สรุปขั้นตอนการทำมะนาวนอกฤดูด้วยวิธีพ่นสาร PBZ
การทำมะนาวนอกฤดูด้วยวิธีพ่นสารพาโคลบิวทราโซล (Paclobutrazol; PBZ) ตามแนวทางของท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี แห่งศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิธีการที่ผมใช้มาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา และมั่นใจว่าเป็นวิธีการที่ได้ผลและสามารถตอบโจทย์การทำมะนาวนอกฤดูได้เป็นอย่างดี
ห้วงการทำนอกฤดูนับจากวันที่เล็มยอดหรือตัดยอดไปจนถึงเก็บเกี่ยวจะกินเวลาประมาณ 8 เดือน หรือ 240 วัน ซึ่งสามารถแบ่งการปฏิบัติที่สำคัญอย่างคร่าวๆในแต่ละช่วงได้ดังนี้
ช่วงที่ 1 เลี้ยงยอด (30 วัน)
1.รักษายอดอ่อนด้วยสูตร 1-4-7 ยอดชุดนี้สำคัญมากเพราะเราจะใช้ในการสังเคราะห์แสงสร้างอาหารอย่างน้อยก็ตลอดช่วงการทำนอกฤดู (หากจำเป็นอาจเพิ่มความเข้มข้นในการรักษายอดอ่อนเป็น 1-4-7-10 ก็ได้)
2.ให้ปุ๋ยสูตรโยกหน้าทั้งทางดินและทางใบ
3.วันที่ 15 หลังเล็มยอด ฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล ที่ความเข้มข้น 400 ppm ครั้งที่ 1
ช่วงที่ 2 สะสมอาหาร (60 วัน)
4.ปรับสูตรปุ๋ยทั้งทางดินและทางใบมาเป็นสูตรโยกหลัง
5.วันที่ 60 หลังเล็มยอด ฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล ความเข้มข้น 400 ppm ครั้งที่ 2
6.งดน้ำ (ประมาณวันที่ 60-75 หลังเล็มยอด ขึ้นอยู่กับวัสดุปลูก)
7.ขึ้นน้ำโดยให้น้ำอย่างเต็มที่หลังจากงดน้ำจนใบสลด
8.ประมาณวันที่ 80-85 หลังเล็มยอด ฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรท (13-0-46) ความเข้มข้น 5,000 ppm เพื่อทำลายการพักตัวของตาดอก
ช่วงที่ 3 ออกดอก (15 วัน)
1.เริ่มรักษาดอกด้วยสูตร 1-4-7 ทันทีเมื่อตาดอกเริ่มผลิออกมาให้เห็น
2.ช่วงนี้ยังคงให้ปุ๋ยสูตรโยกหลังทั้งทางดินและทางใบ
3.ฉีดพ่นแคลเซียมโบรอนในระยะดอกตูมเพื่อส่งเสริมการผสมเกสร
4.ระยะกลีบดอกโรย-ผลอ่อนเท่าหัวไม้ขีด ให้เริ่มรักษาผลอ่อนด้วยสูตร 1-4-7 ทันที
5. ฉีดพ่น NAA ความเข้มข้น 10-20 ppm เน้นไปที่ขั้วผลเพื่อช่วยให้ขั้วผลเหนียวขึ้น ลดการหลุดร่วง
6.โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญช่วงออกดอกได้แก่ รากเน่าโคนเน่า ราดำ เพลี้ยแป้ง หนอนเจาะดอก
ช่วงที่ 4 ติดผล (120-135 วัน)
1.ปรับสูตรปุ๋ยทั้งทางดินและทางใบมาเป็นสูตรโยกหน้าอีกครั้ง+จุลธาตุ พร้อมทั้งเพิ่มปริมาณปุ๋ยที่ให้มากขึ้นกว่าปกติประมาณ 50% หรือมากกว่า หากติดผลดกมาก นับจากนี้เราจะใช้ปุ๋ยโยกหน้าเรื่อยไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยว (หากเป็นมะนาวพันธุ์เปลือกหนา อาจปรับไปใช้สูตรโยกหลังช่วงครึ่งหลังอายุผลจะช่วยให้เปลือกบางลง)
2.ธาตุอาหารที่มะนาวมักแสดงอาการขาดในช่วงติดผลได้แก่ แมกนีเซียม และแคลเซียม
3.จัดการโรคและแมลงศัตรูด้วยสูตร 1-4-7 ไปจนถึงช่วงครึ่งอายุผล (ประมาณ 2 เดือน) โดยเว้นระยะห่างรอบละ 15 วัน
4.โรคและแมลงศัตรูพืชที่เพิ่มเติมเข้ามาในช่วงผลกำลังเจริญเติบโต ได้แก่ รากเน่าโคนเน่า ราดำ เมลาโนส เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยแป้ง มวนเขียวส้ม หนอนเจาะผล
ขั้นตอนการปฏิบัติข้างต้นเป็นเพียงกรอบแนวทางกว้างๆของการทำมะนาวนอกฤดู ยังมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรอีกมากมายที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ เช่น สภาพภูมิอากาศ การจัดการน้ำและธาตุอาหาร เป็นต้น
พึงระลึกว่า มะนาวเหมือนเด็กใบ้ มะนาวแต่ละต้นจะไม่เหมือนกัน แม้กระทั่งการตอบสองในแต่ละกิ่งในต้นเดียวกันก็ยังไม่เหมือนกัน ดังนั้น การปฏิบัติเหมือนกันทุกประการทั้งสวนย่อมไม่มีทางได้ผลกับมะนาวเหมือนกันหรือเท่าเทียมกันทุกต้น
พึงตระหนักว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ ต้นมะนาวที่จะทำนอกฤดูต้องมีความสมบูรณ์พร้อมและความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของมะนาวของผู้ปฏิบัติ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะส่งผลให้การทำมะนาวนอกฤดูประสบผลสำเร็จ
และพึงระลึกไว้เสมอว่า "การทำมะนาวนอกฤดูให้สำเร็จ ไม่มีสูตรสำเร็จ"
จบโหมดอุ่นเครื่องมะนาวนอกฤดูเพียงเท่านี้
ไล่ตามความฝัน โดยเภสัชเอก กับ สวนมะนาวนอกฤดู คุณภาพเยี่ยมระดับ GAP อีกครั้ง
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ผมต้องมี สต็อก ของพวกนี้ สำหรับสวนมะนาว
ผมต้องมี สต็อก ของพวกนี้ สำหรับสวนมะนาว
- ปุ๋ย 15-15-15 เอาไว้ให้ NPK แก่พืช เน้น P
- ยูเรีย เอาไว้ให้ N แก่พืช
- ปุ๋ย 0-0-60 เอาไว้ให้ K แก่พืช
- ปูนขาว หรือ โดโลไมท์ ลดความเป็นกรดของดิน
- ปุ๋ยทางใบ โยกหน้า เขียว ตรานกเหงือก เร่งการเติบโตกิ่งใบมะนาว
- ปุ๋ยทางใบ 0-52-34 กดไม่ให้ ยอดอ่อนแตก เมื่อโดนฝน หลังอดน้ำ
- ปุ๋ยทางใบ โพแทสเซ๊ยมไนเตรท (13-0-46) กระตุ้นการแตกยอด
- ปุ๋ยทางละลายช้า ออสโม้ 12-25-6 เอาไว้ให้ NPK แก่พืช เน้น P เสริมธาตุอาหารรอง
- ปุ๋ยทางใบ Super K ของโซตัส เอาไว้ให้ NPK แก่พืช เน้น K + P สริมธาตุอาหารรอง
- ปุ๋ยคอกเก่า หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่ม อินทรีย์ วัตถุในดิน
- ผงเชื้อแบคทีเรีย BS กำจัด ป้องกันโรคแคงเกอร์ เชื้อรา
- ผงเชื้อแบคทีเรีย BT กำจัด หนอน
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ กำจัดแมลง เพลี้ย
- สตาร์เกิ้ล กำจัด หนอน และ เพลี้ย
- สตาร์เกิ้ลจี กำจัด หนอน และ เพลี้ย
- โปรวาโด้ กำจัด หนอน และ เพลี้ย
- ปิโตเลี่ยม ออยล์ กำจัด หนอน และ เพลี้ย
- ไซเปอร์เมตริน 35% กำจัด หนอน และ เพลี้ย
- ผงกำมะถัน กำจัด ไรแดง
- ยาแมทาแล็กซิล กำจัด ป้องกันโรคจาก เชื้อรา
- จิบทรี ยับยั้งการออกดอก และ ทำให้ผลสุกช้า
- แพคโคบิวทาโซล ยับยั้งการแตกใบอ่อน ใช้บังคับมะนาวนอกฤดู
- น้ำยาล้างจาน ช่วยเป็น สารจับใบ
- NAA กำจัดดอกผล หรือ ทำให้ดอกผลไม่ร่วง
- IBA เร่งราก เวลาตอน หรือ ชำ
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
สินค้าจำเป็น สำหรับมะนาวนอกฤดู ปุ๋ย ของโซตัส
ปุ๋ย : นูแทค เอ็กตร้า-พี
ประกอบด้วย :
ไนโตรเจน..........................................................................................0%
ฟอสฟอรัส........................................................................................40%
โพแทสเซียม.....................................................................................22%
คุณสมบัติ :
นูแทค เอ็กตร้า-พี เป็นปุ๋ยคุณภาพสูง สูตรสเปรย์-ดราย (Spray-dry) สำหรับใช้พ่นทางใบ ที่มีอนุภาคเล็กละเอียด สามารถจับติดใบพืชได้ดี จึงช่วยลดปัญหาการชะล้างของฝน และยังค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พื้ชได้นาน นูแทค เอ็กตร้า-พี ช่วยเตรียมความพร้อมของช่อดอก เพื่อการออกดอกที่สมบูรณ์ ช่อดอกมีความแข็งแรง ช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อนในไม้ผล เพิ่มเปอร์เซ็นต์การออกดอก และสามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชทั่วไปได้ดี
เหมาะสำหรับ ไม้ผล เช่น มะม่วง มะนาว ส้ม ลำไย ทุเรียน ฯลฯ ในทุกช่วงฤดู โดยเฉพาะฤดูฝน
อัตราและวิธีการใช้
อัตรา 50-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
ปุ๋ย : นูแทค ซุปเปอร์-เค
ปริมาณธาตุอาหารรับรอง :
ไนโตรเจนทั้งหมด (N)…………………………………….....6%
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2O5)………………………..12%
โพแทสที่ละลายน้ำ (K2O)………………………………....26%
ปริมาณธาตุอาหารเสริม :
สังกะสี (Zn)……………………………………......……….12%
คุณสมบัติ :
นูแทค ซุปเปอร์-เค เป็นปุ๋ยทางใบคุณภาพสูง ผ่านกระบวนการผลิตแบบสเปรย์-ดราย (Spray-dry Technology) ประกอบด้วยไนโตรเจน 6% ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 12% โพแทสเซียมที่ละลายน้ำ 26% และโพแทสเซียมที่ละลายในกรดอ่อน 7% เสริมด้วยธาตุสังกะสีในปริมาณสูง 12% ด้วยอนุภาคที่เล็กละเอียดขนาด 1-5 ไมครอน ช่วยให้เกาะติดใบพืชได้ดี ลดปัญหาการชะล้างจากฝนและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชได้นาน 10-14 วัน
ประโยชน์ : ช่วยให้พืชสะสมแป้งและน้ำตาลได้ดีขึ้น จึงช่วยเพิ่มการออกดอกและติดผล ลดปัญหาการหลุดร่วง และการพ่นในระยะก่อนเก็บเกี่ยวช่วยเพิ่มความหวาน และคุณภาพผลผลิต
อัตราและวิธีการใช้
ไม้ผล เช่น ส้ม มะม่วง ทุเรียน เงาะ มะนาว ส้มโอ ลำไย ลิ้นจี่ ชมพู่ มังคุด ลองกอง องุ่น ฝรั่ง น้อยหน่า มะยงชิด
อัตราการใช้ : 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- สะสมอาหารเพื่อการออกดอก พ่น 2-3 ครั้ง ในระยะใบแก่ หรือก่อนออกดอก 1-2 เดือน
- เพิ่มการติดผล พ่น 1 ครั้ง ในระยะเริ่มติดผล
- เพิ่มความหวานและคุณภาพผลผลิต พ่น 1-2 ครั้ง ในระยะก่อนเก็บเกี่ยว
ผักกินผล เช่น มะเขือเทศ มะเขือต่าง ๆ พริก แตงโม แคนตาลูป แตงกวา แตงต่างๆ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา
อัตราการใช้ : 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- ส่งเสริมการออกดอก พ่น 2-3 ครั้ง ในระยะก่อนออกดอก
- เพิ่มการติดผล พ่นทุก 1-2 สัปดาห์
เกอมาร์ นาโน (Goemar Nano)
ปริมาณธาตุอาหารรอง
แมกนีเซียม (MgO)............................3.10%
ปริมาณธาตุอาหารเสริม
โบรอน (B)........................................1.68%
คุณสมบัติ :
เกอมาร์ นาโน สูตรเปิดตาดอก ช่วยเพิ่มจำนวนดอก ช่วยให้ดอกสมบูรณ์ ส่งเสริมการพัฒนาของระบบราก ฟื้นสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยว และฟื้นสภาพต้นจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี
เหมาะสำหรับ : ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป
อัตราและวิธีการใช้ :
ทุเรียน : เปิดตาดอก อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ในระยะไข่ปลา (เน้นบริเวณท้องกิ่ง)
พืชตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว ส้มโอ : ส่งเสริมการแตกตาดอก อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน หลังขึ้นน้ำ
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ริดโดมิลโกลด์ เอ็มแซด 68 ดับบลิวจี
ริดโดมิลโกลด์ เอ็มแซด 68 ดับบลิวจี
สารป้องกันกำจัดเชื้อราประสิทธิภาพสูง ออกฤทธิ์ทั้งดูดซึม เป็นสารผสม มีตัวยา 2 ชนิดรวมกัน
ชื่อสามัญ:
เมทาแลกซิล-เอ็ม+แมนโคเซบ (metalaxyl-M+mancozeb)
สารป้องกันกำจัดเชื้อราประสิทธิภาพสูง ออกฤทธิ์ทั้งดูดซึม เป็นสารผสม มีตัวยา 2 ชนิดรวมกัน
ชื่อสามัญ:
เมทาแลกซิล-เอ็ม+แมนโคเซบ (metalaxyl-M+mancozeb)
ยาฆ่าแมลงสูตรผสม 2 in 1 ชื่อ เอฟโฟเรีย 247
เอฟโฟเรีย 247 สารสูตรผสม ระหว่าง neonicotinoids + pyrethroid สองกลุ่ม
เสริมฤทธิ์กัน กำจัด หนอน และ เพลี้ย ราบคาบ 2 in 1
http://www.pruksakornkaset.com/product/99/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2-247-%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%94%E0%B8%8B%E0%B8%B5
ไรแดง ใน สวนมะนาว
ไรแดง ใน สวนมะนาว
ไรแดง นั้นเป็นศัตรูที่สำคัญอย่างหนึ่งของมะนาว ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากมะนาวโดยดูดจากใบ ยอดอ่อน มักพบระบาดในฤดูแล้งเมื่อเอามือลูบใบดูจะเห็นว่ามีสีแดงติดมือ ผลมะนาวที่ถูกไรแดงดูดจะมีสีน้ำเงิน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วร่วงไปในที่สุด ใบที่ถูกทำลายจะหงิกงอตัวเต็มวัยของไรแดงมีสีแดงเข้ม มีขนสีขาวออกมาตามปุ่มของลำตัว 20 เส้น ลำตัวเป็นรูปไข่ โค้งนูนเล็กน้อย ตัวแก่มีอายุประมาณ 5-8 วัน
การป้องกันกำจัด
1. พ่นด้วยกำมะถันผง ชนิดละลายน้ำ ในอัตรา 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่นในเวลาเช้าเพื่อป้องกันใบไหม้
2. ฉีดพ่นยากันไรก่อนฝนทิ้งช่วง หรือช่วงที่ตรวจพบมีไรระบาดโดยสารเคมีในกลุ่มไดโคโฟลฉีดพ่น
มีอยู่ 4 ชนิดคือ
1. ไรแดงแอฟริกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eutetranychus africanus (Tucker) จัดอยู่ในวงศ์ Tetranychidae จะพบทำลายใบผลส้ม
2. ไรเหลืองส้ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eotetranychus cendanai Rimando อยู่ในวงศ์ Tetranychidae ซึ่งจะพบทำลายใบและผลส้มเช่นเดียวกับไรแดงแอฟริกัน
3. ไรขาวพริก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polyphagotarsonemus latus (Banks) อยู่ในวงศ์ Tarsonemidae พบทำลายใบอ่อนและผลอ่อน มักพบทำลายค่อนข้างรุนแรงกับส้มโอ
4. ไรสี่ขา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aceria mangiferae (Sayed) จัดอยู่ในวงศ์ Eriophyidae โดยจะเข้าทำลายตาดอก ตาใบของมะม่วง จึงมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า “บัดไม้ท์” (Bud mite)
ชีวประวัติและอุปนิสัย
ไรแดงชนิดนี้มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า African red mite และมีชื่อสามัญภาษาไทยที่ใช้เรียกกันทั่วไปว่า ไรแดงแอฟริกัน มีรูปร่างดังนี้
เพศเมีย ลำตัวกลมแบนมีสีแดงเข้มหรือน้ำตาลเกือบดำ ขนบนลำตัวด้านหลังสั้นคล้ายกระบอง ขาทั้ง 4 คู่ มีสีเหลืองอ่อน จะอยู่นิ่งกับที่ ความยาวของลำตัวประมาณ 0.3-0.4 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 0.3 มิลลิเมตร
เพศผู้ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ด้านหน้าของลำตัวกว้างและค่อยๆ เรียวแคบเล็กลงทางด้านท้าย ก้นแหลมและขายาวจะเคลื่อนที่ตลอดเวลา ความยาวของลำตัวเฉลี่ย 0.25 มิลลิเมตร และกว้าง 0.17 มิลลิเมตร
การผสมพันธุ์เริ่มเมื่อเพศผู้ได้ลอกคราบแล้วจะเดินไปเรื่อย ๆ เมื่อพบตัวอ่อนระยะที่ 3 พักตัวก็จะหยุดนิ่งและคอยเฝ้า เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเพศผู้จะช่วยดึงคราบจนกระทั่งออกเป็นตัวเต็มวัยเพศเมีย เพศผู้จะเข้าผสมพันธุ์ทันที หลังจากนั้น 1-2 วัน เพศเมียจะวางไข่
วงจรชีวิตของไรแดงแอฟริกันที่เจริญเติบโตบนส้มเขียวหวาน จากระยะไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลานานเฉลี่ย 9.4 วัน เพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ตลอดชั่วอายุขัยเฉลี่ย 12.7 ฟอง และมีชีวิตอยู่ได้นาน 9.8 วัน
สำหรับไรแดงแอฟริกันที่เจริญเติบโตบนทุเรียน จากระยะไข่เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลานาน 9.1-9.3 วัน โดยมีระยะไข่เฉลี่ย 4.5 วัน ตัวอ่อนมี 3 ระยะ ตัวเต็มวัยเพศเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ประมาณ 7-14 ฟอง โดยลูกที่ฟักออกมาจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะเจริญเป็นไรเพศผู้ทั้งหมด ขณะที่ลูกที่ฟักออกมาจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จะมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย
การแพร่กระจาย และฤดูกาลระบาด
ในแหล่งปลูกส้มทั่วไปพบไรแดงแอฟริกันระบาดปริมาณสูงในฤดูแล้งระหว่างเดือนธันวาคม-พฤษภาคมและในฤดูฝนที่ฝนไม่ตกติดต่อกันเป็นเวลานาน
จากการสำรวจและติดตามการผันแปรประชากรของไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียนที่ จ.จันทบุรี พบว่าประชากรไรแดงจะเริ่มมีปริมาณสูงในเดือนกันยายน-ตุลาคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ เมื่อผ่านพ้นฤดูฝนในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมไปแล้ว ความชื้นในอากาศจะเริ่มแห้งลง และมีลมหนาวซึ่งพัดกรรโชกมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพบว่า ทันทีที่ฝนหยุดตกและอากาศแห้งลงเมื่อใด ไรแดงแอฟริกันจะเพิ่มประชากรขึ้นทันทีอย่างรวดเร็ว จะพบไรแดงสูงที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จากนั้นไรแดงจะค่อย ๆ ลดลง ปริมาณอาจสูงขึ้นอีกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งแล้งจัด และมีน้อยมาก ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นลักษณะของไรแดงทั่วๆ ไป ที่จะถูกควบคุมประชากรโดยปริมาณน้ำฝน ดังนั้นการพยากรณ์การระบาดของไรแดงในสวนทุเรียนจึงสามารถดูได้จากปริมาณน้ำฝนช่วงปลายฤดูเป็นหลัก เมื่อใดที่ฝนเริ่มทิ้งช่วง อากาศแห้งแล้งและมีลมพัดแรง ให้รีบทำการสำรวจไรแดงดังได้กล่าวมาแล้ว และป้องกันกำจัดทันที ไรชนิดนี้นอกจากพบระบาดในแหล่งปลูกทุเรียน จ.จันทบุรี ยังพบแพร่กระจายในสวนทุเรียน จ.ระยอง ตราด ปราจีนบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี แพร่ และอุตรดิตถ์
พืชอาศัย
พืชอาศัยของไรแดงแอฟริกันมีดังนี้
ไม้ผล เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว มะกรูด ส้มจีน มะละกอ ขนุน สาเก ท้อ มะกอกฝรั่ง เป็นต้น
พืชผัก เช่น ขี้เหล็ก มะรุม ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา แตงโม ตำลึง ผักบุ้ง เป็นต้น
พืชไร่ เช่น ฝ้าย ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ละหุ่ง เป็นต้น
ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ฝ้ายดำ ลั่นทม กุหลาบ บานชื่น ชะบา แคฝรั่ง เป็นต้น
ศัตรูธรรมชาติ
จากการสำรวจศัตรูธรรมชาติของไรแดงแอฟริกัน พบศัตรูธรรมชาติที่สำคัญ 3 จำพวก คือ ไรตัวห้ำ (predaceous mite) แมงมุมและเชื้อรา (Hirsutella thompsoni Fisher) สำหรับไรตัวห้ำที่มีอยู่ในธรรมชาติ ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Phytoseiidae ในต่างประเทศมีรายงานถึงบทบาทและความสำเร็จในการนำไรตัวห้ำชนิดนี้มาใช้ในการควบคุมไรศัตรูพืชที่สำคัญอย่างกว้างขวาง ในประเทศไทยได้มีการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพขั้นพื้นฐานของไรตัวห้ำในวงศ์นี้เช่นกันพบว่ามีแนวโน้มสามารถนำไปใช้ในการควบคุมไรแดงแอฟริกันได้ คือ ไรตัวห้ำมีชื่อว่า Amblyseius longispinosus (Evans) เนื่องจากมีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก อายุขัยยืนยาวและเพิ่มประชากรได้รวดเร็ว
การป้องกันกำจัด
การป้องกันกำจัดไรแดงแอฟริกันในสวนส้ม ควรปฏิบัติดังนี้
1. หมั่นสำรวจแปลงส้มอยู่เป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมและในช่วงฤดูฝนที่ฝนทิ้งช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
2. เมื่อพบไรแดงเริ่มลงทำลายส้ม ให้ทำการป้องกันกำจัดโดยวิธีกลด้วยการให้น้ำติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง
3. เมื่อพบไรแดงระบาดมาก จากการสังเกตเห็นใบเริ่มมีสีเขียวจางลง และเมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายขนาด 10 เท่า จะพบไรแดงดูดกินอยู่ทั่วไปบนใบ ให้ทำการป้องกันกำจัดโดยวิธีการใช้สารเคมี ด้วยการเลือกพ่นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดไรชนิดใดชนิดหนึ่งดังต่อไปนี้
1) โปรพาร์ไจท์ (โอไม้ท์ 30℅ ดับบลิว พี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
2) เฮ็กซีไธอะซอคซ์ (นิสโซรัน 20℅ เอสซี) อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
3) อะมีแทรซ (ไมแทค 20℅ อีซี) อัตรา 30 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
4) โบรโมโพรพีเลท (นีโอรอน 250 25℅ อีซี) อัตรา 30 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร สารกำจัดไรเหล่านี้ค่อยข้างปลอดภัยต่อตัวห้ำ ตัวเบียน ผึ้ง และผู้ใช้ควรพ่นสารกำจัดไรดังกล่าว สลับกันเพื่อป้องกันไรแดงสร้างความต้านทาน ถ้าพบว่ายังมีไรแดงระบาดอยู่ ให้พ่นสารกำจัดไรซ้ำอีกครั้งหนึ่ง โดยเว้นระยะห่าง 5 วัน
การป้องกันกำจัดไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียน มีแนวทางดังนี้
1. กำจัดวัชพืชในสวนทุเรียน ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งหลบซ่อนของไรแดงแอฟริกัน
2. หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียนหรือบริเวณใกล้เคียง ถ้าเกษตรกรมีรายได้จากพืชเหล่านั้น เช่น ส้ม มะละกอ หรือพืชตระกูลถั่ว ก็ควรป้องกันกำจัดไรแดงชนิดนี้บนพืชอาศัยนั้นด้วย
3. หมั่นสำรวจดูไรแดงบนใบทุเรียนเป็นประจำ และควรเน้นหนักในช่วงปลายฤดูฝน(เดือนกันยายน-ตุลาคม)และฤดูแล้ง
4. สารไรที่มีประสิทธิภาพในการใช้ควบคุมปริมาณไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียน ได้แก่ โปรพาร์ไจท์ (โอไม้ท์ 30℅ ดับบลิว พี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเฮกซี่ไธอะซอคซ์ (นิสโซรัน 20℅ เอสซี) อัตรา 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะมีแทรซ (ไมแทค 20℅ อีซี) อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร การพ่อนสารไรไม่ควรใช้สารชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรมีการสลับชนิดเพื่อป้องกันไรเกิดความต้านทาน เช่นเดียวกับวิธีการใช้สารกำจัดไรป้องกันกำจัดไรแดงแอฟริกันในสวนส้ม
วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ค่า cn เรโช
C:N Ratio
เป็นเพียงทฤษฎีการออกดอกของต้นไม้ทฤษฎีหนึ่งเท่านั้นครับ
การออกดอกของพืชหลายชนิด เช่นไม้ผล มะม่วง ลำไย เป็นต้น
เมื่อใช้ทฤฏี C:N Ratio พบว่าสามารถออกดอกได้ เมื่อ C:N Ratio ถึงระดับหนึ่ง
ซึ่งไม่สามารถกำหนดเป็นค่าที่แน่นอน เพราะการออกดอกยังขึ้นกับปัจจัยอีก
หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ชนิดพืช อายุ ฤดูกาล ภูมิประเทศ แสง อุณหภูมิ
ความชื้น ล้วนมีผลต่อการออกดอกของพืชได้ทั้งสิ้น
อย่างเช่นตัวอย่างพืช 2 ชนิดที่ผมเอ่ยถึง
ในมะม่วง
ใช้วิธีการ ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต พวก พาโคลบิวทราโซล ราดลง
ดินไป ทำให้ มะม่วงสังเคราะห์แสงได้แต่นำไปใช้ในการเจริญเติบโตไม่ได้หรือได้น้อย
จึงสะสมในรูปของ คาร์โบไฮเดรท นั่นคือ C นั่นเอง เมื่อ C ถูกสะสมจนมีค่า
C:N Ratio ถึงระดับหนึ่ง มะม่วงก็ออกดอก
ในลำไย
ใช้สารโปตัสเซี่ยมคลอเรท สารนี้มีผลทำให้ลำไย ขาด N หรือ ลด N ในดินลง
ทำให้ N ของลำไย ใน C:N Ratio ลดลง (สมมติว่า C มันเท่าเดิม)
จนถึงค่า C:N Ratio ในระดับหนึ่ง จึงออกดอก
ถ้า จขกท. พูดถึงเฉพาะต้นไม้ในเขตร้อนอย่างประเทศไทย อาจครอบคลุมเป็นส่วนใหญ่
มีสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษหลาย ๆ ท่านมีข้อสงสัยและสอบถามมากับทางผู้เขียนในเรื่องของการเปิดตาดอก การเร่งตาใบ ซึ่งผู้เขียนได้ตอบคำถามเหล่านั้นในเรื่องของ “ซีเอ็นเรโช” ซึ่งหลาย ๆ ท่านไม่เข้าใจว่าซีเอ็นเรโชคืออะไร วันนี้ผู้เขียนจึงขออธิบายให้กับสมาชิกรวมถึงเกษตรกรที่เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ของชมรมฯ ให้มีความเข้าใจในเรื่อง “ซีเอ็นเรโช” อย่างง่าย และนำไปปฏิบัติกับสวนของตัวเอง นำไปบังคับดอกและใบ รวมไปถึงการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี เพื่อให้ง่ายในการบังคับให้ติดดอกออกผล หรืออาจจะรวมไปถึงการบังคับผลผลิตออกนอกฤดูโดยไม่ต้องใช้สารที่หยุดกระบวนการไนโตรเจนเพื่อประโยชน์ในเรื่องของต้นทุนการผลิต และสภาพต้นของพืชที่ตนเองปลูกครับ
ความหมายของซีเอ็นเรโช C = ซี ย่อมาจากคาร์บอน (Carbon), N = เอ็น ย่อมาจากไนโตรเจน (Nitrogen) และ ratio = เรโช หมายถึง สัดส่วน รวมแล้ว คือ สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน ถ้าตัวเลขอยู่ใกล้กัน เรียกว่า ซีเอ็นเรโชแคบ ถ้าตัวเลขอยู่ห่างกันหรืออยู่ต่างกันมากกว่า เรียกว่า ซีเอ็นเรโชกว้าง เช่น 15: 1 คือคาร์บอน 15 ส่วน ต่อ ไนโตรเจน 1 ส่วน ซี หรือคาร์บอนได้มาจากค่าวิเคราะห์คาร์โบฮัยเดรทในพืช ซึ่งก็คือน้ำตาลและแป้งทั้งที่พืชสร้างขึ้นหรือได้รับจากการฉีดพ่นก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว เอ็น หรือไนโตรเจน ได้มาจากการวิเคราะห์หาไนโตรเจนรวมในพืช ไม่ว่าจะได้จากการดูดขึ้นมาจากดินหรือการฉีดพ่นให้ทางใบก็ตาม
ผลที่พืชจะได้รับและแสดงออก ซีเอ็นเรโชแคบ คือเมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันไม่มาก ซึ่งสามารถทำให้เกิดสภาพเช่นนี้ได้โดยการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนโดยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี หรือฉีดพ่นทางใบที่มีปุ๋ยไนโตรเจนละลายอยู่ ปกติพืชจะได้รับไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าปุ๋ยอื่น ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของไนโตรเจน, แอมโมเนีย, ยูเรียหรือที่ละลายน้ำอยู่ในรูปอื่นๆ ก็ตาม แล้วทำให้ค่าไนโตรเจนเพิ่มขึ้นทันที ในขณะที่คาร์บอนหรือคาร์โบฮัยเดรทในต้นพืชเท่าเดิม หรืออาจถูกใช้ไปบ้างเพื่อเป็นพลังงานในการดึงปุ๋ยเข้าสู่รากพืชมีผลให้ค่าซีเอ็นเรโชแคบอย่างรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวมีผลทำให้พืชเกิดการเจริญทางใบคือแตกยอดและใบอ่อนง่าย ทำให้ดอกออกยาก ทำให้คุณภาพผลผลิตใกล้แก่ต่ำลง ถ้าพืชยังไม่เริ่มขบวนการแก่ก็จะทำให้แก่ช้าออกไปซึ่งการแก่ช้าอาจจะเป็นผลดีสำหรับพืชผลไม้ที่รอราคา แต่เป็นผลเสียสำหรับพืชที่ต้องการขนาดของผล หากแก่ช้าผลก็ใหญ่เกินกว่าขนาดที่ตลาดต้องการ ซึ่งหากซีเอ็นเรโชแคบอย่างต่อเนื่องแม้แต่ใบก็ยังแก่ช้าออกไปด้วย
ซีเอ็นเรโชกว้าง คือเมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันกว่า ซึ่งการทำให้เกิดสภาพเช่นนี้กับพืชที่มีใบรุ่นใหม่สมบูรณ์และมากพอแล้ว โดยการหยุดให้ปุ๋ยไนโตรเจนทุกชนิดทั้งทางดินและทางใบ พืชก็ยังจะสังเคราะห์แสงสะสมอาหารมากขึ้นตามลำดับ โดยสร้างเด็กซ์โทรส (หรือกลูโคส) จากนั้นเปลี่ยนเป็นซูโครส (น้ำตาลทราย) ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า แล้วเปลี่ยนเป็นแป้งหรือคาร์โบฮัยเดรทอื่นสะสมอยู่ในกิ่ง, ก้าน, ลำต้น, รากหรือหัว ในธรรมชาติเมื่อฝนหยุดตก งดการให้น้ำ น้ำในดินจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนละลายไนโตรเจนออกมาได้น้อย และในที่สุดแทบจะไม่ได้ดูดไนโตรเจนเข้าลำต้นเลย แต่พืชยังคงสังเคราะห์แสงที่ใบทุกวันเมื่อมีแสงแดด ซีเอ็นเรโชจึงกว้างขึ้นเป็นลำดับ ใบพืชจึงมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตอาหารสะสมให้ต้นพืช ผลของการมีอาหารสะสมมาก ซีเอ็นเรโชกว้างทำให้พืชออกดอกได้ง่าย ผลอ่อนร่วงน้อย โตเร็ว ผลแก่มีคุณภาพดี เมื่อผลแก่แล้วก็สุกได้ง่าย (จากเอกสารแจกสมาชิก ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)
จากที่กล่าวข้างต้น สมาชิกของชมรมฯ หลาย ๆ ท่านคงจะเริ่มเข้าใจความหมายของ “ซีเอ็นเรโช” กันบ้างแล้วนะครับ ซึ่งผู้เขียนได้เขียนเรื่องการบังคับมะนาวให้ออกดอกในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อให้ผลผลิตออกมาในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งบทความดังกล่าวที่เขียน ๆ ไว้ก็อิงจาก “ซีเอ็นเรโช” นี่แหละครับ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะมะนาวนะครับ แต่รวมถึงพืชทุกชนิดที่ต้องการให้ออกดอก การบังคับดอกโดยไม่ให้พืชอดน้ำ บังคับกันที่ระบบ “ซีเอ็นเรโช” จะทำให้พืชที่เราปลูกไม่โทรมเมื่อมีดอกออกผลดกมาก การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตดี ดอกและผลที่ออกมาไม่หลุดร่วงง่ายเพราะปริมาณไนโตรเจนที่มากับน้ำฝนและไนโตรเจนในดินที่ตกค้างเมื่อทำละลายกับน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก
หากสมาชิกหรือเกษตรกรท่านใดมีปัญหาสงสัยในเรื่องของ “ซีเอ็นเรโช” และการบังคับการแตกใบ แตกดอกของพืชผักไม้ผลทุกชนิดก็สามารถสอบถามมาที่ผู้เขียนโดยตรงได้ที่โทร. 08-1646-0212 ยินดีให้คำแนะนำสำหรับสมาชิกหรือเกษตรกรทุกท่านครับ
C/N Ratio ( ซี/เอ็น เรโช ) คือค่าความแตกต่างระหว่าง คาร์บอน กับ ไนโตรเจน ที่มีอยู่ในโครงสร้างของพืช ...ค่ะ
C คือ คาร์บอน N คือ ไนโตรเจน
N คือ ไนโตรเจน ถ้าเป็นปุ๋ย คือ 46-0-0 หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยูเรีย"
N หรือ ไนโตรเจน เป็นธาตุที่มีการสูญเสียขึ้นอากาศไปได้ง่ายๆ เมื่อถูกความร้อน และ เป็นธาตุที่ละลายไปกับน้ำ และซึมผ่านลงในดินได้รวดเร็ว พอๆ กับละลายไหลไปตามน้ำที่ชะหน้าดิน เมื่อมีฝนตกหนักๆ
***ดังนั้นในเรื่องของ "ยูเรีย" สรุปว่า อย่าเอาถุงปุ๋ยยูเรียไปตากแดด ควรเก็บไว้ในทีร่ม และเมื่อใส่ปุ๋ยยูเรียแล้ว อย่าปล่อยทิ้งให้ตากแดดนาน ควรเขี่ยดินกลบ หรือรีบรดน้ำ เพื่อให้ปุ๋ยละลายซึมลงดินให้รวดเร็วที่สุด
***ชาวบ้านบอกว่าตากแดดตั้งนานแล้ว ก็ยังเห็นมันตั้งอยู่ทั้งกระสอบ ไม่เห็นหายไปไหนเลย ค่ะ.. ถูกต้อง ปุ๋ยยูเรียที่ตากแดด มันยังเหลืออยู่ทั้งกระสอบ แต่ที่เห็นอ่ะ... มีเหลือแต่แคลเซี่ยมที่ใช้เป็นตัวจับธาตุไนโตรเจน...ค่ะ
***วันไหนฝนตก น้ำฝนจะนำไนโตรเจนที่มีอยู่มากมายในอากาศ เอากลับลงมาด้วยค่ะ
*** ธาตุคาร์บอนในดิน นอกจากโครงสร้างตัวมันเองจะช่วยให้ดินพลุน ซับซึมน้ำผ่านได้ดีแล้ว ปริมาณคาร์บอนยังช่วยให้ค่าความแตกต่างระหว่าง C/N Ratio แคบ หรือ กว้าง ได้ ดังนี้น
***ถ้าค่า C/N Ratio แคบ ต้นไม้จะเจริญทางกิ่ง และใบ
***ถ้าค่า C/N Ratio กว้าง จะส่งผลให้มีการติดดอกเจริฐพันธุ์ได้...ค่ะ
*** ในธรรมชาติจะมีธาตุคาร์บอนมากว่าในโตรเจนอยู่แล้ว แต่ถ้าฝนตกมาก ค่าของ N จะเพิ่มขึ้น กระเถิบเข้ามาหาจนใกล้เคียง C หรือมากกว่า ทำให้ต้นเติบโต ใบเขียว สมบูรณ์ดีค่ะ .....แต่มันจะไม่ออกดอก
*** ถ้าฝนตกน้อย และมีการเพิ่มเติมส่วนที่เป็นคาร์บอนลงไป จะทำให้ ค่าของ N กับ C ห่างกันมากขึ้น จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้มีการติดดอกลำไย....มากขึ้นได้ค่ะ
*** เมื่อลำใยอยู่ในช่วงระหว่าง วัดใจว่า ระหว่าง ตาใบ กับ ตาดอก ใครจะเบียดใคร การปรับค่า C/N Ratio ให้แคบเข้า จะทำให้ตาใบเจริญมากกว่าตาดอก ส่งผลให้ต้นลำไย ใบเขียวพรึบ...ค่ะ คนปลูกที่ต้องการผลลำไย คงไม่ชอบแบบนี้แน่ ดังนั้น อย่าลืมว่า เราต้องถ่างค่า C ให้มากขึ้นค่ะ เราจึงควรเติมคาร์บอนลงไปในดินบ้าง...นะคะ
***แต่ถ้าอยู่ในช่วงปลูกใหม่ อยากสร้างลำต้น ก็ไม่จำเป็นต้องใส่คาร์บอนลงไปมากนัก แต่ถ้าปีถัดไป เตรียมจะราดสารทำดอกลำไย อย่าลืมเติมคาร์บอน...ละกัน
*** เมื่อลำไยติดผลแล้ว ควรปรับค่าของ N ให้แคบเข้าหา C โดยจะทำให้ N มีค่าเท่ากับ C หรือจะให้มากเกินกว่า C ก็ได้ ด้วยการใส่ไนโตรเจนเพิ่มเข้าไป จะสามารถกระตุ้นให้ผลลำไยมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ และสุกช้า...ค่ะ ลูกลำไยจะมีผิวสีเขียวเจือๆ เลยล่ะ และที่สำคัญให้ใส่เฉพาะในช่วงการพัฒนาผลลำไยเท่านั้น...นะคะ
อ้อ! ช่วงนี้ อย่าลืมเติม "โบรอน" ด้วยนะคะ เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของเปลือกลำไยมีความยืดหยุ่นตัว สามารถขยายผลได้ ถ้าไม่เติมเปลือกลำไยจะแตก แล้วอย่าลืมรดน้ำให้ต้นลำไยซะด้วยล่ะ ยกเว้นฝนตก ไม่ต้องรดน้ำ...ค่ะ
** ประการสำคัญ คาร์บอน เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของเนื้อเยื้อชั้นนอก หรือที่เราเรียกว่าเปลือก คาร์บอนจะช่วยให้ลำต้นของลำไย มีขนาดใหญ่ และแข็งแรงขึ้นค่ะ
C / N Ratio หมายถึง สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน
C หรือ คาร์บอน
คาร์โบไฮเดรทในพืช ซึ่งก็คือน้ำตาลและแป้งทั้งที่พืชสร้างขึ้นหรือได้รับจากการฉีดพ่นก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว
N หรือ ไนโตรเจน
ไนโตรเจนในพืช ไม่ว่าจะได้จากการดูดขึ้นจากทางรากหรือการฉีดพ่นให้ทางใบก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว
ในกรณีที่ต้องการให้กล้วยไม้ออกดอก เราจะใช้การทำให้ C / N ratio กว้าง เพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก จะทำเมื่อสภาพของกล้วยไม้สมบูรณ์
การเพิ่ม C ให้กับพืช
การใช้ผลิตภัณฑ์ Evergreen Grow-Up 1 ,2 และ Evergreen Capsule เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้พืชสังเคราะห์แสงและสะสมอาหารมากขึ้น โดยสร้างเด็กซ์โทรส (หรือกลูโคส) จากนั้นเปลี่ยนเป็นซูโครส (หรือน้ำตาล) ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า แล้วเปลี่ยนเป็นแป้งหรือคาร์โบไฮเดรท สะสมอยู่ในพืชมากขึ้นเป็นการทำให้พืชสะสม C ( คาร์บอน ) มากขึ้น C / N ratio ก็กว้างขึ้น
การกระตุ้นให้พืชสะสมอาหารมากขึ้น เป็นการบังคับระบบ C / N ratio ให้กับกล้วยไม้ ทำให้ได้ดอกที่สมบูรณ์ ไม่เหี่ยวหรือหลุดร่วงง่าย และมีผลต่อการติดฝักของกล้วยไม้สูง
การลด N ให้กับพืช
คือการงดการให้น้ำ จนละลายไนโตรเจนออกมาได้น้อย หรือจนในที่สุดพืชแทบจะไม่ได้ดูดไนโตรเจนเข้าลำต้นเลย แต่พืชยังคงสังเคราะห์แสงที่ใบทุกวันเมื่อมีแสงแดด C / N ratio จึงกว้างขึ้น
การงดการให้น้ำ เป็นการบังคับ ระบบ C / N ratio ให้กับกล้วยไม้ก็จริง แต่ถ้ามากเกินไป ก็มีผลทำให้กล้วยไม้โทรม ดอกที่ออกก็หลุดร่วงง่าย
ใบของกล้วยไม้จึงมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตอาหารสะสมให้ต้น ผลของการมีอาหารสะสมมาก มีผลให้ C / N ratio กว้าง ทำให้พืชออกดอกที่สมบูร์ได้ง่าย ต้นไม่โทรม
เป็นเพียงทฤษฎีการออกดอกของต้นไม้ทฤษฎีหนึ่งเท่านั้นครับ
การออกดอกของพืชหลายชนิด เช่นไม้ผล มะม่วง ลำไย เป็นต้น
เมื่อใช้ทฤฏี C:N Ratio พบว่าสามารถออกดอกได้ เมื่อ C:N Ratio ถึงระดับหนึ่ง
ซึ่งไม่สามารถกำหนดเป็นค่าที่แน่นอน เพราะการออกดอกยังขึ้นกับปัจจัยอีก
หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ชนิดพืช อายุ ฤดูกาล ภูมิประเทศ แสง อุณหภูมิ
ความชื้น ล้วนมีผลต่อการออกดอกของพืชได้ทั้งสิ้น
อย่างเช่นตัวอย่างพืช 2 ชนิดที่ผมเอ่ยถึง
ในมะม่วง
ใช้วิธีการ ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต พวก พาโคลบิวทราโซล ราดลง
ดินไป ทำให้ มะม่วงสังเคราะห์แสงได้แต่นำไปใช้ในการเจริญเติบโตไม่ได้หรือได้น้อย
จึงสะสมในรูปของ คาร์โบไฮเดรท นั่นคือ C นั่นเอง เมื่อ C ถูกสะสมจนมีค่า
C:N Ratio ถึงระดับหนึ่ง มะม่วงก็ออกดอก
ในลำไย
ใช้สารโปตัสเซี่ยมคลอเรท สารนี้มีผลทำให้ลำไย ขาด N หรือ ลด N ในดินลง
ทำให้ N ของลำไย ใน C:N Ratio ลดลง (สมมติว่า C มันเท่าเดิม)
จนถึงค่า C:N Ratio ในระดับหนึ่ง จึงออกดอก
ถ้า จขกท. พูดถึงเฉพาะต้นไม้ในเขตร้อนอย่างประเทศไทย อาจครอบคลุมเป็นส่วนใหญ่
มีสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษหลาย ๆ ท่านมีข้อสงสัยและสอบถามมากับทางผู้เขียนในเรื่องของการเปิดตาดอก การเร่งตาใบ ซึ่งผู้เขียนได้ตอบคำถามเหล่านั้นในเรื่องของ “ซีเอ็นเรโช” ซึ่งหลาย ๆ ท่านไม่เข้าใจว่าซีเอ็นเรโชคืออะไร วันนี้ผู้เขียนจึงขออธิบายให้กับสมาชิกรวมถึงเกษตรกรที่เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ของชมรมฯ ให้มีความเข้าใจในเรื่อง “ซีเอ็นเรโช” อย่างง่าย และนำไปปฏิบัติกับสวนของตัวเอง นำไปบังคับดอกและใบ รวมไปถึงการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี เพื่อให้ง่ายในการบังคับให้ติดดอกออกผล หรืออาจจะรวมไปถึงการบังคับผลผลิตออกนอกฤดูโดยไม่ต้องใช้สารที่หยุดกระบวนการไนโตรเจนเพื่อประโยชน์ในเรื่องของต้นทุนการผลิต และสภาพต้นของพืชที่ตนเองปลูกครับ
ความหมายของซีเอ็นเรโช C = ซี ย่อมาจากคาร์บอน (Carbon), N = เอ็น ย่อมาจากไนโตรเจน (Nitrogen) และ ratio = เรโช หมายถึง สัดส่วน รวมแล้ว คือ สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน ถ้าตัวเลขอยู่ใกล้กัน เรียกว่า ซีเอ็นเรโชแคบ ถ้าตัวเลขอยู่ห่างกันหรืออยู่ต่างกันมากกว่า เรียกว่า ซีเอ็นเรโชกว้าง เช่น 15: 1 คือคาร์บอน 15 ส่วน ต่อ ไนโตรเจน 1 ส่วน ซี หรือคาร์บอนได้มาจากค่าวิเคราะห์คาร์โบฮัยเดรทในพืช ซึ่งก็คือน้ำตาลและแป้งทั้งที่พืชสร้างขึ้นหรือได้รับจากการฉีดพ่นก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว เอ็น หรือไนโตรเจน ได้มาจากการวิเคราะห์หาไนโตรเจนรวมในพืช ไม่ว่าจะได้จากการดูดขึ้นมาจากดินหรือการฉีดพ่นให้ทางใบก็ตาม
ผลที่พืชจะได้รับและแสดงออก ซีเอ็นเรโชแคบ คือเมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันไม่มาก ซึ่งสามารถทำให้เกิดสภาพเช่นนี้ได้โดยการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนโดยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี หรือฉีดพ่นทางใบที่มีปุ๋ยไนโตรเจนละลายอยู่ ปกติพืชจะได้รับไนโตรเจนที่ละลายน้ำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าปุ๋ยอื่น ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของไนโตรเจน, แอมโมเนีย, ยูเรียหรือที่ละลายน้ำอยู่ในรูปอื่นๆ ก็ตาม แล้วทำให้ค่าไนโตรเจนเพิ่มขึ้นทันที ในขณะที่คาร์บอนหรือคาร์โบฮัยเดรทในต้นพืชเท่าเดิม หรืออาจถูกใช้ไปบ้างเพื่อเป็นพลังงานในการดึงปุ๋ยเข้าสู่รากพืชมีผลให้ค่าซีเอ็นเรโชแคบอย่างรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวมีผลทำให้พืชเกิดการเจริญทางใบคือแตกยอดและใบอ่อนง่าย ทำให้ดอกออกยาก ทำให้คุณภาพผลผลิตใกล้แก่ต่ำลง ถ้าพืชยังไม่เริ่มขบวนการแก่ก็จะทำให้แก่ช้าออกไปซึ่งการแก่ช้าอาจจะเป็นผลดีสำหรับพืชผลไม้ที่รอราคา แต่เป็นผลเสียสำหรับพืชที่ต้องการขนาดของผล หากแก่ช้าผลก็ใหญ่เกินกว่าขนาดที่ตลาดต้องการ ซึ่งหากซีเอ็นเรโชแคบอย่างต่อเนื่องแม้แต่ใบก็ยังแก่ช้าออกไปด้วย
ซีเอ็นเรโชกว้าง คือเมื่อตัวเลขของคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ห่างกันกว่า ซึ่งการทำให้เกิดสภาพเช่นนี้กับพืชที่มีใบรุ่นใหม่สมบูรณ์และมากพอแล้ว โดยการหยุดให้ปุ๋ยไนโตรเจนทุกชนิดทั้งทางดินและทางใบ พืชก็ยังจะสังเคราะห์แสงสะสมอาหารมากขึ้นตามลำดับ โดยสร้างเด็กซ์โทรส (หรือกลูโคส) จากนั้นเปลี่ยนเป็นซูโครส (น้ำตาลทราย) ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า แล้วเปลี่ยนเป็นแป้งหรือคาร์โบฮัยเดรทอื่นสะสมอยู่ในกิ่ง, ก้าน, ลำต้น, รากหรือหัว ในธรรมชาติเมื่อฝนหยุดตก งดการให้น้ำ น้ำในดินจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนละลายไนโตรเจนออกมาได้น้อย และในที่สุดแทบจะไม่ได้ดูดไนโตรเจนเข้าลำต้นเลย แต่พืชยังคงสังเคราะห์แสงที่ใบทุกวันเมื่อมีแสงแดด ซีเอ็นเรโชจึงกว้างขึ้นเป็นลำดับ ใบพืชจึงมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตอาหารสะสมให้ต้นพืช ผลของการมีอาหารสะสมมาก ซีเอ็นเรโชกว้างทำให้พืชออกดอกได้ง่าย ผลอ่อนร่วงน้อย โตเร็ว ผลแก่มีคุณภาพดี เมื่อผลแก่แล้วก็สุกได้ง่าย (จากเอกสารแจกสมาชิก ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)
จากที่กล่าวข้างต้น สมาชิกของชมรมฯ หลาย ๆ ท่านคงจะเริ่มเข้าใจความหมายของ “ซีเอ็นเรโช” กันบ้างแล้วนะครับ ซึ่งผู้เขียนได้เขียนเรื่องการบังคับมะนาวให้ออกดอกในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อให้ผลผลิตออกมาในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งบทความดังกล่าวที่เขียน ๆ ไว้ก็อิงจาก “ซีเอ็นเรโช” นี่แหละครับ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะมะนาวนะครับ แต่รวมถึงพืชทุกชนิดที่ต้องการให้ออกดอก การบังคับดอกโดยไม่ให้พืชอดน้ำ บังคับกันที่ระบบ “ซีเอ็นเรโช” จะทำให้พืชที่เราปลูกไม่โทรมเมื่อมีดอกออกผลดกมาก การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตดี ดอกและผลที่ออกมาไม่หลุดร่วงง่ายเพราะปริมาณไนโตรเจนที่มากับน้ำฝนและไนโตรเจนในดินที่ตกค้างเมื่อทำละลายกับน้ำในช่วงที่ฝนตกหนัก
หากสมาชิกหรือเกษตรกรท่านใดมีปัญหาสงสัยในเรื่องของ “ซีเอ็นเรโช” และการบังคับการแตกใบ แตกดอกของพืชผักไม้ผลทุกชนิดก็สามารถสอบถามมาที่ผู้เขียนโดยตรงได้ที่โทร. 08-1646-0212 ยินดีให้คำแนะนำสำหรับสมาชิกหรือเกษตรกรทุกท่านครับ
C/N Ratio ( ซี/เอ็น เรโช ) คือค่าความแตกต่างระหว่าง คาร์บอน กับ ไนโตรเจน ที่มีอยู่ในโครงสร้างของพืช ...ค่ะ
C คือ คาร์บอน N คือ ไนโตรเจน
N คือ ไนโตรเจน ถ้าเป็นปุ๋ย คือ 46-0-0 หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยูเรีย"
N หรือ ไนโตรเจน เป็นธาตุที่มีการสูญเสียขึ้นอากาศไปได้ง่ายๆ เมื่อถูกความร้อน และ เป็นธาตุที่ละลายไปกับน้ำ และซึมผ่านลงในดินได้รวดเร็ว พอๆ กับละลายไหลไปตามน้ำที่ชะหน้าดิน เมื่อมีฝนตกหนักๆ
***ดังนั้นในเรื่องของ "ยูเรีย" สรุปว่า อย่าเอาถุงปุ๋ยยูเรียไปตากแดด ควรเก็บไว้ในทีร่ม และเมื่อใส่ปุ๋ยยูเรียแล้ว อย่าปล่อยทิ้งให้ตากแดดนาน ควรเขี่ยดินกลบ หรือรีบรดน้ำ เพื่อให้ปุ๋ยละลายซึมลงดินให้รวดเร็วที่สุด
***ชาวบ้านบอกว่าตากแดดตั้งนานแล้ว ก็ยังเห็นมันตั้งอยู่ทั้งกระสอบ ไม่เห็นหายไปไหนเลย ค่ะ.. ถูกต้อง ปุ๋ยยูเรียที่ตากแดด มันยังเหลืออยู่ทั้งกระสอบ แต่ที่เห็นอ่ะ... มีเหลือแต่แคลเซี่ยมที่ใช้เป็นตัวจับธาตุไนโตรเจน...ค่ะ
***วันไหนฝนตก น้ำฝนจะนำไนโตรเจนที่มีอยู่มากมายในอากาศ เอากลับลงมาด้วยค่ะ
*** ธาตุคาร์บอนในดิน นอกจากโครงสร้างตัวมันเองจะช่วยให้ดินพลุน ซับซึมน้ำผ่านได้ดีแล้ว ปริมาณคาร์บอนยังช่วยให้ค่าความแตกต่างระหว่าง C/N Ratio แคบ หรือ กว้าง ได้ ดังนี้น
***ถ้าค่า C/N Ratio แคบ ต้นไม้จะเจริญทางกิ่ง และใบ
***ถ้าค่า C/N Ratio กว้าง จะส่งผลให้มีการติดดอกเจริฐพันธุ์ได้...ค่ะ
*** ในธรรมชาติจะมีธาตุคาร์บอนมากว่าในโตรเจนอยู่แล้ว แต่ถ้าฝนตกมาก ค่าของ N จะเพิ่มขึ้น กระเถิบเข้ามาหาจนใกล้เคียง C หรือมากกว่า ทำให้ต้นเติบโต ใบเขียว สมบูรณ์ดีค่ะ .....แต่มันจะไม่ออกดอก
*** ถ้าฝนตกน้อย และมีการเพิ่มเติมส่วนที่เป็นคาร์บอนลงไป จะทำให้ ค่าของ N กับ C ห่างกันมากขึ้น จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้มีการติดดอกลำไย....มากขึ้นได้ค่ะ
*** เมื่อลำใยอยู่ในช่วงระหว่าง วัดใจว่า ระหว่าง ตาใบ กับ ตาดอก ใครจะเบียดใคร การปรับค่า C/N Ratio ให้แคบเข้า จะทำให้ตาใบเจริญมากกว่าตาดอก ส่งผลให้ต้นลำไย ใบเขียวพรึบ...ค่ะ คนปลูกที่ต้องการผลลำไย คงไม่ชอบแบบนี้แน่ ดังนั้น อย่าลืมว่า เราต้องถ่างค่า C ให้มากขึ้นค่ะ เราจึงควรเติมคาร์บอนลงไปในดินบ้าง...นะคะ
***แต่ถ้าอยู่ในช่วงปลูกใหม่ อยากสร้างลำต้น ก็ไม่จำเป็นต้องใส่คาร์บอนลงไปมากนัก แต่ถ้าปีถัดไป เตรียมจะราดสารทำดอกลำไย อย่าลืมเติมคาร์บอน...ละกัน
*** เมื่อลำไยติดผลแล้ว ควรปรับค่าของ N ให้แคบเข้าหา C โดยจะทำให้ N มีค่าเท่ากับ C หรือจะให้มากเกินกว่า C ก็ได้ ด้วยการใส่ไนโตรเจนเพิ่มเข้าไป จะสามารถกระตุ้นให้ผลลำไยมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ และสุกช้า...ค่ะ ลูกลำไยจะมีผิวสีเขียวเจือๆ เลยล่ะ และที่สำคัญให้ใส่เฉพาะในช่วงการพัฒนาผลลำไยเท่านั้น...นะคะ
อ้อ! ช่วงนี้ อย่าลืมเติม "โบรอน" ด้วยนะคะ เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของเปลือกลำไยมีความยืดหยุ่นตัว สามารถขยายผลได้ ถ้าไม่เติมเปลือกลำไยจะแตก แล้วอย่าลืมรดน้ำให้ต้นลำไยซะด้วยล่ะ ยกเว้นฝนตก ไม่ต้องรดน้ำ...ค่ะ
** ประการสำคัญ คาร์บอน เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของเนื้อเยื้อชั้นนอก หรือที่เราเรียกว่าเปลือก คาร์บอนจะช่วยให้ลำต้นของลำไย มีขนาดใหญ่ และแข็งแรงขึ้นค่ะ
C / N Ratio หมายถึง สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน
C หรือ คาร์บอน
คาร์โบไฮเดรทในพืช ซึ่งก็คือน้ำตาลและแป้งทั้งที่พืชสร้างขึ้นหรือได้รับจากการฉีดพ่นก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว
N หรือ ไนโตรเจน
ไนโตรเจนในพืช ไม่ว่าจะได้จากการดูดขึ้นจากทางรากหรือการฉีดพ่นให้ทางใบก็ตาม แต่มีอยู่ในต้นพืชแล้ว
ในกรณีที่ต้องการให้กล้วยไม้ออกดอก เราจะใช้การทำให้ C / N ratio กว้าง เพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก จะทำเมื่อสภาพของกล้วยไม้สมบูรณ์
การเพิ่ม C ให้กับพืช
การใช้ผลิตภัณฑ์ Evergreen Grow-Up 1 ,2 และ Evergreen Capsule เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้พืชสังเคราะห์แสงและสะสมอาหารมากขึ้น โดยสร้างเด็กซ์โทรส (หรือกลูโคส) จากนั้นเปลี่ยนเป็นซูโครส (หรือน้ำตาล) ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า แล้วเปลี่ยนเป็นแป้งหรือคาร์โบไฮเดรท สะสมอยู่ในพืชมากขึ้นเป็นการทำให้พืชสะสม C ( คาร์บอน ) มากขึ้น C / N ratio ก็กว้างขึ้น
การกระตุ้นให้พืชสะสมอาหารมากขึ้น เป็นการบังคับระบบ C / N ratio ให้กับกล้วยไม้ ทำให้ได้ดอกที่สมบูรณ์ ไม่เหี่ยวหรือหลุดร่วงง่าย และมีผลต่อการติดฝักของกล้วยไม้สูง
การลด N ให้กับพืช
คือการงดการให้น้ำ จนละลายไนโตรเจนออกมาได้น้อย หรือจนในที่สุดพืชแทบจะไม่ได้ดูดไนโตรเจนเข้าลำต้นเลย แต่พืชยังคงสังเคราะห์แสงที่ใบทุกวันเมื่อมีแสงแดด C / N ratio จึงกว้างขึ้น
การงดการให้น้ำ เป็นการบังคับ ระบบ C / N ratio ให้กับกล้วยไม้ก็จริง แต่ถ้ามากเกินไป ก็มีผลทำให้กล้วยไม้โทรม ดอกที่ออกก็หลุดร่วงง่าย
ใบของกล้วยไม้จึงมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตอาหารสะสมให้ต้น ผลของการมีอาหารสะสมมาก มีผลให้ C / N ratio กว้าง ทำให้พืชออกดอกที่สมบูร์ได้ง่าย ต้นไม่โทรม
วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558
เพลี้ยไฟพริก ใน มะนาว
เพลี้ยไฟพริก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scirtothrips dorsalis Hood
ลักษณะทั่วไปและการเข้าทำลาย
เพลี้ยไฟพริก สามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น พริก มะม่วง มะนาว กุหลาบ เป็นต้น เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวยาวประมาณ 1-2 มม. มีสีน้ำตาลปนเหลือง ตัวเต็มวัยมีปีก ทำลายพืชโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอดอ่อน ตาใบ ตาดอก หากดูดน้ำเลี้ยงที่ใบจะทำให้ขอบใบม้วนหงิกงอ ขอบใบและปลายใบไหม้ ถ้าเป็นมากใบจะร่วงในที่สุด หากทำลายยอดจะทำให้ยอดหงิกงอ ไม่เจริญเติบโต หากทำลายผล จะทำให้ผลเกิดเป็นแผลสีน้ำตาลเป็นทาง อาจทำให้ผลบิดเบี้ยว เพลี้ยไฟมักระบาดมากในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง เช่นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และปริมาณจะลดลงในช่วงฤดูฝน
การป้องกันและกำจัด
- ก่อนนำต้นไม้ต้นใหม่เข้ามาต้องตรวจดูว่าไม่มีเพลี้ยไฟติดมาด้วย และควรกำจัดเพลี้ยไฟก่อนนำไปปลูกรวมกับต้นอื่น ๆ
- ถ้าเพลี้ยไฟทำลายไม่มากนัก ให้ตัดส่วนที่แมลงทำลายไปเผาทำลาย
- ก่อนปลูกกุหลาบหรือย้ายกระถาง ให้ใช้ สตาร์เกิล จี รองก้นกระถางก่อนปลูก อัตรา 2 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา) หรือ จะใช้โรยรอบกระถางก็ได้อัตรา 10 กรัม (ประมาณ 5 ช้อนชา) ต่อกระถางขนาด 12 นิ้ว
สตาร์เกิล จี ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น
- หากพบว่ากุหลาบมีเพลี้ยไฟทำลายจำนวนมาก แนะนำให้ใช้สตาร์เกิล เอสแอส(สูตรน้ำเข้มข้น) จำนวน 1 ซีซี ผสมน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากันแล้วหยดสารเพิ่มประสิทธิภาพ เทนชั่น ที-7 จำนวน 2 หยด เพื่อให้สตาร์เกิล เอสแอลสามารถจับติดที่ใบทำให้ประสิทธิภาพในการดูดวึมเข้าต้นพืชได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ใช้ปากเจาะและดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกมะม่วงโดยเฉพาะฐานรองดอก และขั้วผลอ่อน ทำให้เซลล์บริเวณนั้นถูกทำลาย สังเกตพบผลอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วง กรณีที่ระบาดไม่รุนแรง จะปรากฎแผลชัดเจน เป็นวงที่ขั้วผลมะม่วง
- ใบ การทำลายที่ใบ เพลี้ยไฟจะทำให้ใบที่แตกใหม่แคระแกรน ขอบใบ และปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็ก ๆ สำหรับใบที่โตแล้ว ตามขอบใบจะม้วนงอ ปลายใบไหม้
- ยอด ถ้าเป็นการทำลายที่รุนแรง ทำให้ยอดแห้งไม่แทงช่อใบหรือช่อดอกออกมาได้
- ช่อดอก การทำลายในระยะติดดอก จะทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วง ไม่ติดผลหรือทำให้ติดผลน้อย
- ผล ที่ขั้วผลอ่อนจะเห็นเป็นวงสีเทาเกือบดำ หรือผลบิดเบี้ยว ถ้าการทำลายรุนแรงผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด แมลงชนิดนี้ระบาดเมื่ออากาศร้อนและแห้งแล้ง ถ้ามีการระบาดรุนแรง เพลี้ยไฟจะทำลายมะม่วงระยะผลอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อยู่ในช่วงมะม่วงเริ่มแทงดอกในระยะเดือยไก่ และปริมาณประชากรจะลดลงในระยะดอกตูม และเพิ่มขึ้นเมื่อดอกใกล้บาน จนถึงดอกบานเต็มที่ จากนั้นจะเริ่มลดลง เมื่อเริ่มติดผลและจะพบน้อยมากเมื่อผลผลิตใกล้เก็บ
ศัตรูธรรมชาติ
ไรตัวห้ำ Amblyseius sp. ด้วงเต่า
การป้องกันกำจัด
1. ถ้าพบไม่มากนักให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดไปเผาทิ้ง เพราะเพลี้ยไฟมักจะอยู่กันเป็นกลุ่ม บริเวณส่วนยอดอ่อนของพืช
2. การพ่นสารฆ่าแมลงควรพ่นในระยะติดดอก อย่างน้อย 2 ครั้ง คือ เมื่อเริ่มแทงช่อดอก และมะม่วงเริ่มติดผลขนาดมะเขือพวง (ประมาณ 0.5 - 1 ซม.) ถ้าหากปีใดมีเพลี้ยไฟระบาดรุนแรงจำเป็นต้องพ่นซ้ำในระยะก่อนดอกบานสารฆ่าแมลงที่แนะนำคือ cyhalotrin (คาราเต้ 2.5% EC) 7 มล. 20 ลิตร หรือ fenpropathrin (ดานิทอล) 10% EC อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ carbaryl (เซฟวิน 85% WP) 45 - 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ควรหลีกเลี่ยงเมื่อดอกบานสารฆ่าแมลงดังกล่าวมีอันตรายต่อผึ้ง
3. ในระยะแตกใบอ่อน ถ้ามีการระบาดให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงดังข้อ 2 ถ้าเพลี้ยไฟทำลายรุนแรงจนยอดอ่อนไม่แตกใบ ต้องตัดแต่งกิ่งช่วยด้วย
เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก มีสีเหลืองนวล เหลืองปนน้ำตาล น้ำตาลเข้มและสีดำ มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ปีกมีลักษณะเป็นแผ่น
บางใส มีขนยาวรอบขอบปีก ปีกแบนราบขนานกันบนสันหลังหรือสามารถซ้อนลำตัวได้ ส่วนท้องมีลักษระเรียวยาว มีจำนวนปล้อง 10 ปล้อง เพลี้ย
ไฟเป็นแมลงที่มีเขตการแพร่กระจายไปทั่วโลก ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสามารถทำลายพืชได้ โดยใช้กรามเขี่ยวดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชในส่วน
ยอด ตาอ่อน ใบ ดอกและผล ทำให้ใบเกิดรอยด่าง สีซีด หรือทำให้ขอบใบแห้ง ตาอ่อนชะงักการเจริญเติบโต กลีบดอกมีสีซีด โดยเฉพาะกลีบดอก
ที่มีสีเข้มจะเห็นการทำลายได้อย่างชัดเจน บางครั้งพบลักษณะเป็นรอยแผลสีน้ำตาล
นอกจากนี้ความเสียหายจากเพลี้ยไฟยังเกิดจากสิ่งขับถ่ายที่เพลี้ยไฟถ่ายออกมามีลักษณะคล้ายหยดน้ำเล็กๆ ติดอยู่ตามส่วนต่างๆ ของพืช
หยดน้ำเหล่านี้เมื่อแห้งจะทำให้พืชเกิดรอยตำหนิเป็จุดดำ ที่สำคัญเพลี้ยไฟบางชนิดสามารถเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่พืช ซึ่งการถ่ายทอดเชื้อไวรัส
เกิดจากเพลี้ยไฟตัวอ่อนระยะแรกรับเชื้อไวรัส และเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะถ่ายทอดเชื้อนี้ให้กับพืชทางน้ำลาย การสืบพันธุ์ของเพลี้ยไฟมีทั้งแบบไม่
อาศัยเพศและอาศัยเพศ ถ้าเป็นแบบไม่อาศัยเพศลูกที่ได้จะเป็นตัวผู้ทั้งหมด หลังจากผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ เพลี้ยไฟสามารถแพร่กระจายไปตาม
แหล่งต่างๆ ได้ง่าย โดยอาศัยลมเป็นพาหะ พบได้ตามแหล่งปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ดอกทั่วทุกภาพของประเทศไทย
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ให้ใช้สารเคมีตามคำแนะนำ ได้แก่ ฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร อิมิดาโคลพริด 70% ดับบลิวจี อัตรา 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตร อย่างไรก็ตามเพื่อลดความเสียหายต่อผลผลิต และลดปริมาณแมลงศัตรูพืชให้น้อยลง เกษตรกรควรใช้วิธี
ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชแบบผสมผสานร่วมด้วย โดยใช้สารสกัดจากพืช เช่น สารสะเดาสามารถช่วยลดปริมาณการเข้าทำลายของแมลง
ศัตรูพืชได้ การใช้กับดักแมลง เช่นกับดักกาวเหนียวสีเหลือง อัตรา 80-100 กับดัก/ไร่ สามารถช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ และ
แมลงหวี่ขาว รวมทั้งต้องหมั่นสำรวจและทำความสะอาดแปลง เพื่อช่วยลดการสะสมของแมลงศัตรูพืช
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง โดยเฉพาะในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แต่อย่างไรก็ตามในสภาพบ้านเรา การขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี แต่อาจจะรุนแรงเป็นระยะ ๆเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบข้าวที่ยังอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและ อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลงลักษณะทั่วไปและการเข้าทำลาย
เพลี้ยไฟพริก สามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น พริก มะม่วง มะนาว กุหลาบ เป็นต้น เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวยาวประมาณ 1-2 มม. มีสีน้ำตาลปนเหลือง ตัวเต็มวัยมีปีก ทำลายพืชโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอดอ่อน ตาใบ ตาดอก หากดูดน้ำเลี้ยงที่ใบจะทำให้ขอบใบม้วนหงิกงอ ขอบใบและปลายใบไหม้ ถ้าเป็นมากใบจะร่วงในที่สุด หากทำลายยอดจะทำให้ยอดหงิกงอ ไม่เจริญเติบโต หากทำลายผล จะทำให้ผลเกิดเป็นแผลสีน้ำตาลเป็นทาง อาจทำให้ผลบิดเบี้ยว เพลี้ยไฟมักระบาดมากในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง เช่นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และปริมาณจะลดลงในช่วงฤดูฝนเพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็กในโลกนี้มีเพลี้ยไฟอยู่ทั้งหมดมากกว่า 5,000 ชนิด เพลี้ยไฟที่ลำลายพืชที่พบในประเทศไทย โดยทั่ว ๆ ไปมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตรเท่านั้น(ขนาดของเพลี้ยไฟเท่าที่มีรายงานมีความยาวลำตัวประมาณ 0.5-14 มิลลิเมตร แล้วแต่ชนิด)
เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายพืชโดยการดูดน้ำเลี้ยง โดยเฉพาะส่วนอ่อนหรือส่วนเจริญ เช่น ตา ใบอ่อน ดอก เป็นต้น ส่วนของพืชที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย สังเกตได้ง่าย ๆ คือ จะมีอาการหงิกงอ เป็นคลื่น มีสีขาวซีด หรือถ้ามีการทำลายรุนแรงส่วนนั้น ๆ จะเป็นรอยด่างสีน้ำตาล เหี่ยวแห้ง ถ้าทำลายดอกเพลี้ยไฟจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ยังเป็นตาดอก ทำให้ตาดอกเหี่ยวแห้ง ไม่ออกดอก การทำลายตั้งแต่เป็นดอกตูมจะทำให้ดอกมีรูปร่างผิดปกติกลีบดอกหงิกงอบิดเบี้ยและเล็กลงมากจนถึงเป็นรอยด่างสีน้ำตาล
เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูที่มีปัญหามาก โดยเฉพาะในการปลูกเลี้ยงไม้ดอกหลาย ๆ ชนิด เช่น กล้วยไม้ เบญจมาศ กุหลาบ เยอร์บีร่า มะลิ ดาวเรือง เป็นต้น เพลี้ยงไฟ นอกจากจะเคลื่อนที่โดยการเดิน บินแล้ว ยังอาศัยลมในการพัดพาไป
เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อการส่งออก ซึ่งประเทศไทยกำลังมีปัญหาทางด้านการกักกันพืชที่มีเพลี้ยไฟติดไปกับดอกกล้วยไม้และกระทบกระเทือนต่อการส่งออกดอกกล้วยไม้ของประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
อย่างไรก็ตามแม้ว่าโดยลักษณะรูปร่างภายนอกเพลี้ยไฟมีรูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกันแต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ซึ่งการแยกลักษณะชนิดของเพลี้ยไฟ ต้องอาศัยหลักการทางวิชาการค่อนข้างยุ่งยาก เพราะเป็นแมลงขนาดเล็ก ไม่สามารถแยกชนิดโดยดูลักษณะภายนอกด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะวิเคราะห์ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องแน่นอน
การป้องกันกำจัด
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ โดยทั่ว ๆ ไป วิธีการอื่น ๆนอกจากการพ่นสารฆ่าแมลงยังไม่รายงานว่าใช้ได้ผลแต่อาจจะใช้
1. กับดักกาวเหนียวสีเหลือง แขวนหรือปักไว้ในสวนเพื่อตรวจสอบดูว่า เริ่มมีการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในแปลงพืชหรือยัง ซึ่งช่วยได้ในแง่การทำนายการระบาด นอกจากนี้กับดักยังใช้ในการศึกษาข้อมูลอื่น ๆ ของเพลี้ยไฟด้วย
2. ถ้ามีการระบาดทำลายมาก และจำเป็นต้องใช้สารเคมีให้ใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งคือสารคาร์โบซัลแฟน (พอสซื 20 ℅อีซี) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร สารโปรไธโอฟอส (โตกุไธออน 50℅อีซี) อัตรา 20-30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร และสารเบนฟูราคาร์บ (ออนคอล 20℅อีซี) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น และเนื่องจากเพลี้ยไฟมีวงจรชีวิตสั้นมากในระยะที่มีการระบาดค่อนข้างสูง จึงควรพ่นสารเคมีค่อนข้างถี่ คือประมาณ 4-5 วันครั้งติดต่อกัน 2-3 ครั้งหรือจนกว่าการระบาดจะลดลง
3. ในกลุ่มเกษตรอนทรีย์ให้ใช้เชื้อสดราขาว บิวเวอร์เรีย บาเซียน่า ซึ่งเป็นเชื้อราที่สามารถเข้าทำลายเพลี้ยไฟได้ดีที่สุด ในอัตรา 200ซีซี:น้ำ20ลิตร ฉีดพ่นห่างกัน 3วันเป็นเวลา 3ครั้ง และ100ซีซี:น้ำ20ลิตรทุก15วันเป็นการป้องกันต่อไป
ถ้าพืชถูกทำลายมากจะเหี่ยวแห้ง หงิกงอ ยอดอาจไม่เจริญ ควรจะพ่นปุ๋ยทางใบไปพร้อมกันด้วยเพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากเพลี้ยไฟบินในเวลากลางวันในช่วงเช้าจนถึงบ่ายคือเริ่มพบเพลี้ยไฟมากในช่วง 8.00-13.00 น. สูงสุดในเวลา 9.00-10.00 น. หลังจากนี้จะพบเพลี้ยไฟน้อยลงโดยเฉพาะในเวลา18.00-6.00 น. จะพบน้อยมาก ดังนั้นในการพ่นสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟโดยเฉพาะในรังกล้วยไม้ ซึ่งโรงเรือนมีการพรางแสงอยู่แล้วจึงควรจะพ่นในระยะเวลาเช้า คือในระหว่างเวลา 8.00-10.00 น. ทั้งนี้เพื่อให้สารฆ่าแมลงมีโอกาสถูกตัวเพลี้ยไฟได้โดยตรง
วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558
แนวโน้มราคมะนาวในประเทศไทย 5 ปีที่ผ่านมา
จากข้อมูล ราคามะนาวผลกลางเฉลี่ย ย้อนหลัง 5 ปี 2553 2554 2555 2556 2557
ราคามะนาว มีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องชัดเจน แต่ ปี 2558 ราคมะนาวเฉลี่ยลดลง
เล็กน้อย
โดยสรุปราคาเฉลี่ยแต่ละปีเป็นดังนี้ โดยเป็นราคา ต่อมะนาวขนาดกลาง 100 ผล
จากข้อมูลพบว่า มะนาว จะมีราคาแพงในเดือน มีนาคม เมษายน และ พฤษภาคม
ส่วนเดือน กรกฏาคม พฤศจิกายน และ ธันวาคม มะนาวจะมีราคาต่ำที่สุด ดังนั้น
การจะทำให้มะนาวขายได้ราคาแพง จึงควรบังคับให้มะนาว ออกดอก ในเดือน
กันยายน ตุลาคม และ พฤศจิกายน ซึ่งอีก 5 เดือน จะเก็บผลมะนาวขายได้นั่นเอง
ราคามะนาว มีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องชัดเจน แต่ ปี 2558 ราคมะนาวเฉลี่ยลดลง
เล็กน้อย
โดยสรุปราคาเฉลี่ยแต่ละปีเป็นดังนี้ โดยเป็นราคา ต่อมะนาวขนาดกลาง 100 ผล
จากข้อมูลพบว่า มะนาว จะมีราคาแพงในเดือน มีนาคม เมษายน และ พฤษภาคม
ส่วนเดือน กรกฏาคม พฤศจิกายน และ ธันวาคม มะนาวจะมีราคาต่ำที่สุด ดังนั้น
การจะทำให้มะนาวขายได้ราคาแพง จึงควรบังคับให้มะนาว ออกดอก ในเดือน
กันยายน ตุลาคม และ พฤศจิกายน ซึ่งอีก 5 เดือน จะเก็บผลมะนาวขายได้นั่นเอง
วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558
การเตรียมต้นมะนาว และ ให้ปุ๋ยมะนาวเพื่อทำนอกฤดู
ในการทำมะนาวนอกฤดู ควรมีการเตรียมต้นมะนาวในเดือน มิถุนายน ด้วยการตัดแต่งกิ่ง ตรวจ pH ดิน ให้ได้และปรับ ดินให้มี pH 6.0-7.0 ต่อมาให้ใส่ปุ๋ยคอกเก่า รอบๆ ต้นมะนาว ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และยูเรีย อย่างละเท่าๆ กัน ตาม ขนาดของทรงพุ่มมะนาว หลังจากนั้น ให้ คุมโรคแคงเกอร์ที่่ใบ และเชื้อราในดิน ต่อมา โดยใช้แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส ต่อมาให้ใช้ปุ๋ยทางใบพ่นเสริม ด้วยแนะนำปุ๋ยโยกหน้า สูตรนกเหงือกเขียว หรือ ปุ๋ยนูเท็ค N ของ บ.โซตัส พ่นทางใบทุก 7-14 วัน หากดิน และ ต้นมะนาวสมบูรณ์ดี ให้พ่นปุ๋ยทางใบทุก 14 วัน หากไม่สมบูรณ์ ให้พ่นปุ๋ยทางใบทุก 7 วัน โดยอาจผสมสารจับใบช่วย ต่อมา เดือนกรกฏาคม ให้ตัดยอดมะนาว ปลายยอดทุกยอด ยาวสัก 2 cm แล้ว รอให้แตกใบอ่อน โดยให้เน้น ปุ๋ยทางใบสูตรโยกหน้า เมื่อมีใบอ่อน ควรใช้ยาปราบแมลงที่ปลอดภัยสูตร 1-4-7 ในการพ่น คุมหนอนและแมลง แต่เมื่อ ถึงเดือนสิงหาคม เราต้องให้ ปุ๋ยสูตรโยกหลัง ตรานกเหงือกแดง 9-19-34 ทางใบทุก 7 วัน โดยให้ ได้ จน หมดเดือน สิงหาคม พอกันยายนให้ อดน้ำมะนาวได้เลย
หลักการใช้ปุ๋ยเพื่อเตรียมมะนาวนอกฤดูโยกหน้า คือ ไนโตรเจนสูง จะใช้เมื่อช่วงผลิใบอ่อนในมะนาวต้นเล็กให้ N สูง เพื่อยับยั้งไม่ให้ออกดอก ใช้ในช่วงลูกเล็กและกำลังขยายผล สัดส่วน 3-1-2 , 4-1-2 , 4-1-3 , 5-1-3
ปุ๋ยโยกหน้าทางใบ |
โยกหลัง คือ โพแทสเซียมสูง จะใช้ช่วงก่อนออกดอก จังหวะที่ยอดโผล่ เพื่อบังคับให้มีปริมาณดอกมากขึ้นหรือการเปลี่ยนจากใบมาเป็นดอก และใช้ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวเพื่อให้เปลือกบางลง สัดส่วน 1-1-3,1-1-4,1-2-4,1-2-5
วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
การปราบโรคแคงเกอร์ให้ได้ผล
SOP of Citrus Canker
Treatment
เมื่อพบว่าโรคแคงเกอร์ระบาดในสวน
ควรรีบจัดการทันทีโดยเร็ว ไม่ควรล่าช้าเพราะโรคแคงเกอร์รุกลามได้เร็วมาก
สามารถทำลาย ใบ กิ่ง ผล ของมะนาว มะกรูด และส้ม ได้มากเลยทีเดียว เมื่อพบระบาดควรจัดการดังนี้
1.
ตัด กิ่ง ใบ ที่ ติดโรคแคงเกอร์ทิ้งทันที
นำไปเผาทำลายโดยเร็ว
(กรณีทำสวนแบบเกษตรอินทรีย์
ต้องตัดใบกิ่งทิ้งให้มากที่สุด )
2.
หากระบาดมาก ควรใช้ copper เน้น ยี่ห้อฟังกูรานดี
และปลอดภัยพอใช้(กรณีไม่เน้นทำสวนแบบปลอดสารพิษ หรือ เกษตรอินทรีย์ )
3.
หากระบาดน้อย ใช้นมหมักเชื้อ BS Bacillus Subtilis พ่นให้ทั่วทุกๆ ใบ และกิ่งที่เป็นโรค
(พ่นตอนเย็นจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ามาก)
4.
พ่น นมหมักเชื้อ BS Bacillus Subtilis อีก 4
ครั้ง ทุก 7วัน
5.
ราด นมหมักเชื้อ BS Bacillus Subtilis ที่โคนต้น
1 ครั้ง
6.
พ่นนมหมักเชื้อ BS Bacillus Subtilis กระตุ้น ทุก 1-2 เดือน
การเตรียมนมหมักเชื้อ
BS
Bacillus Subtilis
ส่วนผสม
· หัวเชื้อแบคทีเรีย
บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus
subtilis) ชนิดผง 1 ช้อนชา
· นม UHT รสหวาน 1
กล่อง 250 ml
· นมแลตาซอย 1 กล่อง 250
ml
· น้ำตาลกลูโคส หรือ
น้ำตาลทราย 3 ช้อนชา
การเตรียม
ผสมให้เข้ากันในขวดน้ำอัดลมพลาสติก ขนาด 1.25
ลิตร หมักไว้ในห้องที่มีอากาศร้อน
(อย่าปิดฝาแน่น) แต่ไม่ให้โดนแสงแดด เก็บไว้นาน 48-72 ชั่วโมง
จึงนำมาใช้ได้ พยายาม
อย่าให้มดขึ้นด้วย เวลาใช้ นำน้ำยาที่ได้ 100
ml ไป ผสมน้ำ 20 ลิตร และ
ผสมสารจับใบด้วย ในการพ่นใบมะนาว มะกรูด ส้ม ที่เป็นโรคแคงเกอร์ ควรพ่นตอนเย็นจะได้ผลดีกว่า
วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
โรครากเน่า โคนเน่า มะนาวโดนแล้ว ถึงตาย
โรคนี้ เกิดได้ จากเชื้อราหลายชนิด ที่พบบ่อย คือ ราไฟท็อปเทอร่า แต่อย่างไรก็ตาม
มะนาวที่ไม่มีรากแก้ว สามารถเกิดโรค รากเน่าโคนเน่าได้ง่ายมาก ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ทำลายระบบรากที่หาอาหารดูดกินและลำเลียงไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆของมะนาวให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของรากที่เสียหายจากการทำลายของเชื้อราชนิดนี้ กิ่งก้านใบในแถบทรงพุ่มที่ถูกทำลายก็อาจจะมีอาการแห้งเหี่ยวเหลืองซีดได้ด้วยเช่นกัน บางท่านอาจจะงุนงงสงสัยได้ว่าอาจจะเป็นเรื่องของเพลี้ยไฟไรแดงเข้าทำลาย ก็มีส่วนที่เป็นไปได้ถ้าไม่สังเกตุให้ดีอย่างละเอียดถี่ถ้วน ด้วยการขุดสำรวจที่โคนต้นบริเวณด้านที่พบอาการเหลือง ก็อาจจะดูแลแก้ไขแบบผิดวิธีได้ด้วยเช่นกัน
โรครากเน่าโคนเน่านอกจากจะเป็นศัตรูกับมะนาวแล้วยังเป็นศัตรูอันดับต้นๆของทุเรียนด้วยเช่นกัน มีความรุนแรงทำให้ราก ลำต้น กิ่งก้านใบของทุเรียนล้มตายยกสวนจนเจ้าของสวนแถบภาคตะวันออกถอดใจไปก็มากต่อมาก ในอดีตสวนส้มแถบรังสิตซึ่งเป็นญาติในตระกูลเดียวกับมะนาวที่มีการลอกเลนในร่องสวนขึ้นมากลบทับที่โคนต้นทำให้บางครั้งรากขาดอากาศอ่อนแอและง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคจากการเปียกแฉะชื้นฉ่ำของขี้เลนทำให้สวนส้มล้มตายทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน เพราะเชื้อราฟัยท็อพทอรานั้นสามารถที่จะแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงสองสามสัปดาห์ ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดอย่างถูกต้องตรงกับโรค
ต้นมะนาวที่อยู่ในภาวะหน้าฝนหรือท้องร่องเปียกแฉะก็อาจจะมีความซุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าและจะแสดงอาการที่ใบเริ่มมีสีเหลืองซีดจางได้ โดยที่ไม่ใช่เป็นโรคกรีนนิ่งหรือทริตเตซ่าถ้าแก้ไขโดยการฉีดพ่นซิงค์หรือสังกะสีก็อาจจะผิดพลาดไม่ทันการณ์ ฉะนั้นควรป้องกันรักษาโดยหาจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเช้ือราโรคพืชโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่ามาเฝ้ารักษาป้องกันให้อยู่อาศัยที่โคนต้นหรือรากของมะนาวอย่างสม่ำเสมอ เพราะหลักการทำงานของจุลินทรีย์คือพวกมากกว่าชนะพวกที่น้อยกว่า ฉะนั้นถ้าดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของกลุ่มจุลินทรีย์ดีอย่างไตรโคเดอร์ม่า (Tricoderma sp.) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์หรือเป็นศัตรูของเชื้อราโรคพืชที่ดีเยี่ยม
การป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า
1 พยายาม ยกร่องสูง ไม่ให้น้ำขังในต้นมะนาว
2 รดน้ำมะนาว แต่พอดี อย่าให้มาก จนน้ำขัง
3 ปรับสภาพดินให้ pH 6-7 กำลังดี
4 ใช้เชื้อราไตร์โครเดอร์ม่า หรือ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส
มะนาวที่ไม่มีรากแก้ว สามารถเกิดโรค รากเน่าโคนเน่าได้ง่ายมาก ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ทำลายระบบรากที่หาอาหารดูดกินและลำเลียงไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆของมะนาวให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของรากที่เสียหายจากการทำลายของเชื้อราชนิดนี้ กิ่งก้านใบในแถบทรงพุ่มที่ถูกทำลายก็อาจจะมีอาการแห้งเหี่ยวเหลืองซีดได้ด้วยเช่นกัน บางท่านอาจจะงุนงงสงสัยได้ว่าอาจจะเป็นเรื่องของเพลี้ยไฟไรแดงเข้าทำลาย ก็มีส่วนที่เป็นไปได้ถ้าไม่สังเกตุให้ดีอย่างละเอียดถี่ถ้วน ด้วยการขุดสำรวจที่โคนต้นบริเวณด้านที่พบอาการเหลือง ก็อาจจะดูแลแก้ไขแบบผิดวิธีได้ด้วยเช่นกัน
โรครากเน่าโคนเน่านอกจากจะเป็นศัตรูกับมะนาวแล้วยังเป็นศัตรูอันดับต้นๆของทุเรียนด้วยเช่นกัน มีความรุนแรงทำให้ราก ลำต้น กิ่งก้านใบของทุเรียนล้มตายยกสวนจนเจ้าของสวนแถบภาคตะวันออกถอดใจไปก็มากต่อมาก ในอดีตสวนส้มแถบรังสิตซึ่งเป็นญาติในตระกูลเดียวกับมะนาวที่มีการลอกเลนในร่องสวนขึ้นมากลบทับที่โคนต้นทำให้บางครั้งรากขาดอากาศอ่อนแอและง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคจากการเปียกแฉะชื้นฉ่ำของขี้เลนทำให้สวนส้มล้มตายทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน เพราะเชื้อราฟัยท็อพทอรานั้นสามารถที่จะแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงสองสามสัปดาห์ ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดอย่างถูกต้องตรงกับโรค
ต้นมะนาวที่อยู่ในภาวะหน้าฝนหรือท้องร่องเปียกแฉะก็อาจจะมีความซุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าและจะแสดงอาการที่ใบเริ่มมีสีเหลืองซีดจางได้ โดยที่ไม่ใช่เป็นโรคกรีนนิ่งหรือทริตเตซ่าถ้าแก้ไขโดยการฉีดพ่นซิงค์หรือสังกะสีก็อาจจะผิดพลาดไม่ทันการณ์ ฉะนั้นควรป้องกันรักษาโดยหาจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเช้ือราโรคพืชโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่ามาเฝ้ารักษาป้องกันให้อยู่อาศัยที่โคนต้นหรือรากของมะนาวอย่างสม่ำเสมอ เพราะหลักการทำงานของจุลินทรีย์คือพวกมากกว่าชนะพวกที่น้อยกว่า ฉะนั้นถ้าดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของกลุ่มจุลินทรีย์ดีอย่างไตรโคเดอร์ม่า (Tricoderma sp.) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์หรือเป็นศัตรูของเชื้อราโรคพืชที่ดีเยี่ยม
การป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า
1 พยายาม ยกร่องสูง ไม่ให้น้ำขังในต้นมะนาว
2 รดน้ำมะนาว แต่พอดี อย่าให้มาก จนน้ำขัง
3 ปรับสภาพดินให้ pH 6-7 กำลังดี
4 ใช้เชื้อราไตร์โครเดอร์ม่า หรือ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส
วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558
การติดเชื้อแคงเกอร์
การติดเชื้อแคงเกอร์
กลไกการติดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคแคงเกอร์
จะเข้าพืชวงศ์ citrus
ทางปากใบ และบาดแผล
ติดต่อโดยลม และ น้ำพาไป
แบคทีเรียก่อโรคแคงเกอร์
ต้องอาศัยโปรตีน ในการเกาะติดต้นไม้วงศ์ citrus แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis
pv จะสร้าง BioFilm ขึ้นมาเพื่อให้มันสามารถ อยู่รอดได้บนต้นพืชตระกูลส้ม
กลไกการอยู่รอดของแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv อาศัยน้ำ และการสังเคราะห์แสง
ช่วย
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558
Business Model กิ่งพันธุ์มะนาวเภสัชเอก
ก่อนเริ่มสวนมะนาวในฝันต้องทำกิ่งพันธุ์ให้เก่งก่อน เพราะลงทุนน้อยกว่าเยอะ
1. Key Partners
นิตยสารเกษตร
เกษตรโฟกัส
เกษตรวาไรตี้
เมืองไม้ผล
TARAD.COM
Weloveshopping
2. Key Activities
การปลูกมะนาว
การขุดหลุมปลูก
วัสดุปลูก
การควบคุมโรค
การให้น้ำ
การชำกิ่ง
การเลือกกิ่ง
การกรีด
จุ่มสารเร่งราก
ระบบน้ำหมอก
การกำจัดโรค
ใบเคลือบเชื้อ BS
วัสดุปลูกผสม
ไตรโคเดอร์ม่า
การขนส่ง
ฆ่าเชื้อโรคทั้งกิ่งชำ
เคลือบใบด้วยเชื้อ BS
ใส่ไตรโครเดอร์ม่าที่ราก
การบรรจุหิบห่อ
ส่งไปรษณีย์
การควบคุมโรค แมลง
คุมหนอนชอนใบ
พ่นนมหมัก BS
ไตโครเดอร์ม่าใส่ดิน
คุมเพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง
หนอนกินใบ
แคงเกอร์
รากเน่า โคนเน่า
เพลี้ยไฟ
กรีนนิ่ง
สตาร์เกิ้ลจี
ทริปโตฟาจ
เชื้อ BS
ไตโคเดอร์ม่า
แอ็กซอล
ไรแดง
3. Value Proposition
กิ่งพันธุ์มะนาวเกรด A+
คุณภาพยอดเยี่ยมที่สุดในประเทศไทย
กิ่งพันธุ์ปลอดโรค
โรคแคงเกอร์
ราไฟท็อปเทอร่า
กิ่งได้ขนาด รากเดินดี
ขนาดดินสอ แตกใบอ่อน ราก 4 ทิศ
นมหมักคุมโรค-ปลอดภัย
แบคทีเรีย BS
4. Customer Relationships
สนิทสนมคุ้นเคย
สนิทกันผ่าน facebook
มก. กำแพงแสน
ลูกค้าประจำ
มีการซื้อซ้ำ ระยะยาว ระบบสมาชิก
ครู- ศิษย์ แบ่งบันความรู้
คลิป youtube blogger fanpage free ebook ฟรี บรรยาย
5. Customer Segments
เกษตรกรชาวสวนมะนาว
เกษตรกรเต็มตัว มืออาชีพ
ผู้สนใจทั่วไป
มือใหม่ อยากลองปลูกมะนาว
B2C ขายเอง ให้ลูกค้า
6. Key Resources
กิ่งแม่พันธุ์
แป้นรำไพแท้
แป้นดกพิเศษ
ตาฮิติ
กระบวนการปลูกมะนาว
การขุดหลุมปลูก
วัสดุปลูก
การควบคุมโรค
การให้น้ำ
กระบวนการชำกิ่ง
การตัดแต่งกิ่ง
คัดเลือกกิ่งพันธุ์
การจุ่มสารเร่งราก
ระบบกระบะชำ
พ่นหมอกน้ำ
ปุ๋ย สารเคมี
ปุ๋ยโยกหน้า
ปุ๋ยอินทรีย์
ธาตุอาหารรอง
ไคโตซาน
7. Channels
พัสดุ EMS
ส่งด่วน หรือ ส่งแบบธรรมดา
เว็บ Store
มีบล็อก และเว็บขายสินค้า wordpress
Fanpage แบ่งปันความรู้ share ผ่าน blog
โฆษณานิตยสาร
เกษตรโฟกัส
เกษตรวาไรตี้
เมืองไม้ผล
8. Cost Structure
กิ่งแม่พันธ์ุแป้นรำไพ
ซื้อกิ่งพันธุ์ช่วงแรกเท่านั้น ต่อมาผลิตกิ่งพันธุ์ใช้เอง
ปุ๋ย สารอาหาร
ปุ๋ยโยกหน้า
ปุ๋ยอินทรีย์
ธาตุอาหารรอง
ยาฆ่าแมลง ควบคุมโรค
ค่าหีบห่อ
ค่าส่งไปรษณีย์
9. Revenue Streams
กิ่งชำมะนาวแป้นรำไพ ปลอดโรคแคงเกอร์ รากเดินดี
นมหมักคุมโรคแคงเกอร์ ผสมเชื้อแบคทีเรีย BS
หนังสือคู่มือปลูกมะนาวเงินล้าน มือใหม่ พิมพ์ขายเอง ผ่านซีเอ็ด
10. Brainstorming Space
Content Marketing
เขียน blog
แจก ebook
คลิป youtube
SEO or SEM
เลือก buyer keyword
ใช้ social media
ใช้ post ผ่าน บอร์ด
ใช้ google adword
Go Giver
แจกฟรี ebook
ผลิตคลิปสอนเคล็ดลับ
ตอบคำถามฟรี
บรรยายฟรี
Direct Sale by Email
ระบบสมาชิก blog
แจกฟรี ebook
เก็บ email list
ขายตรงๆ ผ่าน email
กิ่งพันธุ์มะนาวเภสัชเอก
1. Key Partners
นิตยสารเกษตร
เกษตรโฟกัส
เกษตรวาไรตี้
เมืองไม้ผล
TARAD.COM
Weloveshopping
2. Key Activities
การปลูกมะนาว
การขุดหลุมปลูก
วัสดุปลูก
การควบคุมโรค
การให้น้ำ
การชำกิ่ง
การเลือกกิ่ง
การกรีด
จุ่มสารเร่งราก
ระบบน้ำหมอก
การกำจัดโรค
ใบเคลือบเชื้อ BS
วัสดุปลูกผสม
ไตรโคเดอร์ม่า
การขนส่ง
ฆ่าเชื้อโรคทั้งกิ่งชำ
เคลือบใบด้วยเชื้อ BS
ใส่ไตรโครเดอร์ม่าที่ราก
การบรรจุหิบห่อ
ส่งไปรษณีย์
การควบคุมโรค แมลง
คุมหนอนชอนใบ
พ่นนมหมัก BS
ไตโครเดอร์ม่าใส่ดิน
คุมเพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง
หนอนกินใบ
แคงเกอร์
รากเน่า โคนเน่า
เพลี้ยไฟ
กรีนนิ่ง
สตาร์เกิ้ลจี
ทริปโตฟาจ
เชื้อ BS
ไตโคเดอร์ม่า
แอ็กซอล
ไรแดง
3. Value Proposition
กิ่งพันธุ์มะนาวเกรด A+
คุณภาพยอดเยี่ยมที่สุดในประเทศไทย
กิ่งพันธุ์ปลอดโรค
โรคแคงเกอร์
ราไฟท็อปเทอร่า
กิ่งได้ขนาด รากเดินดี
ขนาดดินสอ แตกใบอ่อน ราก 4 ทิศ
นมหมักคุมโรค-ปลอดภัย
แบคทีเรีย BS
4. Customer Relationships
สนิทสนมคุ้นเคย
สนิทกันผ่าน facebook
มก. กำแพงแสน
ลูกค้าประจำ
มีการซื้อซ้ำ ระยะยาว ระบบสมาชิก
ครู- ศิษย์ แบ่งบันความรู้
คลิป youtube blogger fanpage free ebook ฟรี บรรยาย
5. Customer Segments
เกษตรกรชาวสวนมะนาว
เกษตรกรเต็มตัว มืออาชีพ
ผู้สนใจทั่วไป
มือใหม่ อยากลองปลูกมะนาว
B2C ขายเอง ให้ลูกค้า
6. Key Resources
กิ่งแม่พันธุ์
แป้นรำไพแท้
แป้นดกพิเศษ
ตาฮิติ
กระบวนการปลูกมะนาว
การขุดหลุมปลูก
วัสดุปลูก
การควบคุมโรค
การให้น้ำ
กระบวนการชำกิ่ง
การตัดแต่งกิ่ง
คัดเลือกกิ่งพันธุ์
การจุ่มสารเร่งราก
ระบบกระบะชำ
พ่นหมอกน้ำ
ปุ๋ย สารเคมี
ปุ๋ยโยกหน้า
ปุ๋ยอินทรีย์
ธาตุอาหารรอง
ไคโตซาน
7. Channels
พัสดุ EMS
ส่งด่วน หรือ ส่งแบบธรรมดา
เว็บ Store
มีบล็อก และเว็บขายสินค้า wordpress
Fanpage แบ่งปันความรู้ share ผ่าน blog
โฆษณานิตยสาร
เกษตรโฟกัส
เกษตรวาไรตี้
เมืองไม้ผล
8. Cost Structure
กิ่งแม่พันธ์ุแป้นรำไพ
ซื้อกิ่งพันธุ์ช่วงแรกเท่านั้น ต่อมาผลิตกิ่งพันธุ์ใช้เอง
ปุ๋ย สารอาหาร
ปุ๋ยโยกหน้า
ปุ๋ยอินทรีย์
ธาตุอาหารรอง
ยาฆ่าแมลง ควบคุมโรค
ค่าหีบห่อ
ค่าส่งไปรษณีย์
9. Revenue Streams
กิ่งชำมะนาวแป้นรำไพ ปลอดโรคแคงเกอร์ รากเดินดี
นมหมักคุมโรคแคงเกอร์ ผสมเชื้อแบคทีเรีย BS
หนังสือคู่มือปลูกมะนาวเงินล้าน มือใหม่ พิมพ์ขายเอง ผ่านซีเอ็ด
10. Brainstorming Space
Content Marketing
เขียน blog
แจก ebook
คลิป youtube
SEO or SEM
เลือก buyer keyword
ใช้ social media
ใช้ post ผ่าน บอร์ด
ใช้ google adword
Go Giver
แจกฟรี ebook
ผลิตคลิปสอนเคล็ดลับ
ตอบคำถามฟรี
บรรยายฟรี
Direct Sale by Email
ระบบสมาชิก blog
แจกฟรี ebook
เก็บ email list
ขายตรงๆ ผ่าน email
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)