วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทำไมมะนาวถึงตาย นี่คือสาเหตุ


1 โรครากเน่า โคนเน่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ในดิน ซึ่งมีราก่อโรคอย่างน้อย 4 ชนิด ที่ก่อโรครากเน่าโคนเน่า อาการใบมะนาว จะเหลือง และทยอยร่วงเรื่อยๆ จนมะนาวตายในทีสุด สาเหตุหลักเกิดจากเชื้อราก่อโรค  ความชื้น  และ ความเป็นกรดของดินที่มีมากไป ทางป้องกันรักษา คือ ใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จุ่มรากมะนาวก่อนปลูกลงดิน  หรือ เติม เชื้อ Killer B ที่หมักแล้ว รอบทรงพุ่มมะนะาวปีละสองครั้ง



2 น้ำท่วมขัง จะทำให้ รากมะนาว ขาดอากาศ หรือ อ็อกซิเจน และจะตายในที่สุดหากมีน้ำท่วมหลายวัน การป้องกันคือเลือกทำเลสวนมะนาวที่ไม่มีน้ำท่วม  และ ยกร่องลูกฟูกมะนาวสูงสัก 60 เซนติเมตร จะช่วยป้องกันน้ำท่วมได้นอกจากนี้ การสูบน้ำออกจากสวนมะนาวดูจะเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ได้ผลดีมากๆ



3 โรคแคงเกอร์  โรคนี้ จะโจมตีทำลายใบ กิ่งมะนาวให้เสียหาย มีจุดเหลือง โรคแคงเกอร์เกิดจากแบคทีเรีย นอกจากนี้ แคงเกอร์ ยัง เข้าทำลายกิ่ง และ ลำต้นมะนาว มะนาวที่ ถูกแคงเกอร์ รุมเร้า มะนาว
จะไม่ยอมโต หรือ โตช้า หรือ หากโรคแคงเกอร์ รุนแรง ต้นมะนาวจะตายได้


4 ขาดน้ำรุนแรง เมื่อเราอดน้ำมะนาว หรือ ปล่อยให้มะนาวขาดน้ำนานๆ  มะนาวจะเหี่ยวถาวร และ ยืนต้นตายในที่สุด


5 ปลวก หรือ ด้วง เจาะลำต้น จะทำให้ ลำต้น ขาดน้ำ และ อาหาร ใบจะเหี่ยวและ ตายในที่สุด

6 ให้ปุ๋ยมากเกินไป  ใบไหม้ ให้ ระวัง โดยเฉพาะยูเรีย จะมีพิษได้หาก ให้มากเกินไป



7 ถูกสารกำจัดวัชพืช เช่น ไกลโคเสท หาให้แบบเข้มข้น หากถูก ต้นมะนาวมากๆ มะนาวจะยืนต้นตาย


วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สวัสดี ชาวสวนมะนาว มะกรูด และ สวนส้ม สารเคมีที่คุณใช้อยู่ อันตรายมากไปไหม

ในพืชตระกูลส้ม มะนาว และ มะกรูด จะมี โรคมากมาย ใช่ไหมครับ

โรคจากแบคทีเรีย ที่ สำคัญ ได้แก่ โรคแคงเกอร์ (ใบจุดเหลือง)

ส่วน โรคกรีนนิ่ง ที่ ต้อง ฉีดยาปฏิชีวนะ เข้า ลำต้น ( อเมริกาห้ามใช้ ยาปฏิชีวนะ)



โรคจากเชื้อรา เช่น ราน้ำหมาก และ  แอนแทรกโนส

นอกจากนี้ ยังมีโรค จากไวรัส ที่ไม่มียาแก้ เช่น ทริสเตซ่า ไวรัส ในส้ม

ปัญหาใหญ่ อยู่ที่ ยา พวก คอปเปอร์ ที่ ทำมาจาก ทองแดง

ทองแดง เป็น โลหะหนัก มี พิษ ต่อมนุษย์ และ สัตว์น้ำ



เคย มีรายงานว่า มีเกษตรกร เสียชีวิต จากการใช้ ทองแดง

ผม เภสัชเอก จึงพัฒนา ยาขึ้นมาใหม่ ที่ สามารถ ฆ่าแบคทีเรีย

เชื้อรา  และ ไวรัสได้เกือบ ทุกชนิด โดย เลียนแบบ สารที่ให้กรด



ในร่างกายคนเรา จะ สร้างกรดเกลือ ในกระเพาะอาหาร มาช่วย

ในการย่อยโปรตีน  และ ฆ่าเชื้อโรคหลายๆ ชนิด ที่ บนมากับอาหาร

กรดเกลือ ให้  โมเลกุล ของ คลอริก แอซิด ที่ สามารถ ฆ่าเชื้อโรคได้



ไวรัส แบคทีเรีย และ เชื้อรา จะตาย เกือบ 100 % เมื่อเจอ คลอริกแอซิด

เมื่อมากกว่า 100 ปี ที่แล้ว ยุโรป ใช้ คลอริดแอซิด ใส่ น้ำดื่มเพื่อฆ่าเชื้อโรค

ปัจจุบัน ยังมีการใช้ สารกลุ่ม คลอริก แอซิก ใน กว่า 150 ประเทศ ทั่วโลก



ในการฆ่าเชื้อ ในน้ำดื่ม แน่นอน มันปลอดภัย และเวลา 100 ปี พิสูจน์แล้ว

ทำไม เราต้อง ทำอะไร โง่ๆ ด้วยการใช้ ทองแดง ที่มีพิษมาฆ่าเชื้อด้วย

คนเราต้อง กล้าคิดแตกต่าง ครับ จริงอยู่ เมื่อ 50 ปีก่อน คลอริก แอซิด



มีราคาแพงมากเมื่อ เทียบกับทองแดง แต่เพลานี้ ราคาเท่ากันแล้ว

ทำไมเราจะใช้ สารเคมีที่มีพิษ มากกว่า ล่ะครับ ดังนั้น เภสัชกร

อย่างผม จึงเป็น แกะดำ คิดต่าง ใช้ คลอริก แอซิด แทน ทองแดง

ผมทดลองแล้ว ใน โรคแคงเกอร์ กรีนนิ่ง ราน้ำหมาก ไวรัสวงแหวนใน มะละกอ

ยา Super C ที่เป็น สารเคมี กลุ่ม คลอริก แอซิด (chloric acid) มาใช้ดีกว่า

เพราะ มัน ห่าเชื้อ ได้ ดีกว่า แรงกว่า ปลอดภัยกว่าเยอะ



คุณจะเลือก คอปเปอร์ ทองแดง โลหะพิษ หรือ เลือก Super C ที่ผสมน้ำดื่มได้

และ ขอย้ำ อีก ครั้ง คลอริก แอซิด (chloric acid)  คนเราต้องกินมันทุกวัน อยู่แล้ว


{\displaystyle \mathrm {HCl\ +\ H_{2}O\ \longrightarrow \ H_{3}O^{+}\ +\ Cl^{-}} }


เพราะ กระเพาะอาหาร สร้างมันทุกๆ วัน วันละ 3 ครั้ง

เลือก สิ่งที่ดีให้ ตัวคุณเอง เถอะครับ  ผมแน่ใจว่า คุณเลือกถูกต้อง




วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โรคแคงเกอร์ เอาอยู่ โดยไม่ใช้สารเคมี แค่ Killer B คิลเลอร์ บี พอ

อย่าเอาร่างกายของเราไปเสี่ยง กับพิษจากโลหะหนัก อย่างทองแดงอีกเลย

โรคแคงเกอร์ ในมะนาว มะกรูด ส้ม และ ส้มโอ อาจจะดูร้ายกาจ รักษายากมาก

ในการคุมโรคแคงเกอร์ ในชาวสวน ต้องใช้ พวกโลหะหนักพิษ แบบ คอปเปอร์



ณ วันนี้ เรามี ทางเลือกแล้ว คือ ใช้ Killer B คิลเลอร์บี แบคทีเรียที่ตั้งใจ  สกัด

จากขนมถั่วเน่า ของภาคเหนือ ให้แบคทีเรีย มีประโยชน์ มากมาย โดย ที่พบว่า

แบคทีเรีย ใน  Killer B คิลเลอร์บี  นั้น สามารถ


  1. ช่วยป้องกัน และ รักษา โรคแคงเกอร์ ในพืชตระกูลส้ม
  2. ช่วยป้องกัน และ รักษา รากเน่า โคนเน่า ยางไหล ใน ไม้ผล
  3. ช่วยป้องกัน และ รักษา โรคกุ้งแห้ง แอนแทรกโนส ใน พริก
  4. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุได้ดีมาก 

รอยโรคแคงเกอร์



การผสมใช้งาน Killer B


การป้องกันโรคแคงเกอร์

  1. ตัดแต่ง กิ่งใบไม่ให้แน่น ทึบ โปร่งแสงแดด ส่องได้ ปีละ 2 ครั้ง
  2. พ่น คิลเลอร์บี  ให้ทั่วสวน เพื่อป้องกันโรคแคงเกอร์ ทุก 2-3 เดือน
  3. กระตุ้น ภูมิต้านทาน โดยใส่ ไตรโครเดอร์ม่า ทุก 5 เดือน

      ** ในการหักให้ได้ผลดี ควรหมัก     คิลเลอร์บี  นาน ประมาณ 5-7 วัน**




โอนเงิน มาที่ บัญชี กรุงไทยออมทรัพย์ นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เลขบัญชี 434-119-3414  



วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความผิดพลาดที่สำคัญ ในการใช้ยาฆ่าแมลง ใน สวนมะนาว

สำหรับ การใช้ยาฆ่าแมลง ในการปลูกมะนาว หรือ พืชอื่นๆ  นั้น มีหลายมุมมอง

บางคนก็กลัวอันตราย  ต่างๆ นานา จากยาฆ่าแมลง โดยเฉพาะ ผู้บริโภค และ สื่อ

สำหรับ เกษตรกรหลาย ก็จัดหนักไปเลย เพราะ กลัวไปมาก ว่า ยาจะ  ฆ่าแมลงไม่ตาย

แต่อย่างไรก็ตาม สรุป ความผิดพลาดที่สำคัญในการใช้ ยาฆ่าแมลง มีดังต่อไปนี้



1 ผสมยาฆ่าแมลง แบบกะเอา ไม่ตวงวัดปริมาณ หรือ ใส่เยอะๆ กว่าปริมาณที่ระบุในฉลาก
ตรงนี้ สำคัญมาก เพราะหากใส่ยาฆ่าแมลงเยอะเกินไป  สิ้นเปลืองเงินทอง  และยังทำให้ หนอน แมลงดื้อยาอีก ต่างหาก เรียกว่า ส่งผลเสียมากจริงๆ นอกจากนี้ การใช้ยาฆ่าแมลงมากเกินไป ทำให้ มีสารพิษตกค้างในผักผลไม้อีกด้วย  ซึ่งส่งผลเสียรุนแรงต่อผู้บริโภคได้


2 ให้สวมหน้ากาก ถุงมือ แว่นตา หมวก เวลาฉีดพ่นยาฆ่าแมลง เพราะว่า ความปลอดภัย ของเกษตรกร เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก ในแต่ละปี มีเกษตรกร จำนวนมาก ที่ได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลง จนถึงขั้นเสียชีวิต  การใส่ ถุงมือ แว่นตา  หมวก และ หน้ากากกันสารเคมี มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการทำให้เกษตรกรปลอดภัย นอกจากนี้ การอาบน้ำสระผม หลังฉีดพ่นยาฆ่าแมลงจะช่วยลดการได้รับพิษได้ดีมาก



3 ใช้ยาฆ่าแมลงตัวเดียวซ้ำๆ วนไปวนมา เช่น เกษตรกรจำนวนมาก ทำกันจะถูกใช้ ยาฆ่าแมลงตัวไหนก็ใช้ แต่ยาตัวนั้น ชนิดเดียว ซึ่งการทำแบบนี้ ส่งผล ให้หนอน แมลงดื้อยา อย่างรวดเร็ว เราจำเป็นต้อง เพิ่มปริมาณ ยาฆ่าแมลงไปเรื่อยๆ จึงได้ผล     ทางเลือกที่ฉลาดกว่า คือ การใช้ยาฆ่าแมลง อย่างน้อย สามชนิด สลับไปๆ มาๆ ในการฉีดพ่น ทำให้ หนอน แมลง ตายเรียบ ไม่มีโอกาสดื้อยาได้นั่นเอง


4 ใช้ยาฆ่าแมลงร่วมกันหลายชนิดโดยไม่จำเป็น ปกติ การใช้ยาฆ่าแมลง สลับกัน ไปหลายชนิด ก็สามารถ ฆ่า หนอน แมลงได้ดี อยู่ แล้ว แต่เกษตรกร หลายราย กลัวแมลงไม่ตาย จะใช้ยาฆ่าแมลงหลายชนิด ผสมกัน ซึ่งผลเสีย ทำให้ สิ้นเปลืองเงินทอง และบางที การผสมยาฆ่าแมลงหลายชนิด ก็อาจไม่ได้ผลดีขึ้น เลยก็ได้  หากจำเป็นที่จะใช้ ยาฆ่าแมลงสองชนิดผสมกัน ก่อนอื่น ต้องดู ความเข้ากัน ของยาสองชนิด  และ สุดท้าย ยังต้องเลือกยาฆ่าแมลง ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันอีกด้วย การผสม ยาฆ่าแมลงสองชนิด จึงจะได้ผลดี





5 ใช้ยาฆ่าแมลงที่เก่าเก็บอายุเกิน 3 ปี เพราะเมืองไทยอากาศร้อน ทำให้ยาฆ่าแมลงที่เก็บไว้นานๆ เสื่อมคุณภาพลง     ดังนั้นเวลาซื้อ ยาฆ่าแมลงทุกครั้ง ต้องอ่านฉลากดูวันผลิตก่อนซื้อ เลือกยาฆ่าแมลงที่ผลิตมาใหม่ อายุ ประมาณ ไม่เกิน สองปีได้จะดีมาก  เพราะตัวอยายังไม่เสื่อมสลาย จะได้ผลดีกว่า ในการห่าหนอนแมลง



โปรดติดตาม ตอน ต่อไป  ได้
6 ไม่ยอมใช้วิธีปลอดสารพิษเข้ามาผสมผสานในการควบคุมแมลง
7 ศึกษา หาความรู้เพิ่มเลย ฟังคนอื่นบอกต่อเพียงอย่างเดียว
8 ไม่เข้าใจการใช้ยาร้อน หรือ ยาที่เข้าน้ำมัน
9 พ่นยาฆ่าแมลงมากมายจนเปียกโชก ไหลนอง
10 ทิ้ง ภาชนะใส่ยาฆ่าแมลง โดยไม่สนสิ่งแวดล้อม



วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทำไม ผมจึงสร้าง Killer B ออกมา

หลายคนในนี้  คงรู้แล้วว่า Killer B คือ ยากำจัดโรคพืช ที่ไม่ใช่สารเคมี 100%

Killer B มันสกัด มาจากแบคทีเรีย ใน ขนมถั่วเน่า ที่ผมไปหามาจาก เชียงใหม่

โรคแคงเกอร์ที่ใบ


แน่นอน ว่า การกำจัดโรคแคงเกอร์  และ รากเน่า โคนเน่า นั้น Killer B เอาอยู่

ผมมีเรื่องเล่า ว่า เมื่อกว่า สิบปีที่แล้ว ( 2549)  ผมปลูกมะนาว ไว้ประมาณ 2 ไร่

ผมเอง ก็โดน โรคแคงเกอร์เล่นงาน ในมะนาวแป้นรำไพ และ แป้นพิจิตร ของผม

แคงเกอร์ที่กิ่ง


ตัวผมเอง ได้หายามาปราบ โดยเริ่มจาก ยา ฟังกู*** แต่โรคแคงเกอร์ ไม่หาย

แถมผมกับลูกน้อง ก็ยังแพ้ โลหะทองแดง ใน ยา ฟังกู*** อีกต่างหาก ต่อมาผม

ก็หาซื้อยา แคงเกอร์เอ็กซ์ ซึ่งหาซื้อยากมาก แต่โรคแคงเกอร์ แม้ว่าจะดีขึ้นชัด

แต่อย่างไร ก็ตาม โรคแคงเกอร์ ก็ไม่หาย ผมจึงตัดสินใจเด็ดขาดว่า ผมเองจะ

มุ่งมั่น วิจัยยารักษาโรคแคงเกอร์ ออกมา เป็นยาที่ปลอดภัย ต่อมนุษย์มากพอ

และยานั้น จะต้องได้ผลดีเยี่ยม ในการปราบโรคแคงเกอร์ และในเวลานาน 2 ปี



ปี พ.ศ. 2557 ผมได้ พัฒนายา Killer B ออกมาได้สำเร็จ ที่ผมให้ชื่อว่า Killer B

เพราะยานี้ เป็นแบคทีเรีย สายพันธุ์นักฆ่า โดย Killer B มันฆ่าแบคทีเรีย เชื้อราที่

ก่อโรคหลายชนิด และมัน เป็น แบคทีเรีย สกุล บาซิลลัส Bacillus มันจึงถูกตั้งชื่อว่า
เชื้อแบคทีเรีย Killer B



นักฆ่าสายพันธุ์ บาซิลลัส หรือ Killer B นั่นเอง ผมมีความฝันต่อไป ว่า ยาตัวนี้นั้น

จะสามารถเปลี่ยแปลง ประวัติศาสตร์ ประเทศไทยได้โดย Killer B จะเป็นเครื่องมือ

ชั้นดี ในการปราบโรคแคงเกอร์ ออกจาก สวนมะนาว มะกรูด ส้ม และ ส้มโอ ออกไป

ทั้งหมด ยา Killer B ปลอดภัยมาก เพราะ สกัดมาจากขนมถั่วเน่า ที่คนกินมันลงไปได้

สินค้าในตำนาน Killer B


มันโคตรจะปลอดภัย การพ่นยา Killer B นั้น ถุงมือ และ หน้ากาก ไม่มีความจำเป็นเลย

และเห็นแก่พระเจ้าเถอะ ยาตัวนี้ มันได้ผลดีเยี่ยม ในโรคแคงเกอร์ และ รากเน่าโคนเน่า

เจ้า Killer B มันออกฤทธิ์ แรง และ ยาวนาน และแน่นอน มันได้ผลดี ไม่ด้อยกว่าสารเคมี

พวก กลุ่มคอปเปอร์ หรือ ฟังกู** ด้วยซ้ำไป และสรุปสุดท้าย ก็คือว่า ผมมีความฝัน


                        ผมมีความฝันไปว่า 


ผลผลิตมะนาว ส้ม มะกรูดของไทย จะปลอดแคงเกอร์ 100%


ชาวไร่ ชาวสวน จะสามารถใช้ Killer B ที่ปลอดภัยมากกว่า


และ Killer B ราคาประหยัดมากกว่า 50% และ ที่สำคัญมากก็คือ


Killer B มันได้ผลดีกว่า มากมาย ชนะสารเคมี ในท้องตลาดทั่วไป


                ผมมีความฝันที่ยิ่งใหญ่มาก ครับ 


วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ใบมะนาวหงิก งอ ดูอุจาดตา แก้ไขแบบนี้

ใบมะนาวหงิกงอ  ทำความชอกช้ำระทมใจ ให้ชาวสวนมะนาว เป็นอย่างมาก


เพราะทำให้ ใบเสียหาย   น่าเกลียดไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มที่


ใบหงิกงอ จาก เพลี้ย หนอน


ก่อนอื่น ชาวสวนมะนาวต้องรู้ก่อน ว่า ใบหงิกงอ มักเกิด จากเพลี้ยนานาชนิด

ที่เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้ใบเสียหาย  ส่วนน้อยใบหงิกๆ งอๆ จะเกิดจากหนอน


โดยเฉพาะหนอนชอนใบ จะชอบชอนไชใบอ่อน โจมตีมากๆ ทำให้ใบม้วนงอ

รอย หนอนชอนใบ



พวกเพลี้ย หรือ หนอน มักจะโจมตีใบมะนาว ช่วงแตกยอดอ่อน ออกมาใหม่ๆ


จึงเป็นที่มาของ สูตร  1-4-7 ของ ท่านอาจารย์รวี อันโด่งดังนั่นเอง  ส่วนผม


เภสัชเอก ทำงานราชการ เวลาว่างน้อย จึงใช้ สูตร 1-4-8 อ่านเพิ่ม คลิก  จะทำงานสะดวกกว่า


ฟิโพรนิล


การป้องกันใบมะนาวหงิกงอ

ใช้สูตร 1-4-8 นั่นก็คือ พ่นยาฆ่าแมลงตัวแรกทันทีที่แตกยอดอ่อน โดยพ่นวันแรกนับเป็น 1

อิมิดาคลอพริด


อีก สามวันถัดไป ให้ พ่นยาฆ่าแมลงอีกตัวหนึ่งที่ไม่ซ้ำกัน  1 ครั้ง โดยเรานับเป็นวันที่ 4

ต่อมาอีก 4 วัน ให้พ่นยาฆ่าแมลงชนิดที่ 3 โดยจะนับเป็นวันที่ 8 ในสูตร 1-4-8 ของผมนั่นเอง


ยาฆ่าแมลงที่แนะนำมี 4 ชนิด 

  1. อิมิดาโคลพริด
  2. ฟิโพรนิล
  3. เซพวิน 85
  4. อะบาเม็กติน

อะบาเม็กติน




วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทางแก้ ทางรอดเมื่อ มะนาวถูกกดราคา

หลายปีนี้ มะนาวราคาผิดปกติ มา ราคาต่ำเตี้ยมากๆ จนใจหาย

สามเดือนนี้ ธันวาคม 2559 และ มกราคม 2560 ราคาต่ำมากๆ

ต่ำในรอบ ห้าปี  ชาวสวนมะนาว โดนกดราคา จากขาใหญ่ในตลาด




ไม่ว่าจะ เป็น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท มี ขาดใหญ่คุมอยู่

เนื่องจาก ชาวสวนมะนาว ไม่มีการรวมตัวกัน ต่างคนต่างอยู่ไปวันๆ

คุณภาพมะนาวไทย ดีเลวยากจำแนก ดังนั้นมะนาวส่วนมาก อืม.....

มะนาวไม่มียี่ห้อ เหมือนส้ม หรือ แอปเปิ้ล เรียกว่า มะนาวโนเนม




ทางแก้ก็คือ สวนมะนาวของเราต้องมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในจังหวัด

คุณภาพมะนาวต้องดีเยี่ยม แตกต่างโดดเด่น   ปลอดภัย น่าไว้ใจ

สวนมะนาวต้อง มีลูกค้าประจำ ร้านอาหาร โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ต่างๆ

และมี แผงขายมะนาว ของตนเองบ้าง บริเวณ  ริมทางถนน ใกล้สวน

หรือ เปิดแผงขายมะนาวที่ตลาด โดยเฉพาะตลาดนัด ตลาดสด ต่างๆ




มีการทำ  กิจกรรมCSR บริจาคผลมะนาว กิ่งพันธุ์มะนาว ให้ โรงเรียน

หรือ บริจาค โรงพยาบาล  สถานสงเคราะห์  มีเสื้อทีม โลโก้ สติกเกอร์ เป็นต้น

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ปลอดภัย และ ได้ผล เคล็ดวิชา Twin effect ในการปลูกพืช ทุกชนิด

ใช่แล้วครับ หากเราทำทุกอย่าง ในการดูแลสวนมะนาว


ไม่ว่าจะเป็นการพ่นยาฆ่าแมลง  การใส่ปุ๋ย ฮอร์โมนต่างๆ


ให้ตายสิ มันปลอดภัย และได้ผล นี่สิมันสุดยอดเลย ครับ


ลึกๆ แล้ว เวลาเราใช้ยาฆ่าแมลง เรากลัว มันจะปลอดภัยต่อเราไหม


หรือแม้ แต่ คิดไปว่า ยาฆ่าแมลงมันจะ ได้ผลไหม มันกล้ว



เป็นความกลัวทั้งสองด้าน แต่หากเรารู้วิธีการจริงๆว่าแบบไหน


มันปลอดภัย และ ได้ผลดี จนมีความเชื่อมั่นในการลงมือทำจริงๆ


เมื่อถึงตอนนั้น คุณจะรู้สึกแตกต่างออกไป ผลลัพธ์ในการทำ


สวนมะนาวจะต่างออกไป กิ่งใบจะสวยงาม ดอกผลจะดก


ผลมะนาวจะสวยงามสั่งได้เลยว่า จะออกขายเดือนไหน


สั่งได้เหมือนสั่งก๊วยเตี๋ยว  มาเปลี่ยนแปลงกันเถอะครับมาใช้






เคล็ดวิชา Twin effect กันเถอะ ปลอดภัย และ ได้ผล ลุยเลยครับ


เริ่มเลย พ่นยาฆ่าแมลงแบบปลอดภัย ทำยังไงน่ะ


แล้ว ทำแบบได้ผล ทำแบบไหน เอาแบบ ชัวร์ๆ น่ะ