วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุปขั้นตอนการทำมะนาวนอกฤดูด้วยวิธีพ่นสาร PBZ

สรุปขั้นตอนการทำมะนาวนอกฤดูด้วยวิธีพ่นสาร PBZ

การทำมะนาวนอกฤดูด้วยวิธีพ่นสารพาโคลบิวทราโซล (Paclobutrazol; PBZ) ตามแนวทางของท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี แห่งศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิธีการที่ผมใช้มาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา และมั่นใจว่าเป็นวิธีการที่ได้ผลและสามารถตอบโจทย์การทำมะนาวนอกฤดูได้เป็นอย่างดี
ห้วงการทำนอกฤดูนับจากวันที่เล็มยอดหรือตัดยอดไปจนถึงเก็บเกี่ยวจะกินเวลาประมาณ 8 เดือน หรือ 240 วัน ซึ่งสามารถแบ่งการปฏิบัติที่สำคัญอย่างคร่าวๆในแต่ละช่วงได้ดังนี้
ช่วงที่ 1 เลี้ยงยอด (30 วัน)
1.รักษายอดอ่อนด้วยสูตร 1-4-7 ยอดชุดนี้สำคัญมากเพราะเราจะใช้ในการสังเคราะห์แสงสร้างอาหารอย่างน้อยก็ตลอดช่วงการทำนอกฤดู (หากจำเป็นอาจเพิ่มความเข้มข้นในการรักษายอดอ่อนเป็น 1-4-7-10 ก็ได้)
2.ให้ปุ๋ยสูตรโยกหน้าทั้งทางดินและทางใบ
3.วันที่ 15 หลังเล็มยอด ฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล ที่ความเข้มข้น 400 ppm ครั้งที่ 1
ช่วงที่ 2 สะสมอาหาร (60 วัน)
4.ปรับสูตรปุ๋ยทั้งทางดินและทางใบมาเป็นสูตรโยกหลัง
5.วันที่ 60 หลังเล็มยอด ฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล ความเข้มข้น 400 ppm ครั้งที่ 2
6.งดน้ำ (ประมาณวันที่ 60-75 หลังเล็มยอด ขึ้นอยู่กับวัสดุปลูก)
7.ขึ้นน้ำโดยให้น้ำอย่างเต็มที่หลังจากงดน้ำจนใบสลด
8.ประมาณวันที่ 80-85 หลังเล็มยอด ฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรท (13-0-46) ความเข้มข้น 5,000 ppm เพื่อทำลายการพักตัวของตาดอก
ช่วงที่ 3 ออกดอก (15 วัน)
1.เริ่มรักษาดอกด้วยสูตร 1-4-7 ทันทีเมื่อตาดอกเริ่มผลิออกมาให้เห็น
2.ช่วงนี้ยังคงให้ปุ๋ยสูตรโยกหลังทั้งทางดินและทางใบ
3.ฉีดพ่นแคลเซียมโบรอนในระยะดอกตูมเพื่อส่งเสริมการผสมเกสร
4.ระยะกลีบดอกโรย-ผลอ่อนเท่าหัวไม้ขีด ให้เริ่มรักษาผลอ่อนด้วยสูตร 1-4-7 ทันที
5. ฉีดพ่น NAA ความเข้มข้น 10-20 ppm เน้นไปที่ขั้วผลเพื่อช่วยให้ขั้วผลเหนียวขึ้น ลดการหลุดร่วง
6.โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญช่วงออกดอกได้แก่ รากเน่าโคนเน่า ราดำ เพลี้ยแป้ง หนอนเจาะดอก
ช่วงที่ 4 ติดผล (120-135 วัน)
1.ปรับสูตรปุ๋ยทั้งทางดินและทางใบมาเป็นสูตรโยกหน้าอีกครั้ง+จุลธาตุ พร้อมทั้งเพิ่มปริมาณปุ๋ยที่ให้มากขึ้นกว่าปกติประมาณ 50% หรือมากกว่า หากติดผลดกมาก นับจากนี้เราจะใช้ปุ๋ยโยกหน้าเรื่อยไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยว (หากเป็นมะนาวพันธุ์เปลือกหนา อาจปรับไปใช้สูตรโยกหลังช่วงครึ่งหลังอายุผลจะช่วยให้เปลือกบางลง)
2.ธาตุอาหารที่มะนาวมักแสดงอาการขาดในช่วงติดผลได้แก่ แมกนีเซียม และแคลเซียม
3.จัดการโรคและแมลงศัตรูด้วยสูตร 1-4-7 ไปจนถึงช่วงครึ่งอายุผล (ประมาณ 2 เดือน) โดยเว้นระยะห่างรอบละ 15 วัน
4.โรคและแมลงศัตรูพืชที่เพิ่มเติมเข้ามาในช่วงผลกำลังเจริญเติบโต ได้แก่ รากเน่าโคนเน่า ราดำ เมลาโนส เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยแป้ง มวนเขียวส้ม หนอนเจาะผล
ขั้นตอนการปฏิบัติข้างต้นเป็นเพียงกรอบแนวทางกว้างๆของการทำมะนาวนอกฤดู ยังมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรอีกมากมายที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ เช่น สภาพภูมิอากาศ การจัดการน้ำและธาตุอาหาร เป็นต้น
พึงระลึกว่า มะนาวเหมือนเด็กใบ้ มะนาวแต่ละต้นจะไม่เหมือนกัน แม้กระทั่งการตอบสองในแต่ละกิ่งในต้นเดียวกันก็ยังไม่เหมือนกัน ดังนั้น การปฏิบัติเหมือนกันทุกประการทั้งสวนย่อมไม่มีทางได้ผลกับมะนาวเหมือนกันหรือเท่าเทียมกันทุกต้น
พึงตระหนักว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ ต้นมะนาวที่จะทำนอกฤดูต้องมีความสมบูรณ์พร้อมและความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของมะนาวของผู้ปฏิบัติ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะส่งผลให้การทำมะนาวนอกฤดูประสบผลสำเร็จ
และพึงระลึกไว้เสมอว่า "การทำมะนาวนอกฤดูให้สำเร็จ ไม่มีสูตรสำเร็จ"
จบโหมดอุ่นเครื่องมะนาวนอกฤดูเพียงเท่านี้

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ผมต้องมี สต็อก ของพวกนี้ สำหรับสวนมะนาว

ผมต้องมี สต็อก ของพวกนี้ สำหรับสวนมะนาว

  1. ปุ๋ย 15-15-15 เอาไว้ให้ NPK แก่พืช  เน้น P
  2. ยูเรีย เอาไว้ให้ N แก่พืช
  3. ปุ๋ย 0-0-60 เอาไว้ให้ K แก่พืช
  4. ปูนขาว หรือ โดโลไมท์ ลดความเป็นกรดของดิน
  5. ปุ๋ยทางใบ โยกหน้า เขียว ตรานกเหงือก เร่งการเติบโตกิ่งใบมะนาว
  6. ปุ๋ยทางใบ 0-52-34 กดไม่ให้ ยอดอ่อนแตก เมื่อโดนฝน หลังอดน้ำ
  7. ปุ๋ยทางใบ โพแทสเซ๊ยมไนเตรท (13-0-46) กระตุ้นการแตกยอด
  8. ปุ๋ยทางละลายช้า ออสโม้ 12-25-6 เอาไว้ให้ NPK แก่พืช  เน้น P เสริมธาตุอาหารรอง
  9. ปุ๋ยทางใบ Super K ของโซตัส เอาไว้ให้ NPK แก่พืช  เน้น K + P สริมธาตุอาหารรอง
  10. ปุ๋ยคอกเก่า หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่ม อินทรีย์ วัตถุในดิน 
  11. ผงเชื้อแบคทีเรีย BS กำจัด ป้องกันโรคแคงเกอร์ เชื้อรา 
  12. ผงเชื้อแบคทีเรีย BT กำจัด หนอน 
  13. หัวเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ กำจัดแมลง เพลี้ย
  14. สตาร์เกิ้ล  กำจัด หนอน และ เพลี้ย
  15.  สตาร์เกิ้ลจี กำจัด หนอน และ เพลี้ย
  16. โปรวาโด้ กำจัด หนอน และ เพลี้ย
  17. ปิโตเลี่ยม ออยล์ กำจัด หนอน และ เพลี้ย
  18. ไซเปอร์เมตริน 35% กำจัด หนอน และ เพลี้ย
  19. ผงกำมะถัน กำจัด ไรแดง 
  20. ยาแมทาแล็กซิล กำจัด ป้องกันโรคจาก เชื้อรา 
  21. จิบทรี ยับยั้งการออกดอก และ  ทำให้ผลสุกช้า 
  22. แพคโคบิวทาโซล ยับยั้งการแตกใบอ่อน ใช้บังคับมะนาวนอกฤดู
  23. น้ำยาล้างจาน ช่วยเป็น สารจับใบ
  24. NAA กำจัดดอกผล  หรือ ทำให้ดอกผลไม่ร่วง
  25. IBA เร่งราก  เวลาตอน หรือ ชำ 

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สินค้าจำเป็น สำหรับมะนาวนอกฤดู ปุ๋ย ของโซตัส

ปุ๋ย : นูแทค เอ็กตร้า-พี



ประกอบด้วย :

ไนโตรเจน..........................................................................................0%

ฟอสฟอรัส........................................................................................40%

โพแทสเซียม.....................................................................................22%

คุณสมบัติ :

          นูแทค เอ็กตร้า-พี เป็นปุ๋ยคุณภาพสูง สูตรสเปรย์-ดราย (Spray-dry) สำหรับใช้พ่นทางใบ ที่มีอนุภาคเล็กละเอียด สามารถจับติดใบพืชได้ดี จึงช่วยลดปัญหาการชะล้างของฝน และยังค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พื้ชได้นาน นูแทค เอ็กตร้า-พี ช่วยเตรียมความพร้อมของช่อดอก  เพื่อการออกดอกที่สมบูรณ์ ช่อดอกมีความแข็งแรง ช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อนในไม้ผล เพิ่มเปอร์เซ็นต์การออกดอก และสามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชทั่วไปได้ดี

เหมาะสำหรับ ไม้ผล เช่น มะม่วง  มะนาว  ส้ม  ลำไย  ทุเรียน  ฯลฯ ในทุกช่วงฤดู โดยเฉพาะฤดูฝน

อัตราและวิธีการใช้

          อัตรา  50-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน


ปุ๋ย : นูแทค ซุปเปอร์-เค


ปริมาณธาตุอาหารรับรอง :

ไนโตรเจนทั้งหมด (N)…………………………………….....6%

ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2O5)………………………..12%

โพแทสที่ละลายน้ำ (K2O)………………………………....26%

ปริมาณธาตุอาหารเสริม :

สังกะสี (Zn)……………………………………......……….12%

คุณสมบัติ :

นูแทค ซุปเปอร์-เค เป็นปุ๋ยทางใบคุณภาพสูง ผ่านกระบวนการผลิตแบบสเปรย์-ดราย (Spray-dry Technology) ประกอบด้วยไนโตรเจน 6% ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 12% โพแทสเซียมที่ละลายน้ำ 26% และโพแทสเซียมที่ละลายในกรดอ่อน 7% เสริมด้วยธาตุสังกะสีในปริมาณสูง 12% ด้วยอนุภาคที่เล็กละเอียดขนาด 1-5 ไมครอน ช่วยให้เกาะติดใบพืชได้ดี ลดปัญหาการชะล้างจากฝนและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชได้นาน 10-14 วัน

ประโยชน์ : ช่วยให้พืชสะสมแป้งและน้ำตาลได้ดีขึ้น จึงช่วยเพิ่มการออกดอกและติดผล ลดปัญหาการหลุดร่วง และการพ่นในระยะก่อนเก็บเกี่ยวช่วยเพิ่มความหวาน และคุณภาพผลผลิต

อัตราและวิธีการใช้

ไม้ผล เช่น ส้ม มะม่วง ทุเรียน เงาะ มะนาว ส้มโอ ลำไย ลิ้นจี่ ชมพู่ มังคุด ลองกอง องุ่น ฝรั่ง น้อยหน่า มะยงชิด

อัตราการใช้ :      30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

- สะสมอาหารเพื่อการออกดอก พ่น 2-3 ครั้ง ในระยะใบแก่ หรือก่อนออกดอก 1-2 เดือน

- เพิ่มการติดผล พ่น 1 ครั้ง ในระยะเริ่มติดผล

- เพิ่มความหวานและคุณภาพผลผลิต พ่น 1-2 ครั้ง ในระยะก่อนเก็บเกี่ยว

ผักกินผล เช่น มะเขือเทศ มะเขือต่าง ๆ พริก แตงโม แคนตาลูป แตงกวา แตงต่างๆ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา

อัตราการใช้ :      30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

- ส่งเสริมการออกดอก พ่น 2-3 ครั้ง ในระยะก่อนออกดอก

- เพิ่มการติดผล พ่นทุก 1-2 สัปดาห์
สารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช : เกอมาร์ นาโน



เกอมาร์ นาโน (Goemar Nano)



ปริมาณธาตุอาหารรอง

แมกนีเซียม (MgO)............................3.10%

ปริมาณธาตุอาหารเสริม

โบรอน (B)........................................1.68%

คุณสมบัติ :

เกอมาร์ นาโน  สูตรเปิดตาดอก ช่วยเพิ่มจำนวนดอก ช่วยให้ดอกสมบูรณ์ ส่งเสริมการพัฒนาของระบบราก ฟื้นสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยว และฟื้นสภาพต้นจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี

เหมาะสำหรับ : ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป

อัตราและวิธีการใช้ :

ทุเรียน : เปิดตาดอก อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ในระยะไข่ปลา (เน้นบริเวณท้องกิ่ง)

พืชตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว ส้มโอ : ส่งเสริมการแตกตาดอก อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน หลังขึ้นน้ำ


วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ริดโดมิลโกลด์ เอ็มแซด 68 ดับบลิวจี 

ริดโดมิลโกลด์ เอ็มแซด 68 ดับบลิวจี

สารป้องกันกำจัดเชื้อราประสิทธิภาพสูง ออกฤทธิ์ทั้งดูดซึม เป็นสารผสม มีตัวยา 2 ชนิดรวมกัน

ชื่อสามัญ:

เมทาแลกซิล-เอ็ม+แมนโคเซบ (metalaxyl-M+mancozeb)


ยาฆ่าแมลงสูตรผสม 2 in 1 ชื่อ เอฟโฟเรีย 247



เอฟโฟเรีย 247 สารสูตรผสม ระหว่าง neonicotinoids + pyrethroid สองกลุ่ม
เสริมฤทธิ์กัน กำจัด หนอน และ เพลี้ย ราบคาบ 2 in 1




ราคา 670 บาท ขนาด 500 มิลลิิิลิตตร

http://www.pruksakornkaset.com/product/99/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2-247-%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%94%E0%B8%8B%E0%B8%B5

ไรแดง ใน สวนมะนาว

ไรแดง ใน สวนมะนาว

ไรแดง นั้นเป็นศัตรูที่สำคัญอย่างหนึ่งของมะนาว ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากมะนาวโดยดูดจากใบ ยอดอ่อน มักพบระบาดในฤดูแล้งเมื่อเอามือลูบใบดูจะเห็นว่ามีสีแดงติดมือ ผลมะนาวที่ถูกไรแดงดูดจะมีสีน้ำเงิน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วร่วงไปในที่สุด ใบที่ถูกทำลายจะหงิกงอ

ตัวเต็มวัยของไรแดงมีสีแดงเข้ม มีขนสีขาวออกมาตามปุ่มของลำตัว 20 เส้น ลำตัวเป็นรูปไข่ โค้งนูนเล็กน้อย ตัวแก่มีอายุประมาณ 5-8 วัน

การป้องกันกำจัด

1. พ่นด้วยกำมะถันผง ชนิดละลายน้ำ ในอัตรา 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่นในเวลาเช้าเพื่อป้องกันใบไหม้

2. ฉีดพ่นยากันไรก่อนฝนทิ้งช่วง หรือช่วงที่ตรวจพบมีไรระบาดโดยสารเคมีในกลุ่มไดโคโฟลฉีดพ่น

มีอยู่ 4 ชนิดคือ

1.  ไรแดงแอฟริกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eutetranychus africanus (Tucker) จัดอยู่ในวงศ์ Tetranychidae จะพบทำลายใบผลส้ม

2.  ไรเหลืองส้ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eotetranychus cendanai Rimando อยู่ในวงศ์ Tetranychidae ซึ่งจะพบทำลายใบและผลส้มเช่นเดียวกับไรแดงแอฟริกัน

3.  ไรขาวพริก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polyphagotarsonemus latus (Banks) อยู่ในวงศ์ Tarsonemidae พบทำลายใบอ่อนและผลอ่อน มักพบทำลายค่อนข้างรุนแรงกับส้มโอ

4. ไรสี่ขา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Aceria mangiferae (Sayed) จัดอยู่ในวงศ์ Eriophyidae โดยจะเข้าทำลายตาดอก ตาใบของมะม่วง จึงมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า “บัดไม้ท์” (Bud mite)

ชีวประวัติและอุปนิสัย

ไรแดงชนิดนี้มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า African red mite และมีชื่อสามัญภาษาไทยที่ใช้เรียกกันทั่วไปว่า ไรแดงแอฟริกัน มีรูปร่างดังนี้

เพศเมีย ลำตัวกลมแบนมีสีแดงเข้มหรือน้ำตาลเกือบดำ ขนบนลำตัวด้านหลังสั้นคล้ายกระบอง ขาทั้ง 4 คู่ มีสีเหลืองอ่อน จะอยู่นิ่งกับที่ ความยาวของลำตัวประมาณ 0.3-0.4 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 0.3 มิลลิเมตร
เพศผู้ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ด้านหน้าของลำตัวกว้างและค่อยๆ เรียวแคบเล็กลงทางด้านท้าย ก้นแหลมและขายาวจะเคลื่อนที่ตลอดเวลา ความยาวของลำตัวเฉลี่ย 0.25 มิลลิเมตร และกว้าง 0.17 มิลลิเมตร
การผสมพันธุ์เริ่มเมื่อเพศผู้ได้ลอกคราบแล้วจะเดินไปเรื่อย ๆ เมื่อพบตัวอ่อนระยะที่ 3 พักตัวก็จะหยุดนิ่งและคอยเฝ้า เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเพศผู้จะช่วยดึงคราบจนกระทั่งออกเป็นตัวเต็มวัยเพศเมีย เพศผู้จะเข้าผสมพันธุ์ทันที หลังจากนั้น 1-2 วัน เพศเมียจะวางไข่

วงจรชีวิตของไรแดงแอฟริกันที่เจริญเติบโตบนส้มเขียวหวาน จากระยะไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลานานเฉลี่ย 9.4 วัน เพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ตลอดชั่วอายุขัยเฉลี่ย 12.7 ฟอง และมีชีวิตอยู่ได้นาน 9.8 วัน
สำหรับไรแดงแอฟริกันที่เจริญเติบโตบนทุเรียน  จากระยะไข่เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลานาน 9.1-9.3 วัน โดยมีระยะไข่เฉลี่ย 4.5 วัน ตัวอ่อนมี 3 ระยะ ตัวเต็มวัยเพศเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ประมาณ 7-14 ฟอง โดยลูกที่ฟักออกมาจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะเจริญเป็นไรเพศผู้ทั้งหมด ขณะที่ลูกที่ฟักออกมาจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จะมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย

การแพร่กระจาย และฤดูกาลระบาด

ในแหล่งปลูกส้มทั่วไปพบไรแดงแอฟริกันระบาดปริมาณสูงในฤดูแล้งระหว่างเดือนธันวาคม-พฤษภาคมและในฤดูฝนที่ฝนไม่ตกติดต่อกันเป็นเวลานาน

จากการสำรวจและติดตามการผันแปรประชากรของไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียนที่ จ.จันทบุรี  พบว่าประชากรไรแดงจะเริ่มมีปริมาณสูงในเดือนกันยายน-ตุลาคม  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ  เมื่อผ่านพ้นฤดูฝนในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมไปแล้ว ความชื้นในอากาศจะเริ่มแห้งลง และมีลมหนาวซึ่งพัดกรรโชกมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพบว่า  ทันทีที่ฝนหยุดตกและอากาศแห้งลงเมื่อใด ไรแดงแอฟริกันจะเพิ่มประชากรขึ้นทันทีอย่างรวดเร็ว  จะพบไรแดงสูงที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จากนั้นไรแดงจะค่อย ๆ ลดลง ปริมาณอาจสูงขึ้นอีกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน  ซึ่งแล้งจัด และมีน้อยมาก ในช่วงฤดูฝน  ซึ่งเป็นลักษณะของไรแดงทั่วๆ ไป ที่จะถูกควบคุมประชากรโดยปริมาณน้ำฝน  ดังนั้นการพยากรณ์การระบาดของไรแดงในสวนทุเรียนจึงสามารถดูได้จากปริมาณน้ำฝนช่วงปลายฤดูเป็นหลัก เมื่อใดที่ฝนเริ่มทิ้งช่วง อากาศแห้งแล้งและมีลมพัดแรง  ให้รีบทำการสำรวจไรแดงดังได้กล่าวมาแล้ว และป้องกันกำจัดทันที  ไรชนิดนี้นอกจากพบระบาดในแหล่งปลูกทุเรียน จ.จันทบุรี ยังพบแพร่กระจายในสวนทุเรียน จ.ระยอง ตราด ปราจีนบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี แพร่ และอุตรดิตถ์

พืชอาศัย

พืชอาศัยของไรแดงแอฟริกันมีดังนี้

ไม้ผล เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว มะกรูด ส้มจีน มะละกอ ขนุน สาเก ท้อ มะกอกฝรั่ง เป็นต้น

พืชผัก เช่น ขี้เหล็ก มะรุม ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา แตงโม ตำลึง ผักบุ้ง เป็นต้น

พืชไร่ เช่น ฝ้าย ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ละหุ่ง เป็นต้น

ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ฝ้ายดำ ลั่นทม กุหลาบ บานชื่น ชะบา แคฝรั่ง เป็นต้น

ศัตรูธรรมชาติ

จากการสำรวจศัตรูธรรมชาติของไรแดงแอฟริกัน พบศัตรูธรรมชาติที่สำคัญ 3 จำพวก คือ ไรตัวห้ำ (predaceous mite) แมงมุมและเชื้อรา (Hirsutella thompsoni Fisher) สำหรับไรตัวห้ำที่มีอยู่ในธรรมชาติ  ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Phytoseiidae ในต่างประเทศมีรายงานถึงบทบาทและความสำเร็จในการนำไรตัวห้ำชนิดนี้มาใช้ในการควบคุมไรศัตรูพืชที่สำคัญอย่างกว้างขวาง  ในประเทศไทยได้มีการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพขั้นพื้นฐานของไรตัวห้ำในวงศ์นี้เช่นกันพบว่ามีแนวโน้มสามารถนำไปใช้ในการควบคุมไรแดงแอฟริกันได้ คือ ไรตัวห้ำมีชื่อว่า Amblyseius longispinosus (Evans) เนื่องจากมีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก อายุขัยยืนยาวและเพิ่มประชากรได้รวดเร็ว

การป้องกันกำจัด

การป้องกันกำจัดไรแดงแอฟริกันในสวนส้ม ควรปฏิบัติดังนี้

1.  หมั่นสำรวจแปลงส้มอยู่เป็นประจำทุก 2 สัปดาห์  ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมและในช่วงฤดูฝนที่ฝนทิ้งช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม

2.  เมื่อพบไรแดงเริ่มลงทำลายส้ม  ให้ทำการป้องกันกำจัดโดยวิธีกลด้วยการให้น้ำติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง

3.  เมื่อพบไรแดงระบาดมาก จากการสังเกตเห็นใบเริ่มมีสีเขียวจางลง และเมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายขนาด 10 เท่า จะพบไรแดงดูดกินอยู่ทั่วไปบนใบ ให้ทำการป้องกันกำจัดโดยวิธีการใช้สารเคมี  ด้วยการเลือกพ่นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดไรชนิดใดชนิดหนึ่งดังต่อไปนี้

1)  โปรพาร์ไจท์ (โอไม้ท์ 30℅ ดับบลิว พี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

2)  เฮ็กซีไธอะซอคซ์ (นิสโซรัน 20℅ เอสซี) อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร

3)  อะมีแทรซ (ไมแทค 20℅ อีซี) อัตรา 30 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร

4)   โบรโมโพรพีเลท (นีโอรอน 250 25℅ อีซี) อัตรา 30 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร สารกำจัดไรเหล่านี้ค่อยข้างปลอดภัยต่อตัวห้ำ ตัวเบียน ผึ้ง และผู้ใช้ควรพ่นสารกำจัดไรดังกล่าว สลับกันเพื่อป้องกันไรแดงสร้างความต้านทาน  ถ้าพบว่ายังมีไรแดงระบาดอยู่ ให้พ่นสารกำจัดไรซ้ำอีกครั้งหนึ่ง โดยเว้นระยะห่าง 5 วัน



การป้องกันกำจัดไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียน มีแนวทางดังนี้

1.  กำจัดวัชพืชในสวนทุเรียน ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งหลบซ่อนของไรแดงแอฟริกัน

2.  หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียนหรือบริเวณใกล้เคียง  ถ้าเกษตรกรมีรายได้จากพืชเหล่านั้น เช่น ส้ม มะละกอ หรือพืชตระกูลถั่ว ก็ควรป้องกันกำจัดไรแดงชนิดนี้บนพืชอาศัยนั้นด้วย

3.  หมั่นสำรวจดูไรแดงบนใบทุเรียนเป็นประจำ และควรเน้นหนักในช่วงปลายฤดูฝน(เดือนกันยายน-ตุลาคม)และฤดูแล้ง

4.  สารไรที่มีประสิทธิภาพในการใช้ควบคุมปริมาณไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียน ได้แก่ โปรพาร์ไจท์ (โอไม้ท์ 30℅ ดับบลิว พี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเฮกซี่ไธอะซอคซ์ (นิสโซรัน 20℅ เอสซี) อัตรา 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะมีแทรซ (ไมแทค 20℅ อีซี) อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร การพ่อนสารไรไม่ควรใช้สารชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรมีการสลับชนิดเพื่อป้องกันไรเกิดความต้านทาน เช่นเดียวกับวิธีการใช้สารกำจัดไรป้องกันกำจัดไรแดงแอฟริกันในสวนส้ม