วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ค่า cn เรโช

C:N Ratio


เป็นเพียงทฤษฎีการออกดอกของต้นไม้ทฤษฎีหนึ่งเท่านั้นครับ

การออกดอกของพืชหลายชนิด เช่นไม้ผล มะม่วง  ลำไย เป็นต้น

เมื่อใช้ทฤฏี C:N Ratio พบว่าสามารถออกดอกได้ เมื่อ C:N Ratio ถึงระดับหนึ่ง

ซึ่งไม่สามารถกำหนดเป็นค่าที่แน่นอน เพราะการออกดอกยังขึ้นกับปัจจัยอีก

หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ชนิดพืช อายุ  ฤดูกาล ภูมิประเทศ แสง อุณหภูมิ

ความชื้น   ล้วนมีผลต่อการออกดอกของพืชได้ทั้งสิ้น


อย่างเช่นตัวอย่างพืช 2 ชนิดที่ผมเอ่ยถึง


ในมะม่วง

ใช้วิธีการ ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต พวก พาโคลบิวทราโซล ราดลง

ดินไป ทำให้ มะม่วงสังเคราะห์แสงได้แต่นำไปใช้ในการเจริญเติบโตไม่ได้หรือได้น้อย

จึงสะสมในรูปของ คาร์โบไฮเดรท นั่นคือ C นั่นเอง เมื่อ C ถูกสะสมจนมีค่า

C:N Ratio ถึงระดับหนึ่ง มะม่วงก็ออกดอก


ในลำไย

ใช้สารโปตัสเซี่ยมคลอเรท สารนี้มีผลทำให้ลำไย ขาด N หรือ ลด N ในดินลง

ทำให้ N ของลำไย ใน C:N Ratio ลดลง (สมมติว่า C มันเท่าเดิม)

จนถึงค่า C:N Ratio ในระดับหนึ่ง จึงออกดอก


ถ้า จขกท. พูดถึงเฉพาะต้นไม้ในเขตร้อนอย่างประเทศไทย อาจครอบคลุมเป็นส่วนใหญ่


มีสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษหลาย ๆ ท่านมีข้อสงสัยและสอบถามมากับทางผู้เขียนในเรื่องของการเปิดตาดอก การเร่งตาใบ ซึ่งผู้เขียนได้ตอบคำถามเหล่านั้นในเรื่องของ “ซีเอ็นเรโช” ซึ่งหลาย ๆ ท่านไม่เข้าใจว่าซีเอ็นเรโชคืออะไร วันนี้ผู้เขียนจึงขออธิบายให้กับสมาชิกรวมถึงเกษตรกรที่เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ของชมรมฯ ให้มีความเข้าใจในเรื่อง “ซีเอ็นเรโช” อย่างง่าย และนำไปปฏิบัติกับสวนของตัวเอง นำไปบังคับดอกและใบ รวมไปถึงการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี เพื่อให้ง่ายในการบังคับให้ติดดอกออกผล หรืออาจจะรวมไปถึงการบังคับผลผลิตออกนอกฤดูโดยไม่ต้องใช้สารที่หยุดกระบวนการไนโตรเจนเพื่อประโยชน์ในเรื่องของต้นทุนการผลิต และสภาพต้นของพืชที่ตนเองปลูกครับ
ความหมายของซีเอ็นเรโช C = ซี  ย่อมาจากคาร์บอน (Carbon), N = เอ็น ย่อมาจากไนโตรเจน (Nitrogen) และ ratio = เรโช หมายถึง สัดส่วน รวมแล้ว คือ สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน  ถ้าตัวเลขอยู่ใกล้กัน  เรียกว่า ซีเอ็นเรโชแคบ  ถ้าตัวเลขอยู่ห่างกันหรืออยู่ต่างกันมากกว่า  เรียกว่า  ซีเอ็นเรโชกว้าง เช่น 15: 1 คือคาร์บอน  15 ส่วน ต่อ ไนโตรเจน 1 ส่วน ซี หรือคาร์บอนได้มาจากค่าวิเคราะห์คาร์โบฮัยเดรทในพืช  ซึ่งก็คือน้ำตาลและแป้งทั้งที่พืชสร้างขึ้นหรือได้รับจากการฉีดพ่นก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว เอ็น หรือไนโตรเจน ได้มาจากการวิเคราะห์หาไนโตรเจนรวมในพืช ไม่ว่าจะได้จากการดูดขึ้นมาจากดินหรือการฉีดพ่นให้ทางใบก็ตาม
ผลที่พืชจะได้รับและแสดงออก ซีเอ็นเรโชแคบ คือเมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันไม่มาก  ซึ่งสามารถทำให้เกิดสภาพเช่นนี้ได้โดยการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนโดยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี  หรือฉีดพ่นทางใบที่มีปุ๋ยไนโตรเจนละลายอยู่  ปกติพืชจะได้รับไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าปุ๋ยอื่น ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของไนโตรเจน,  แอมโมเนีย,  ยูเรียหรือที่ละลายน้ำอยู่ในรูปอื่นๆ ก็ตาม  แล้วทำให้ค่าไนโตรเจนเพิ่มขึ้นทันที  ในขณะที่คาร์บอนหรือคาร์โบฮัยเดรทในต้นพืชเท่าเดิม หรืออาจถูกใช้ไปบ้างเพื่อเป็นพลังงานในการดึงปุ๋ยเข้าสู่รากพืชมีผลให้ค่าซีเอ็นเรโชแคบอย่างรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวมีผลทำให้พืชเกิดการเจริญทางใบคือแตกยอดและใบอ่อนง่าย  ทำให้ดอกออกยาก ทำให้คุณภาพผลผลิตใกล้แก่ต่ำลง  ถ้าพืชยังไม่เริ่มขบวนการแก่ก็จะทำให้แก่ช้าออกไปซึ่งการแก่ช้าอาจจะเป็นผลดีสำหรับพืชผลไม้ที่รอราคา แต่เป็นผลเสียสำหรับพืชที่ต้องการขนาดของผล หากแก่ช้าผลก็ใหญ่เกินกว่าขนาดที่ตลาดต้องการ ซึ่งหากซีเอ็นเรโชแคบอย่างต่อเนื่องแม้แต่ใบก็ยังแก่ช้าออกไปด้วย
ซีเอ็นเรโชกว้าง  คือเมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันกว่า  ซึ่งการทำให้เกิดสภาพเช่นนี้กับพืชที่มีใบรุ่นใหม่สมบูรณ์และมากพอแล้ว  โดยการหยุดให้ปุ๋ยไนโตรเจนทุกชนิดทั้งทางดินและทางใบ  พืชก็ยังจะสังเคราะห์แสงสะสมอาหารมากขึ้นตามลำดับ  โดยสร้างเด็กซ์โทรส (หรือกลูโคส) จากนั้นเปลี่ยนเป็นซูโครส (น้ำตาลทราย) ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า  แล้วเปลี่ยนเป็นแป้งหรือคาร์โบฮัยเดรทอื่นสะสมอยู่ในกิ่ง, ก้าน, ลำต้น, รากหรือหัว  ในธรรมชาติเมื่อฝนหยุดตก  งดการให้น้ำ  น้ำในดินจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนละลายไนโตรเจนออกมาได้น้อย  และในที่สุดแทบจะไม่ได้ดูดไนโตรเจนเข้าลำต้นเลย  แต่พืชยังคงสังเคราะห์แสงที่ใบทุกวันเมื่อมีแสงแดด  ซีเอ็นเรโชจึงกว้างขึ้นเป็นลำดับ  ใบพืชจึงมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตอาหารสะสมให้ต้นพืช ผลของการมีอาหารสะสมมาก  ซีเอ็นเรโชกว้างทำให้พืชออกดอกได้ง่าย  ผลอ่อนร่วงน้อย  โตเร็ว  ผลแก่มีคุณภาพดี  เมื่อผลแก่แล้วก็สุกได้ง่าย (จากเอกสารแจกสมาชิก ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)
จากที่กล่าวข้างต้น สมาชิกของชมรมฯ หลาย ๆ ท่านคงจะเริ่มเข้าใจความหมายของ “ซีเอ็นเรโช” กันบ้างแล้วนะครับ ซึ่งผู้เขียนได้เขียนเรื่องการบังคับมะนาวให้ออกดอกในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อให้ผลผลิตออกมาในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งบทความดังกล่าวที่เขียน ๆ ไว้ก็อิงจาก “ซีเอ็นเรโช” นี่แหละครับ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะมะนาวนะครับ แต่รวมถึงพืชทุกชนิดที่ต้องการให้ออกดอก การบังคับดอกโดยไม่ให้พืชอดน้ำ บังคับกันที่ระบบ “ซีเอ็นเรโช” จะทำให้พืชที่เราปลูกไม่โทรมเมื่อมีดอกออกผลดกมาก การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตดี ดอกและผลที่ออกมาไม่หลุดร่วงง่ายเพราะปริมาณไนโตรเจนที่มากับน้ำฝนและไนโตรเจนในดินที่ตกค้างเมื่อทำละลายกับน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก
หากสมาชิกหรือเกษตรกรท่านใดมีปัญหาสงสัยในเรื่องของ “ซีเอ็นเรโช” และการบังคับการแตกใบ แตกดอกของพืชผักไม้ผลทุกชนิดก็สามารถสอบถามมาที่ผู้เขียนโดยตรงได้ที่โทร. 08-1646-0212 ยินดีให้คำแนะนำสำหรับสมาชิกหรือเกษตรกรทุกท่านครับ


C/N Ratio  ( ซี/เอ็น เรโช ) คือค่าความแตกต่างระหว่าง คาร์บอน กับ ไนโตรเจน ที่มีอยู่ในโครงสร้างของพืช ...ค่ะ

C  คือ คาร์บอน  N  คือ ไนโตรเจน

N คือ ไนโตรเจน ถ้าเป็นปุ๋ย คือ 46-0-0  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยูเรีย"

                N หรือ ไนโตรเจน เป็นธาตุที่มีการสูญเสียขึ้นอากาศไปได้ง่ายๆ เมื่อถูกความร้อน และ เป็นธาตุที่ละลายไปกับน้ำ และซึมผ่านลงในดินได้รวดเร็ว พอๆ กับละลายไหลไปตามน้ำที่ชะหน้าดิน เมื่อมีฝนตกหนักๆ

***ดังนั้นในเรื่องของ "ยูเรีย" สรุปว่า อย่าเอาถุงปุ๋ยยูเรียไปตากแดด ควรเก็บไว้ในทีร่ม  และเมื่อใส่ปุ๋ยยูเรียแล้ว อย่าปล่อยทิ้งให้ตากแดดนาน ควรเขี่ยดินกลบ หรือรีบรดน้ำ เพื่อให้ปุ๋ยละลายซึมลงดินให้รวดเร็วที่สุด

                ***ชาวบ้านบอกว่าตากแดดตั้งนานแล้ว ก็ยังเห็นมันตั้งอยู่ทั้งกระสอบ ไม่เห็นหายไปไหนเลย  ค่ะ.. ถูกต้อง ปุ๋ยยูเรียที่ตากแดด มันยังเหลืออยู่ทั้งกระสอบ แต่ที่เห็นอ่ะ... มีเหลือแต่แคลเซี่ยมที่ใช้เป็นตัวจับธาตุไนโตรเจน...ค่ะ

               ***วันไหนฝนตก น้ำฝนจะนำไนโตรเจนที่มีอยู่มากมายในอากาศ เอากลับลงมาด้วยค่ะ



                *** ธาตุคาร์บอนในดิน นอกจากโครงสร้างตัวมันเองจะช่วยให้ดินพลุน ซับซึมน้ำผ่านได้ดีแล้ว ปริมาณคาร์บอนยังช่วยให้ค่าความแตกต่างระหว่าง C/N Ratio แคบ หรือ กว้าง ได้    ดังนี้น

                ***ถ้าค่า C/N Ratio แคบ  ต้นไม้จะเจริญทางกิ่ง และใบ

                ***ถ้าค่า C/N Ratio กว้าง จะส่งผลให้มีการติดดอกเจริฐพันธุ์ได้...ค่ะ



                *** ในธรรมชาติจะมีธาตุคาร์บอนมากว่าในโตรเจนอยู่แล้ว แต่ถ้าฝนตกมาก ค่าของ N จะเพิ่มขึ้น กระเถิบเข้ามาหาจนใกล้เคียง C  หรือมากกว่า ทำให้ต้นเติบโต ใบเขียว สมบูรณ์ดีค่ะ .....แต่มันจะไม่ออกดอก



                *** ถ้าฝนตกน้อย และมีการเพิ่มเติมส่วนที่เป็นคาร์บอนลงไป จะทำให้ ค่าของ N กับ C ห่างกันมากขึ้น จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้มีการติดดอกลำไย....มากขึ้นได้ค่ะ



               *** เมื่อลำใยอยู่ในช่วงระหว่าง วัดใจว่า ระหว่าง ตาใบ กับ ตาดอก ใครจะเบียดใคร  การปรับค่า C/N Ratio ให้แคบเข้า จะทำให้ตาใบเจริญมากกว่าตาดอก ส่งผลให้ต้นลำไย ใบเขียวพรึบ...ค่ะ    คนปลูกที่ต้องการผลลำไย คงไม่ชอบแบบนี้แน่  ดังนั้น อย่าลืมว่า  เราต้องถ่างค่า C ให้มากขึ้นค่ะ   เราจึงควรเติมคาร์บอนลงไปในดินบ้าง...นะคะ



                ***แต่ถ้าอยู่ในช่วงปลูกใหม่ อยากสร้างลำต้น ก็ไม่จำเป็นต้องใส่คาร์บอนลงไปมากนัก แต่ถ้าปีถัดไป เตรียมจะราดสารทำดอกลำไย อย่าลืมเติมคาร์บอน...ละกัน



               *** เมื่อลำไยติดผลแล้ว ควรปรับค่าของ N ให้แคบเข้าหา C  โดยจะทำให้ N มีค่าเท่ากับ C หรือจะให้มากเกินกว่า C ก็ได้  ด้วยการใส่ไนโตรเจนเพิ่มเข้าไป  จะสามารถกระตุ้นให้ผลลำไยมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ และสุกช้า...ค่ะ   ลูกลำไยจะมีผิวสีเขียวเจือๆ เลยล่ะ และที่สำคัญให้ใส่เฉพาะในช่วงการพัฒนาผลลำไยเท่านั้น...นะคะ  



                อ้อ!   ช่วงนี้ อย่าลืมเติม "โบรอน" ด้วยนะคะ   เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของเปลือกลำไยมีความยืดหยุ่นตัว สามารถขยายผลได้  ถ้าไม่เติมเปลือกลำไยจะแตก   แล้วอย่าลืมรดน้ำให้ต้นลำไยซะด้วยล่ะ  ยกเว้นฝนตก ไม่ต้องรดน้ำ...ค่ะ

               ** ประการสำคัญ คาร์บอน เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของเนื้อเยื้อชั้นนอก หรือที่เราเรียกว่าเปลือก  คาร์บอนจะช่วยให้ลำต้นของลำไย มีขนาดใหญ่ และแข็งแรงขึ้นค่ะ

C / N Ratio หมายถึง สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน


C หรือ คาร์บอน
คาร์โบไฮเดรทในพืช  ซึ่งก็คือน้ำตาลและแป้งทั้งที่พืชสร้างขึ้นหรือได้รับจากการฉีดพ่นก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว

N หรือ ไนโตรเจน
ไนโตรเจนในพืช ไม่ว่าจะได้จากการดูดขึ้นจากทางรากหรือการฉีดพ่นให้ทางใบก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว

ในกรณีที่ต้องการให้กล้วยไม้ออกดอก เราจะใช้การทำให้ C / N ratio กว้าง เพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก จะทำเมื่อสภาพของกล้วยไม้สมบูรณ์



การเพิ่ม C ให้กับพืช
การใช้ผลิตภัณฑ์ Evergreen Grow-Up 1 ,2 และ Evergreen Capsule  เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้พืชสังเคราะห์แสงและสะสมอาหารมากขึ้น     โดยสร้างเด็กซ์โทรส    (หรือกลูโคส)   จากนั้นเปลี่ยนเป็นซูโครส     (หรือน้ำตาล) ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า  แล้วเปลี่ยนเป็นแป้งหรือคาร์โบไฮเดรท สะสมอยู่ในพืชมากขึ้นเป็นการทำให้พืชสะสม C ( คาร์บอน ) มากขึ้น C / N ratio ก็กว้างขึ้น
การกระตุ้นให้พืชสะสมอาหารมากขึ้น เป็นการบังคับระบบ C / N ratio ให้กับกล้วยไม้ ทำให้ได้ดอกที่สมบูรณ์ ไม่เหี่ยวหรือหลุดร่วงง่าย และมีผลต่อการติดฝักของกล้วยไม้สูง

                                           
การลด N ให้กับพืช
คือการงดการให้น้ำ จนละลายไนโตรเจนออกมาได้น้อย  หรือจนในที่สุดพืชแทบจะไม่ได้ดูดไนโตรเจนเข้าลำต้นเลย แต่พืชยังคงสังเคราะห์แสงที่ใบทุกวันเมื่อมีแสงแดด  C / N ratio จึงกว้างขึ้น
การงดการให้น้ำ เป็นการบังคับ ระบบ C / N ratio ให้กับกล้วยไม้ก็จริง แต่ถ้ามากเกินไป ก็มีผลทำให้กล้วยไม้โทรม ดอกที่ออกก็หลุดร่วงง่าย

ใบของกล้วยไม้จึงมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตอาหารสะสมให้ต้น ผลของการมีอาหารสะสมมาก  มีผลให้ C / N ratio กว้าง ทำให้พืชออกดอกที่สมบูร์ได้ง่าย  ต้นไม่โทรม

1 ความคิดเห็น:

  1. ใช้น้ำตาลทรายละลายน้ำพ่น เพื่อเพิ่ม c ได้มั๊ยครับ

    ตอบลบ