วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

นาโนซิงค์ออกไซต์ แก้โรคแคงเกอร์ ในสวนมะนาว

            ทีมนักวิจัยนาโน ลาดกระบังฯ นำ “นาโนซิงค์ออกไซด์” จำกัด "โรคแคงเกอร์" ปัญหาใหญ่ของเกษตรกรปลูกมะนาว ที่ทำให้มะนาวตกเกรด ทั้งต้นและผลมีจุดสีน้ำตาล ซึ่งเป็นผลจากแบคทีเรีย และยังขยายตัวต่อไปไม่สิ้นสุด แต่ผลจากการฉีดพ่นอนุภาคนาโนผสมน้ำช่วยยับยั้งการกระจายของโรคได้ และได้มะนาวผิวสวยขึ้น



     "โรคแคงเกอร์" เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้พืชผลอย่าง มะนาว มะกรูด และส้มโอ มีรอยแผลเป็นจุดนูนสีน้ำตาลเล็กๆ และล้อมรอบด้วยวงเหลืองอย่างกระจัดกระจาย แต่ตรงกลางเป็นรอยบุ๋ม โดยแบคทีเรียก่อโรคจะระบาดไปยังต้นอื่นเรื่อยๆ ซึ่งเกษตรกรจะแก้ปัญหาด้วยการฉีดพ่นคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์กับคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ แต่สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ทำให้ต้นมะนาวกลายเป็นสีน้ำเงิน และหากใช้มากๆ อาจทำให้มะนาวไม่ติดผลหรือดอกร่วง อีกทั้งยังมีสารตกค้างถึงผู้บริโภค

ทีมวิจัย พร้อม ศ.ดร.จิติ หนูแก้ว คณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง พบว่าซิงค์ออกไซด์ช่วยแก้ปัญหาโรคแคงเกอร์ในมะนาวได้ จึงได้ติดต่อ นางธนภร ธนภัทรเดชา กำนัน ต.วังยาว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เจ้าของสวนมะนาวธนภร ซึ่งปลูกมะนาวพันธุ์แป้นเกษตรประมาณ 60 ไร่ เพื่อเข้าร่วมโครงการวิจัยการยับยั้งเชื้อราฆ่าแบคทีเรียของวิทยาลัย และ ดร.วิรัตน์ยังบอกด้วยว่า เมื่อไปถึงสวนของกำนันธรภรแล้ว พบว่ามะนาวทั้งสวนเป็นสีน้ำเงินจากการใช้คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์

     ผลจากการทดลองใช้ซิงค์ออกไซด์ในส่วนของนางธนภรเป็นเวลา 1 ปี พบว่าโรคแคงเกอร์ไมแพร่ระบาด และทางเจ้าของสวนได้นำต้นมะนาวที่เป็นโรคออกจากสวนทั้งหมดแล้ว ส่วนลูกมะนาวจากต้นที่ไม่เป็นโรคก็มีผิวสวย ลูกโตขึ้น และจำหน่ายได้เต็มราคา เนื่องจากผลมะนาวที่เป็นโรคนั้นจะขายได้ราคาไม่ดี อีกทั้งประหยัดต้นทุนจากลดใช้สารเคมีกำจัดแบคทีเรีย ซึ่งเกษตรกรรายอื่นๆ ที่เห็นความสำเร็จก็หันมาใช้นาโนซิงค์ออกไซด์เพื่อแก้ปัญหาโรคแคงเกอร์บ้าง

     ด้าน ดร.วิรัตน์ เจริญบุญ อธิบายเพิ่มเติมว่า ซิงค์ออกไซด์คือสังกะสีที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน มีลักษณะเป็นผงอนุภาคละเอียดสีขาว และเป็นส่วนประกอบที่นิยมใช้ผลิต “คาลาไมน์” ทาผิวเพื่อแก้อาการผดผื่น โดยคุณสมบัติของอนุภาคดังกล่าว ช่วยยับยั้งเชื้อราที่กัดกินใบพืช และมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย โดยทีมวิจัยได้ใช้ผงนาโนซิงค์ออกไซด์ผสมน้ำเพื่อฉีดพ่นสวนมะนาว ในอัตราส่วน 50 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร สำหรับพื้นที่ 1 ไร่ และฉีดซ้ำทุก 10-15 วัน พบว่าอาการของโรคลดลง
อย่างไรก็ตาม ทางทีมวิจัยกำลังศึกษาผลระยะยาว ว่านาโนซิงค์ออกไซด์จะส่งผลกระทบข้างเคียงอื่นๆ หรือไม่ แต่ขณะพบว่ายังให้ผลในทางบวก และคาดว่าจะนำไปใช้ทดลองกับพืชชนิดอื่นๆ ที่เป็นโรคเชื้อราและแบคทีเรียต่อไป เช่น ยางพารา เป็นต้น





       ธนภรเล่าย้อนอดีตว่า เมื่อ 7 ปีที่แล้วได้รับการชักชวนให้เปลี่ยนจากการทำสวนผักมาทำสวนมะนาว เพื่อให้เกิดกลุ่มเกษตรกรสวนมะนาวในอ.ด่านช้าง จึงตัดสินใจ ลงทุนซื้อกิ่งพันธุ์มะนาวแป้น 220 กิ่ง มูลค่า 5,500 บาท และพลิกดินจากแปลงผักเป็นสวนมะนาวอย่างจริงจัง “ตลอดเวลาปลูกมะนาว ทำไปก็คิดไปว่าจะสำเร็จหรือจะล่มเหมือนสวนผัก อีกทั้งประสบการณ์ก็ไม่มี แถมโรคแคงเกอร์ระบาดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เหมือนการดื้อยา ขนาดที่ว่าแม้จะฉีดยาเพิ่มมากแค่ไหนก็เอาไม่อยู่ เหลือดอกผลไว้ให้ลุ้นในช่วงเก็บเกี่ยวเพียง 20% เท่านั้น”



     ปัจจุบันสวนมะนาวทรัพย์ธนภรหันมาใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ฉีดพ่นแก้ปัญหาโรค แคงเกอร์ ครอบคลุมสวนมะนาวทั้ง 60 ไร่ โดยผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีส่งไปจำหน่ายยังตลาดไทและปากคลองตลาดเป็นลูกค้าหลัก ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมเท่าตัวจากผลิตผลที่มีคุณภาพ และลดค่าใช้จ่ายในส่วนของยากำจัดศัตรูพืช“แต่ก่อนแคงเกอร์รุมเร้าหนักมาก จะใช้ผงเขียวที่เป็นคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์กับคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์สำหรับกำจัดศัตรูพืชฉีดลงมะนาว แต่หลังได้ยินว่ามีโครงการวิจัยแก้โรคแคงเกอร์จึงลองเข้าร่วมดู ครั้งแรกลองฉีดแค่ 4 ไร่ ผลที่ออกมาพบใบที่เป็นแคงเกอร์หยุดลามไปยังใบอื่น และผลัดใบที่มีอาการของโรคทิ้ง อีกทั้งยังเสริมฤทธิ์ยาฆ่าแมลง ตอนนี้เลยใช้หมดทั้งหมด รู้สึกว่ามะนาวที่ได้เป็นมะนาวเกรดเอ ซึ่งยังช่วยประหยัดต้นทุนให้เกษตรกรมากขึ้น ทำให้ได้ราคาหน้าสวนเต็มๆ ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม" นางธนภรบอกแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ระหว่างลงพื้นที่เพื่อสำรวจความสำเร็จของการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์แก้ปัญหาโรคแคงเกอร์




        จากเดิมมีต้นทุนในการดูแลต่อไร่ 100 บาท หลังจากมีการใช้อนุภาคนาโนฯ ทำให้ต้นทุนที่ใช้ลดลง เหลือเพียงไร่ละ 25 บาทเท่านั้น ส่งผลให้สวนของเขามีรายได้ตกเดือน 1 แสนบาท
ก็นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เป็นความหวังของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวในอนาคตได้ หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดที่วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กรุงเทพฯ หรือ โทร.0-2329-8000 ต่อ 3034 หรือศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรด่านช้าง โทร.0-2329-8000 ต่อ 3076


วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ธุรกิจมะนาวนอกฤดู มันดีอย่างไร

มะนาวนอกฤดู มันดีอย่างไร  สำหรับ นายศุภรักษ์ ศุภเอม

  1. ธุรกิจ มีกำไรสูง ROI อาจมากถึง 400% ใน 1 ปี (กำไรต่อไร่อาจสูงถึง 1 ล้านบาท)
  2. การบังคับมะนาวนอกฤดู ทำได้ยาก จึงเป็นข้อดี ในการป้องกันการเกิด Over Supply
  3. งานในสวนมะนาว เป็นงานยาก ไม่ใช่งานหนัก ใช้เวลาทำงานแต่ะวัน ประมาณ 2-3 ชม.
  4. ธุรกิจสวนมะนาว มักเป็นของเกษตรกร ไม่มีบริษัทใหญ่ เข้ามาแข่งขันในตลาด
  5. ตลาดของมะนาว เป็นตลาดในประเทศ ไม่ใช่ตลาดโลก สามารถคาดการณ์ได้ง่าย
  6. การลงทุนสวนมะนาวในเบื้องต้น ไม่สูงจนเกินไป ประมาณ 500000 บาท
  7. สอดคล้องกับความถนัดทางวิชาการด้านเกษตรศาสตร์ ชีวะวิทยา พิษวิทยา และเคมี
  8. การลงทุนในมะนาวได้ผลตอบแทนเร็ว ภายใน 1 ปี
  9. เจ้าของกิจการไม่จำเป็นต้องอยู่สวนตลอดเวลา สามารถมีเวลาว่างไปเที่ยวพักร้อนได้
  10. มีสามารถ ในการทำมะนาวปลอดสารพิษได้ ซึ่งแทบยังไม่มีคู่แข่งด้านนี้เลย

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปุ๋ยสูตรโยกหน้า โยกหลัง ของ ดร.รวี กับมะนาวนอกฤดู

“ปุ๋ยสูตรโยกหน้า” เช่น ปุ๋ยสำเร็จรูปสูตร 21-7-14 ก็ใช้ได้ ปุ๋ยสูตรโยกหน้าจะช่วยเพิ่มความแกร่งให้กับเนื้อไม้ ป้องกันการฉีก หัก ของกิ่ง-ต้นได้ การให้ปุ๋ยไม่ควรทิ้งระยะเกิน 1 เดือน/ครั้ง หากกรณีของสภาพดินที่เป็นดินทรายไม่ควรเกิน 15 วัน/ครั้ง หรืออาจใช้หลักการให้ปุ๋ยแบบ “ให้ทีละน้อย แต่ให้บ่อยๆ” ก็ได้ ขณะที่ “การจัดการศัตรูพืช” แนะนำให้ใช้ ระบบ 1-4-7 โดยเริ่มไปตั้งแต่ช่วงที่พืชมีการผลิ “ใบอ่อน” หรือ “ดอกอ่อน” หรือ “ผลอ่อน” ออกมาได้ขนาดประมาณ 2-3 มม. จังหวะนี้เองที่ ศัตรูพืชอาทิ “เพลี้ยไฟ” จะเริ่มเข้าทำลายรวมทั้ง “หนอนชอนใบ” ก็จะเข้ามาวางไข่ด้วย ให้นับเป็นวันที่ 1 ในการฉีดพ่นยาเพื่อป้องกันกำจัด เช่น อะบาเมกติน แล้วก็เว้นวันที่ 2 วันที่ 3 ไปวันที่ 4 ฉีดซ้ำอีกโดยใช้ยาตัวเดิม จากนั้นก็เว้นวันที่ 5 วันที่ 6 ไปวันที่ 7 ฉีดอีกโดยใช้ อิมิาโคลพริด , ฟิโปรนิล, คลอไพรีฟอสตัวใดตัวหนึ่ง หรือใช้  ไซเปอร์เมทริน เป็นการป้องกันหนอนชอนใบ เพื่อไม่ให้เกิดบาดแผล ซึ่งโรคแคงเกอร์จะเข้าทางบดแผลเท่านั้น ก็จะตัดวงจรของแมลงศัตรูพืชได้พอดี แต่หลังจากนี้ไปแล้วหากพบการระบาดอีกก็ฉีดพ่นยาเพื่อการกำจัดเป็นกรณีๆ ไป หรืออีกวิธีหนึ่งอย่าง



     รศ.ดร. รวี กล่าวว่า หลังจากมีการดูแลต้นมะนาวดังที่กล่าวมาแล้ว อายุต้น 6 เดือน และมีขนาดทรงพุ่มตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป ก็สามารถที่จะเริ่มขั้นตอนการบังคับนอกฤดูเพื่อให้มีผลผลิตได้แล้ว ก็คือประมาณเดือนกรกฎา-สิงหาเริ่มทำการตัดปลายยอด จากนั้นเพื่อกระตุ้นให้สร้าง “ใบอ่อน” ขึ้นมาจะให้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูงหรือ “สูตรโยกหน้า” เรื่อยไปจนถึงคลี่ใบสุด (ประมาณ 22-30 วัน) โดยในระหว่างนี้เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนชุดที่ 2 ขึ้นมาซ้ำซ้อน เพราะมะนาวที่จะบังคับให้ออกดอก-ติดผลได้ต้องมีอายุใบหรือยอดเกิน 90 วันเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าจะต้องพยายามรักษาใบอ่อนชุดแรกให้มีอายุถึง 90 วันให้ได้ ดังนั้นจึงมีการนำสาร “พาโคลบิวทราโซล” เข้ามาช่วยลดการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง, ใบ และยังเปิดโอกาสให้มีการออก “ดอก” เพิ่มมากขึ้น อัตราที่ใช้ 400 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นให้ชุ่มทั่วทั้งต้นหลังจากตัดยอดได้ 15 วัน นับเป็นการใช้สารครั้งที่ 1 แล้วใบอ่อนชุดแรกมีอายุเลย 30 วันไปแล้วจึงเปลี่ยนสูตรปุ๋ยที่ให้เป็นตัวท้าย (K) สูง หรือ “สูตรโยกหลัง” ซึ่งสัดส่วนที่ให้ก็คือ 1 :1 : 3 หรือ 2 :1 : 3 หรือ 3 : 1 : 4 เช่น สูตร 15-5-20 เพื่อช่วยบำรุงให้ออกดอก ในระหว่างนี้พอครบ 60 วันหลังจากที่ตัดยอดก็จะทำการพ่นสารซ้ำอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 2 อาจร่วมกับการงดน้ำด้วย ในกรณีโครงสร้างดินมีลักษณะเป็นทรายจะทำให้การบังคับด้วยการอดน้ำได้ผลดียิ่งขึ้น และจากการที่ปลูกระยะชิดซึ่งมีการควบคุมทรงพุ่มทำให้พุ่มต้นไม่ใหญ่มากตอบสนองต่อการชักนำให้ออกดอกได้ดีกว่าพุ่มต้นที่มีขนาดใหญ่ จากนั้นพอเลย 90 วันไปแล้ว (ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด) มะนาวจะเริ่มติดดอก-ออกผลต่อไป ต้องมีการดูแลให้น้ำ-ให้ปุ๋ยอย่างเพียงพอและคอยควบคุมศัตรูพืชอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะหลังดอกโรยหรืออายุผลมะนาวในช่วง 2 เดือนแรก จะมีความอ่อนแอต่อ “เพลี้ยไฟ” และ “แคงเกอร์” แต่ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา นอกจากนี้ช่วงมะนาวขยายลูกต้องดูแลเรื่องการให้น้ำอย่างเพียงพอ และสูตรปุ๋ยที่ให้ในช่วงนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นสูตร “โยกหน้า” ไปจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยว ซึ่งหากเริ่มทำการบังคับตามรอบที่กล่าวมาจะทำให้มีมะนาวออกมาทันขายในช่วงกุมภา-มีนา-เมษา ได้พอดี


           อย่างไรก็ตาม รศ.ดร. รวี ยังได้กล่าวถึงสาเหตุของการทำมะนาวนอกฤดูแล้วไม่ประสบผลสำเร็จด้วยว่า เป็นเพราะส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจธรรมชาติของต้นมะนาวอย่างดีพอ อาทิ มะนาวจะไม่มีการออกดอกในกิ่งที่มีการติดผลอยู่ ดังนั้นการที่จะให้ต้นมะนาวออกดอกได้ดีตามต้องการจึงจำเป็นต้องกำจัดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นออกทิ้งไปเสียก่อน หรือ หลังจากมีการตัดแต่งกิ่งแล้ว ยอดหรือกิ่งมะนาวที่จะสร้างตาดอกได้ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วันขึ้นไป เป็นต้น โดยนอกจากนี้แล้วการจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต้องผสานร่วมกัน เช่น การจัดการน้ำ (การงดน้ำ), การใช้สารกลุ่มชะลอการเจริญเติบโตพืช (สารพาโคลบิวทราโซล), การปฏิบัติการจัดการทรงพุ่ม (พุ่มต้นที่เล็กกว่าสามารถชักนำการออกดอกเพื่อการผลิตนอกฤดูได้ดีกว่า), โครงสร้างดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายมีการระบายน้ำที่ดีจะมีผลทำให้การชักนำการออกดอกได้ดีกว่า และการจัดการเรื่องปุ๋ยที่มีสัดส่วนของ N-P-K เหมาะสมกับการเจริญเติบโตพืชในแต่ละช่วง โอกาสของความสัมฤทธิ์ผลในการบังคับนอกฤดูย่อมสูงตามไปด้วย

ปัจุบัน ผู้เขียน มี หนังสือเสียง และ อีบุ๊ค สวนมะนาวเงินล้านจำหน่าย 
อยากได้ หนังสือ คู่มือ สวนมะนาว แนว How to ไหม
อยากทำกำไร จาก สวนมะนาวปีละ ล้านทำอย่างไร
พบ คำตอบ ใน ชุด หนังสือ คู่มือชาวสวนมะนาว ฉบับสมบูรณ์


ราคา 390 บาท เท่านั้น  โอนเงิน แล้ว แจ้งที่
โอนเงิน ธนาคารกรุงไทย ออมทรัพย์ ชื่อ ศุภรักษ์ ศุภเอม


เลขบัญชี 434 – 119 -3414