหลายเท่า

เพราะ ไม่ต้อง สูญเสีย อาหารไปเลี้ยงใบอ่อนเกิดใหม่

3 เมื่อใบแก่เต็มที่ ครบ 90 วัน จะพร้อมออกดอก ได้


การใช้สาร แพคโคบิวทาซอล  จะพ่น ใน  2  ช่วง  

1 ประมาณ 15 วัน หลังตัดปลายกิ่งมะนาว

2 ประมาณ 60 วัน หลังตัดปลายกิ่งมะนาว



โดย เราจะเตรียมสารละลาย  แพคโคบิวทาซอล 400 ppm

พ่นใบ ให้พอชุ่ม โดยมีการเตรียมสารละลายดังนี้  โดยในท้องตลาด จะมี

 แพคโคบิวทาซอล  10 %  กับ 15 % ขาย โดย จะต้องใช้ เครื่องชั่งน้ำหนัก

เราแปลง 400 ppm เป็น % ได้เท่ากับ  0.04%


แต่สรุป การ ใช้  แพคโคบิวทาซอล


 แพคโคบิวทาซอล  10 % หนัก 80 กรัม   ต่อ น้ำ 20 ลิตร 

 แพคโคบิวทาซอล  15 %  หนัก 53 กรัม   ต่อ น้ำ 20 ลิตร 



วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

รักษา บำรุง ใบอ่อน เพื่อ ทำมะนาวนอกฤดู

ปกติ ทำมะนาว นอกฤดู เดือน กันยายน ใบอ่อน ที่เราตัดปลายกิ่งไว้

ต้องแตกออกมาบ้างแล้ว  ใบอ่อน ชุดนี้ สำคัญมาก  เพราะใช้สร้าง

อาหาร เพื่อสะสม จากการสังเคราะห์แสง จำเป็นต้อง ป้องกันหนอน





แมลง และ เพลี้ย ไม่ให้มาทำลาย ใบชุดนี้ ได้ เมื่อใบแก่ พร้อม ก็สามารถ เปิดตาดอก และ ให้ออกดอก

อิมิดาคลอพริด


ได้ ในช่วงต้น เดือน ธันวาคม ดัังนั้น เดือนกันยายน ต้อง รักษาใบไว้ให้ได้ 100% โดย เมื่อมีการแตกใบ

อ่อน ออกมา ต้องพ่นยาฆ่า แมลงทันที ซึ่ง แนะนำสูตรยา ดังนี้ สูตร 1-4-8-15







วันที่ 1 ที่ ยอดอ่อน เริ่มแทงออกมาก ใช้ อิมิดาคลอพริด 2 กรัม / 20 ลิตร

วันที่ 4   ใช้ฟิโพรนิล 5% 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ  จำนวน   20  ลิตร



วันที่ 8   ใช้ อิมิดาคลอพริด 2 กรัม / 20 ลิตร

วันที่ 15 ใช้ คาราเต้ ขนาด 20 มิลลิตร  ต่อน้ำ  จำนวน   20  ลิตร




ช่วงนี้ เกษตรกร ต้องเดิน ตรวจแปลง เกือบทุก วัน ตลอด นาน 30 วัน เพื่อสำรวจโรคและแมลงอย่างเข้ม

หาก พบ การระบาด ของหนอน หรือ เพลี้ย ให้ใช้ เซพวิน 85 หนัก 40 กรัม ต่อน้ำ  จำนวน   20  ลิตร




โดยในวันที่ 2 ให้ ปรับดินให้เป็นกลาง หรือ กรดอ่อน ช่วง pH 6.0-7.0 เพื่่อ เพิ่ม คุณสมบัติดิน

โดยมาก ดินมักเป็นกรด ต้องแก้ไข ด้วย ปูนขาว pH11   หรือ โดโลไมท์ เติมลงในดิน



และ วันที่ 4 หลังพ่นยา  ฟิโพรนิล 5%  ให้ ใส่ ปุ๋ยทางดิน สูตรโยกหน้า 21-7-14

โดยให้ในมะนาว ต้นละ 100-200 กรัม รอบๆ ทรงพุ่ม  สัก 3 จุด  เป็นอย่างน้อย แล้ว



ขุดติื้นๆ  พอ โรยปุ๋ยได้  นำดินมากลบ ทุบๆ  หลังจากนำดินมากลบ ให้เรียบร้อย

หรือ อาจใช้ ปุ๋ยโยกหน้าทางดินสูตรอื่นได้ เช่น 15-15-15 บวก ยูเรีย ก็พอนุโลมได้

ปุ๋ยโยกหน้าทางดิน

ปกติ เราจะปุ๋ยโยกหน้าทางดิน นาน 1 เดือน เพื่อ บำรุงใบอ่อน ที่เกิดมาใหม่ และ อาจจำเป็น ต้องให้

ปุ๋ยโยกหน้าทางใบเสริม เพื่อให้ ใบมะนาว มี ขนาดใหญ่ เขียว สมบูรณ์  โดยแนะนำให้ ใช้




 ปุ๋ยนูแทค ไฮเอ็น  พ่น 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ห่างกัน  14 วัน เพื่อให้ไป สมบูรณ์เต็มที่   หาก ไม่มี เราอาจใช้

ปุ๋ยนกเงือกเขียวแทนได้


บทความที่แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม    สูตร 1-4-8-15 ปลอดสารพิษ    รวม 7 ปุ๋ยที่ต้องมี ในสวนมะนาว

วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแคงเกอร์ รุนแรง มากขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคแคงเกอร์ รุนแรง ที่สำคัญคือ


1 ตัวสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคแคงเกอร์
2 สายพันธุ์ของ พืชตระกูลส้ม
3 ปริมาณน้ำฝน
4 ความเร็วลม
5 อุณหภูมิ ที่เหมาะสม
6 ความอ่อนแอของ พืช

                                       โรคแคงเกอร์  เป็น โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Xanthomonas axonopodis หรือ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Xanthomonas campestris  ชาวสวนหลายคนมักสับสนกับ โรคขี้กลาก หรือ Scab ซึ่งเกิดจากเชื้อรา โรคแคงเกอร์ จะทำให้ใบ  กิ่ง ผลมี จุดเหลือง ตรงกลางจะออกสีน้ำตาล ต่อมาจะขยายและ มีการแตกออกในที่สุด โรคนี้จะส่งผลให้ ใบถูกทำลาย  การสังเคราะห์แสงลดลง ผลมีขนาดเล็กและหลุดร่วงได้ง่าย  



โรคแคงเกอร์
ภาพ ลักษณะรอยโรคแคงเกอร์ 


1 ตัวสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคแคงเกอร์ ซึ่งมีหลายพันธุ์  หลักๆ จะมี พันธุ์บราซิล พันธุ์อเมริกา พันธุ์อาหรับ-อินเดีย และ พันธุ์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้  เราพบว่า โรคแคงเกอร์สายพันธุ์เอเซีย มี ความรุนแรงมากที่สุด


2 สายพันธุ์ของ พืชตระกูลส้ม  พืชตระกูลส้ม ที่ไม่ทนต่อโรคแคงเกอร์ได้แก่ มะนาวแป้นรำไพ มะนาวแป้นพวง  มะนาวแป้นวโรชา ส่วน แป้นพิจิตร แป้นสุขประเสริฐ สามารถทนต่อโรคแคงเกอร์  มะนาวตาฮิติ  ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง ได้ดี พอสมควร   ส่วนส้มจีนแมนดาริน และ ส้ม kumquat จะทนต่อโรคแคงเกอร์ได้ดีมาก


3 ปริมาณน้ำฝน ยิ่งฝนมาก การระบาดโรคแคงเกอร์ยิ่งรุนแรง เพราะเชื้อ แคงเกอร์ Xanthomonas axonopodis  เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปแท่ง มีหาง สามารถว่ายน้ำได้ดี

4 ความเร็วลม ลมแรงจะช่วยพัดกระจาย เชื้อโรคให้ระบาดมากขึ้น เร็วขึ้น


5 อุณหภูมิ ที่เหมาะสม คือ ใน ช่วง 20 องศา ถึง 39 องศา เป็นช่วงที่ เชื้อโรคแคงเกอร์สามารถ เจริญเติบโตได้ดี การระบาดจะรุนแรงมาก ในฤดูฝน หรือ ฤดูร้อน  หากอากาศหนาวจัดโรคมักไม่ระบาด แต่เมื่ออากาศร้อนชื้น  เชื้อ แคงเกอร์ Xanthomonas axonopodis   จะเพิ่มจำนวน ขึ้นกว่า 10 ล้านเท่า ในเวลาเพียง 10 วันเท่านั้น




6 ความอ่อนแอของ พืช  เกิดจากพืชขาดอาหาร หรือ ขาดน้ำ  ดินที่มี pH ไม่เหมาะสม จะทำให้ต้นพืชอ่อนแอ โดยเฉพาะดินเป็นกรดจัด  ดินที่ดินจะมี pH ในช่วง 6.0-7.0 กรณี pH ต่ำกว่า 5.5 พืชจะอ่อนแอมากขึ้นเกิดโรคได้ง่าย และ มักขาดธาตุอาหารหลายชนิดตามมา