วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โรคแคงเกอร์ การจัดการด้วยแนวคิดใหม่

โรคแคงเกอร์มะนาวเอาอยู่  สูตรเภสัชกรเอก
ศุภรักษ์ ศุภเอม
                    สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน      ผมเภสัชกรเอกจะมาขอนำเสนอแนวทางใหม่ในการจัดการโรคแคงเกอร์ (Citrus Canker) ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่นำความปวดหัวปวดใจมาให้พี่น้องเกษตรกรสวนมะนาว  และสวนส้มอยู่ไม่น้อย  เพราะเจ้าโรคแคงเกอร์นี้มันเป็นโรคที่รักษายาก    แต่ติดต่อง่ายมาก   หากสวนไหนมีต้นมะนาวที่เป็นโรคแคงเกอร์แค่เพียงต้นเดียว ในเวลาอีกไม่นาน   มะนาวเกือบทั้งสวนก็จะพลอยติดโรคแคงเกอร์ ไปด้วย ซึ่งปัจจุบันเรามักใช้ยากลุ่มทองแดง หรือ คอปเปอร์ (Copper) ซึ่งไม่สามารถกำจัดโรคแคงเกอร์ให้หมดไปได้  และสารเคมีพวกคอปเปอร์ ยังมีราคาแพง  และเป็นพิษต่อเกษตรกร และ อันตรายต่อผู้บริโภค อีกต่างหาก   เรียกว่ามันแพง  และเป็นพิษ  แถมยังคุมโรคแคงเกอร์ไม่อยู่อีกด้วย       อ้าว  ลืมแนะนำตัวไป ครับ ผมเภสัชกรเอก  ทำงานเป็นเภสัชกร ในโรงพยาบาลครับ  โดยตัวผมเอง นี่สนใจปลูกมะนาวมานานกว่า 10 ปีแล้ว เพราะแม่ผมซึ่งป่วยเป็นมะเร็ง จำเป็นต้องใช้มะนาวเยอะมาก  วันละ 10 ผลเลยทีเดียว มันจึงทำให้ผมเข้าสู่วงการเป็นเป็นเกษตรกรสวนมะนาวกับเขาด้วยคนครับ  ยังไง ๆ ผมขอฝากเนื้อ ฝากตัวกับผู้อ่านด้วยครับ  ขอยกมือไหว้งามๆ สักครั้งหนึ่งนะครับ


 โรคแคงเกอร์ (Citrus Canker) เป็นโรคที่พบในพืชตระกูลส้มได้แก่ มะนาว ส้มโอ มะกรูด และเลมอน โรคนี้มักพบที่ใบจะมีรอยโรคเป็นจุดสีน้ำตาล  และอาจเกิดแผลที่ใบอาจมีรอยแตกร้าว  นอกจากนี้ อาจพบรอยโรคที่กิ่ง  ก้าน ลำต้น  และผลได้โดยโรคแคงเกอร์นั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่ว่า  Xanthomonas axonopodi. pv citri.  นี่คือชื่อใหม่ล่าสุดครับ ส่วนเชื่อเดิม ของมันก็คือ  Xanthomonas compestris. pv citri.    กล่าวแบบสั้นๆ ก็คือ โรคแคงเกอร์ สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียนั่นเอง





              

ภาพที่ 1 แบคทีเรีย ก่อโรคแคงเกอร์

                 โรคแคงเกอร์ นั้นจะระบาดมากเมื่อมีความชื้นสูง  กระแสลมแรง  และ หนอนชอนใบเข้าทำลายใบมะนาว หรือ ใบส้ม     จะทำให้โรคแคงเกอร์ระบาดมากขึ้นดังนั้น คำแนะนำเดิมๆ จึงจะให้ชาวสวนปลูกพืชแนวเขตเพื่อบังลมเข้าสวนมะนาวเสมอ   และต้องมีการใช้ยาฆ่าแมลงในการป้องกันและกำจัดหนอนชอนใบ (Asian leafminer) โดยเฉพาะเวลามะนาว  หรือส้มแตกยอดใบอ่อนขึ้น    มักจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงในช่วงแตกใบอ่อนเพื่อป้องกันหนอนและแมลง ปัญหาก็คือเกษตรกรส่วนใหญ่มักใช้  สารเคมี ที่มีชื่อว่า abamectin ในการป้องกันหนอนและแมลง ซึ่งมีพิษมากต่อ มนุษย์ ผมเคยไปฉีดพ่น abamectin อยู่หนหนึ่ง พ่นยาครั้งเดียว ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน  ทำให้ต้องลาป่วยไป 3 วันเลยทีเดียว  ต่อมาผมแก้ปัญหาง่ายๆ  โดยจ้างชาวบ้านคนอื่นมาพ่นสารเคมีแทน   ทำให้ผมเองในฐานะเภสัชกร ก็รู้สึกผิดเหมือนกัน  ที่อาจทำให้ผู้อื่นได้รับสารพิษจากการทำสวนมะนาวของผมนั่นเอง




ภาพที่ 2 ใบพืชตระกูลส้มที่ติดโรคแคงเกอร์

                            ผมเองเลย ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาค้นคว้า จากข้อมูลงานวิจัยต่างๆ  ว่าจะสามารถใช้วิธีใดที่ปลอดภัยในการปราบ โรคแคงเกอร์  ผมได้อ่านบทความ ของ ดร.จิระ แจ่มสว่าง  ในหนังสือ การลงทุนสร้างสวนมะนาวเชิงธุรกิจมืออาชีพ พบว่า  เจ้าเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า  และแบคทีเรีย Bacillus Cereus  ผมเองมีความคิดส่วนตัวว่า แบคทีเรียมันโตเร็วกว่าเชื้อรา  ดังนั้นผมจึงสนใจ จะนำเอาแบคทีเรีย บาซิลลัส มาปราบเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคมะนาวให้ได้  แต่เนื่องจากว่า ผมไม่สามารถหาซื้อ เจ้าแบคทีเรีย Bacillus Cereus   มาได้ ผมจึงเลือกใช้ แบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า Bacillus Subtilis มาใช้แทน  เพราะผมค้นคว้า บทความวิชาการในประเทศแล้วพบว่า  เจ้า แบคทีเรียตัวนี้ มันสามารถ ปราบโรครากเน่า โคนเน่าได้ดี และโรคนี้ก็พบในมะนาวด้วย  ประกอบกับ บทความโฆษณาที่น่าสนใจ ของคุณมนตรี บุญจรัส แห่ง ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ บอกว่า เจ้า แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส(Bacillus Subtilis) มันสามารถ ลดการระบาดของโรคแคงเกอร์ในมะนาวได้ดี

                                  ผมจึงได้เริ่มทดลอง  ครั้งแรกกับ มะนาวแป้นดกพิเศษ ลูกรักของผม ติดโรคแคงเกอร์ 3 ต้น ผมจึงใช้ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส ที่ขยายใน นมแลตตาซอย ฟ้า 500 มล. น้ำตาลทราย มาผสมน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตร  เมื่อหมัก ครบ 4 วัน แล้ว แบ่งมาก 100 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 10-20 ลิตร แล้วนำมารดต้นมะนาวที่เป็นโรคแคงเกอร์ ทุก 3 วัน รวม 4 ครั้ง ผลที่ได้ก็คือ จุดต่างๆ ที่ใบมะนาว ที่ติดโรคแคงเกอร์ นั้นหายไปหมด ภายในเวลาไม่ถึงเดือนเท่านั้นเอง  และอีกอย่างหนึ่งก็คือ แบคทีเรียตัวนี้ มันปลอดภัย เพราะชาวภาคเหนือใช้มันในการทำขนมถั่วเน่า  และคนญี่ปุ่น ใช้มันในการทำเต้าหู้ มานานหลายปีแล้ว  แสดงว่า แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส ปลอดภัยมาก  เพราะคนก็ยังกินเจ้าแบคทีเรียพวกนี้ได้ อย่างสบายๆเลย ต่อมากผม นำเอาเจ้าแบคทีเรียตัวนี้ มารักษา มะนาวแป้นรำไพที่เป็นโรคแคงเกอร์  มันก็ได้ผลอีกเช่นเดิม  แล้วผมยังได้ไป ซื้อหามะนาวบ้าน ราคาถูกที่ติดโรคแคงเกอร์  อย่างหนัก  3 ต้น ผมก็ใช้สูตเดิมอีกคือ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส +น้ำตาลทราย + นมแลตตาซอย หมักไว้ 48 ชั่วโมง และผสมน้ำ 10 ลิตร นำไปรดใบและโคนต้นมะนาวในตอนเย็น ทุกๆ 3 วัน รวม 4 ครั้ง ซึ่งก็น่าพอใจมาก เจ้าโรคแคงเกอร์หายสนิท ใบมะนาวที่ออกใหม่ มันสวย มันเขียว มันเนียนมาก  ไม่พบโรคแคงเกอร์อีกเลยครับท่าน

การกำจัดหนอนชอนใบ
                   หนอนชอนใบ (Asian leafminer) นั้นจะเข้าไปทำลายใบมะนาวอ่อนที่เกิดใหม่ นั้น ทำให้ใบมะนาวมีแผล  และแบคทีเรียก่อโรคแคงเกอร์ Xanthomonas axonopodi. pv citri. ก็จะเริ่ม ระบาดทันที แค่ใบมะนาวมีแผล และมีความชื้นสูงพอ  การระบาดของโรคแคงเกอร์ จะรุกลามอย่างรวดเร็ว
ภาพที่ 3 แสดงภาพหนอนชอนใบ
 โดยเฉพาะมะนาวแป้นรำไพ  และมะนาวแป้นพวง  จะอ่อนแอต่อโรคแคงเกอร์มาก  ซึ่งแต่เดิม การใช้สารเคมีเพื่อจัดการหนอนชอนใบ มักใช้ อะบาแม็กซิน (abamectin)  หรือ สารเคมีกลุ่ม คาร์บาริล ซึ่งมีความเป็นพิษต่อมนุษย์สูง  ผมจึงค้นคว้าแล้วพบว่า  สารเคมีที่ กำจัดแมลงศัตรูพืชที่ค่อนข้างปลอดภัย และมีพิษต่ำก็คือ  Dinotefuran  ใช้กำจัดหนอน และเพลี๊ยะต่างๆ ส่วน White Mineral Oil ที่มีพิษต่ำมาก(สามารถใช้ในสวนเกษตรอินทรีย์ได้)   กำจัด หนอน แมลง เพลี๊ยะ และไร สารเคมีทั้ง 2 ชนิด สามารถ ได้อย่างปลอดภัย หากใช้อย่างถูกวิธีจะ ไม่มีพิษตกค้างแก่ร่างกายเกษตรกรแม้แต่น้อย  ซึ่งข้อมูลพวกนี้ ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม จากความรู้ด้านพิษวิทยา  ที่ได้เล่าเรียนมาสมัยเป็นนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ นั่นเอง

เหตุผลที่ บาซิลลัส ซับทิลิสใช้ได้ผลดีใน โรคแคงเกอร์


          ทำไมแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส จึงสามารถ กำราบโรคแคงเกอร์ จากการค้นคว้า โดยดูจากงานวิจัยที่ ผ่านมา ผมพบว่า ใน ปี คศ. 1996 ที่ประเทศอินเดีย ได้มีงานวิจัยโดยการนำแบคทีเรีย และเชื้อราหลายชนิดมาจัดการเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคแคงเกอร์ โดยการทดสอบในห้องทดลอง  พบว่า แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส ได้ผลดีที่สุดรองลงมาได้แก่ Pseudomonas fluorescens , Aspergillus terreus ตามลำดับ   


ภาพที่ 4 ตารางแสดงความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรีย ก่อโรคแคงเกอร์

            นอกจากนี้ ในปี คศ.2012 ประเทศไต้หวัน ยังมีการตีพิมพ์งานวิจัยในการทดลอง นับแบคทีเรีย บาซิลลัส หลายสายพันธุ์ในการยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคแคงเกอร์  โดยพบว่า Bacillus subtilis สายพันธุ์ TKS1-1 และ  Bacillus amyloliquefaciens สายพันธุ์  WG6-14 สามารถยับยั้งแบคทีเรีย  Xanthomonas axonopodi. pv citri. ที่ก่อโรคแคงเกอร์ได้ดีมาก

บทสรุปการจัดการ โรคแคงเกอร์ ขั้นเทพ แบบเภสัชกรเอก
           ให้ใช้ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส  ที่จัดเตรียมและขยายเชื้อแล้ว พ่นใส่ใบมะนาวที่เป็นโรค  ทุก 3 วัน  รวม 4 ครั้ง  และพ่นซ้ำเพื่อ ป้องกันการเกิดโรคแคงเกอร์ซ้ำ  นอกจากนี้ ยังควรลดโคนต้นมะนาวด้วยเชื้อ บาซิลลัส ซับทิลิส ด้วย อย่างน้อย 3 ครั้งต่อปี


ภาพที่ 5 ผลการทดลองรักษา โรคแคงเกอร์ ในมะนาวพื้นเมือง ด้วย บาซิลลัส ซับทิลิส


ข้อดีของการใช้ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis)
·     ประหยัด  เพราะ หัวเชื้อ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส ราคาถูกมาก (กิโลกรัมละ ไม่เกิน 500 บาท)  โดยแต่ละครั้งใช้หัวเชื้อแค่  5 กรัมเท่านั้น
·     ปลอดภัย เพราะ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส ไม่มีพิษเหมือน สารกลุ่มคอปเปอร์ ต่างๆแบคทีเรียนี้ สามารถนำมาทำอาหารได้ ในถั่วเหม็น ของคนภาคเหนือ  และเต้าหู้ ของคนญี่ปุ่น
·     ประสิทธิภาพสูง  เนื่องจาก แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส เป็นแบคทีเรีย ที่เติบโตได้ดี ในอากาศอบอุ่น  ถึงอากาศร้อน และ เป็นแบคเรีย ชนิดสร้างสปอร์ได้  จึงทำให้มันตายยาก อยู่ในดินได้นานกว่า 10 ปี แตกต่างจากยาปฎิชีวนะ หรือ สารเคมีที่ต้องให้เรื่อยๆ  ไป ใช้แล้วหมดไป  ต้องเสียเงินซื้อสารเคมีมาใช้บ่อยๆ  ส่วน การใช้ แบคทีเรีย ชนิดนี้ เมื่อมันมีมากพอแล้ว มันจะยึดครองมะนาวต้นนั้นกลายเป็นแบคทีเรียประจำถิ่น  และดินบริเวณใกล้เคียง ต่อไปอีกนานแสนนานเลยทีเดียว

การเตรียมสารเพาะเชื้อ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส
ส่วนผสม
·     หัวเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis)  ขนิดผง 1 ช้อนชา  
·      แลคตาซอย กล่องฟ้า 500 ml
·     นำ้ตาล 5 ช้อนชา 

การเตรียม
ผสมให้เข้ากันในขวดน้ำอัดลมพลาสติก ขนาด 1.25 ลิตร หมักไว้ในห้องที่มีอากาศร้อน (อย่าปิดฝาแน่น)  แต่ไม่ให้โดนแสงแดด  เก็บไว้นาน 48-72 ชั่วโมง จึงนำมาใช้ได้  พยายาม อย่าให้มดขึ้นด้วย  เวลาใช้ นำน้ำยาที่ได้ 100 มิลลิลิตรไป ผสมน้ำ 20 ลิตร  + น้ำยาล้างจาน 30 มิลลิลิตร ในการพ่นใบมะนาวที่เป็นโรคแคงเกอร์ ทุก3 วัน จำนวน 4 ครั้ง 

ปล. ผมได้ทำ แบคทีเรีย ชื่อ ยี่ห้อ Killer B ปราบแคงเกอร์  ออกขาย แล้ว 1 ชุด มี 4 ซอง ราคา 200 บาท  2 ชุดราคา 300 บาท  และ 4 ชุด 450 บาท ค่าส่งฟรี  โอนเงิน ตามบัญชีกรุงไทย เลขบัญชี 434 – 119 -3414



โอนเงินแล้ว ติดต่อเภสัชเอก 0823074103
*** ส่งหลักฐานการโอนเงินที่***
 อีเมล newfrxbaby@gmail.com หรือ https://www.facebook.com/supparak.suppaaim
ควร ขอเป็นเพื่อนผม ใน facebook ก่อนน่ะครับ


ทำความรู้จักผู้เขียน

                    
               สวัสดีครับ ผมเภสัชเอก ครับ ผมมีชื่อจริงว่า ศุภรักษ์ ศุภเอม ผมเป็นเภสัชกร รับราชการ ทำงาน ที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น สนใจปลูกมะนาวเป็นอาชีพเสริม มานานกว่า 10 ปีแล้วครับ โดยผมมีความฝันจะ ทำสวนมะนาวที่มีผลผลิตคุณภาพสูง ปลอดสารพิษ ผ่านมาตรฐาน GAP และ สามารถบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดูกาลได้ ในต้นทุนที่ไม่สูง เกินไป  โดยอาศัยความรู้พื้นฐานด้านเภสัชศาสตร์ เกษตรศาสตร์และ การทำวิจัยที่ได้เล่าเรียนมาในการค้นคว้าหาความรู้เรื่องมะนาว  และ ทดลองวิธีการใหม่ๆ ในการปลูกมะนาวให้ประสบความสำเร็จ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม e mail   newfrxbaby@gmail.com

บรรณานุกรม
1 จิรเดช แจ่มสว่าง. 2552. การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคมะนาว. การลงทุนสร้างสวนมะนาวเชิงธุรกิจมืออาชีพ.  บริษัท แอคมี่ พรินติ้ง จำกัด. ISBN : 978-974-235-885-3
2 มนตรี บุญจรัส. 2557 . ปัญหาที่เกิดบ่อยในการทำมะนาวนอกฤดู. เกษตรวาไรตี้ รู้แล้วรวย  ฉบับที่ 35/2557.
3 Kalita ,P. L. C. Bora and K.N. Bhagabati , 1996. Phylloplane microflora of citrus and their role in management of citrus canker. Indian Phytopath., 49: 234-237.
4 Huang T-P, Tzeng DD-S, Wong ACL, Chen C-H, Lu K-M, et al. (2012) DNA Polymorphisms and Biocontrol of Bacillus Antagonistic to Citrus Bacterial Canker with Indication of the Interference of Phyllosphere Biofilms. PLos ONE / www.ploseone.org July 2012 / Volume 7 / Issue 7/  e42124.


คำไข : โรคแคงเกอร์  แคงเกอร์ โรคพืช มะนาว ส้ม มะกรูด






วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

การใช้ประโยชน์จาก จิบเบอร์เรลลิก  แอซิด

       
         
             gibberellic acid 2% w/v   เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิต แก้ปัญหายอดสั้น ขั้วผลสั้น ข้อสั้นเนื่องจากใช้สารสังคับการออกดอก เพิ่มการติดผล ลดการหลุดร่วง กระตุ้นให้พืชแตกใบอ่อนอย่างสม่ำเสมอ สะดวกต่อการจัดการและดูแลแปลงปลูกพืช   ข้อควรระวัง  ไม่ควรใช้ขณะอากาศร้อนและแห้งจัด 


1 ช่วยให้ส้ม มะนาว ติดผลเต็มที่ พ่นระยะดอกบานเต็มที่ ใช้ 10-15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นระยะดอกบานเต็มที่ถึงระยะกลีบดอกโรย


** ดอกมะนาวจะไม่ร่วง ติดผลดี  ถ้า ระบบรากดี ไม่ขาดน้ำ ขาดปุ๋ย มะนาวสะสมอาหารได้มากพอ**

2  ช่วยยืดอายุ มะนาวไม่ให้ผลเป็นสีเหลือง ชะลอการเปลี่ยนสี ทำให้เก็บรักษาหลังเก็บเกี่ยวได้นานขึ้น ใช้ 2-4 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นในช่วงผลยังเป็นสีเขียวอยู่ จะทำให้มะนาวสุกช้าลง 1 เดือน และ ขนาดผลใหญ่ขึ้น 10-20%

ตัวอย่าง
กรณี ยิดอายุ มะนาว จากเก็บขาย มีนาคม เป็น ขาย เมษายน มะนาวจะ ราคาขายดีขึ้นชัดเจน ผลจะใหญ่ขึ้น ราคาจะเพิ่มด้วย



วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

นาโนซิงค์ออกไซต์ แก้โรคแคงเกอร์ ในสวนมะนาว

            ทีมนักวิจัยนาโน ลาดกระบังฯ นำ “นาโนซิงค์ออกไซด์” จำกัด "โรคแคงเกอร์" ปัญหาใหญ่ของเกษตรกรปลูกมะนาว ที่ทำให้มะนาวตกเกรด ทั้งต้นและผลมีจุดสีน้ำตาล ซึ่งเป็นผลจากแบคทีเรีย และยังขยายตัวต่อไปไม่สิ้นสุด แต่ผลจากการฉีดพ่นอนุภาคนาโนผสมน้ำช่วยยับยั้งการกระจายของโรคได้ และได้มะนาวผิวสวยขึ้น



     "โรคแคงเกอร์" เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้พืชผลอย่าง มะนาว มะกรูด และส้มโอ มีรอยแผลเป็นจุดนูนสีน้ำตาลเล็กๆ และล้อมรอบด้วยวงเหลืองอย่างกระจัดกระจาย แต่ตรงกลางเป็นรอยบุ๋ม โดยแบคทีเรียก่อโรคจะระบาดไปยังต้นอื่นเรื่อยๆ ซึ่งเกษตรกรจะแก้ปัญหาด้วยการฉีดพ่นคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์กับคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ แต่สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ทำให้ต้นมะนาวกลายเป็นสีน้ำเงิน และหากใช้มากๆ อาจทำให้มะนาวไม่ติดผลหรือดอกร่วง อีกทั้งยังมีสารตกค้างถึงผู้บริโภค

ทีมวิจัย พร้อม ศ.ดร.จิติ หนูแก้ว คณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง พบว่าซิงค์ออกไซด์ช่วยแก้ปัญหาโรคแคงเกอร์ในมะนาวได้ จึงได้ติดต่อ นางธนภร ธนภัทรเดชา กำนัน ต.วังยาว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เจ้าของสวนมะนาวธนภร ซึ่งปลูกมะนาวพันธุ์แป้นเกษตรประมาณ 60 ไร่ เพื่อเข้าร่วมโครงการวิจัยการยับยั้งเชื้อราฆ่าแบคทีเรียของวิทยาลัย และ ดร.วิรัตน์ยังบอกด้วยว่า เมื่อไปถึงสวนของกำนันธรภรแล้ว พบว่ามะนาวทั้งสวนเป็นสีน้ำเงินจากการใช้คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์

     ผลจากการทดลองใช้ซิงค์ออกไซด์ในส่วนของนางธนภรเป็นเวลา 1 ปี พบว่าโรคแคงเกอร์ไมแพร่ระบาด และทางเจ้าของสวนได้นำต้นมะนาวที่เป็นโรคออกจากสวนทั้งหมดแล้ว ส่วนลูกมะนาวจากต้นที่ไม่เป็นโรคก็มีผิวสวย ลูกโตขึ้น และจำหน่ายได้เต็มราคา เนื่องจากผลมะนาวที่เป็นโรคนั้นจะขายได้ราคาไม่ดี อีกทั้งประหยัดต้นทุนจากลดใช้สารเคมีกำจัดแบคทีเรีย ซึ่งเกษตรกรรายอื่นๆ ที่เห็นความสำเร็จก็หันมาใช้นาโนซิงค์ออกไซด์เพื่อแก้ปัญหาโรคแคงเกอร์บ้าง

     ด้าน ดร.วิรัตน์ เจริญบุญ อธิบายเพิ่มเติมว่า ซิงค์ออกไซด์คือสังกะสีที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน มีลักษณะเป็นผงอนุภาคละเอียดสีขาว และเป็นส่วนประกอบที่นิยมใช้ผลิต “คาลาไมน์” ทาผิวเพื่อแก้อาการผดผื่น โดยคุณสมบัติของอนุภาคดังกล่าว ช่วยยับยั้งเชื้อราที่กัดกินใบพืช และมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย โดยทีมวิจัยได้ใช้ผงนาโนซิงค์ออกไซด์ผสมน้ำเพื่อฉีดพ่นสวนมะนาว ในอัตราส่วน 50 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร สำหรับพื้นที่ 1 ไร่ และฉีดซ้ำทุก 10-15 วัน พบว่าอาการของโรคลดลง
อย่างไรก็ตาม ทางทีมวิจัยกำลังศึกษาผลระยะยาว ว่านาโนซิงค์ออกไซด์จะส่งผลกระทบข้างเคียงอื่นๆ หรือไม่ แต่ขณะพบว่ายังให้ผลในทางบวก และคาดว่าจะนำไปใช้ทดลองกับพืชชนิดอื่นๆ ที่เป็นโรคเชื้อราและแบคทีเรียต่อไป เช่น ยางพารา เป็นต้น





       ธนภรเล่าย้อนอดีตว่า เมื่อ 7 ปีที่แล้วได้รับการชักชวนให้เปลี่ยนจากการทำสวนผักมาทำสวนมะนาว เพื่อให้เกิดกลุ่มเกษตรกรสวนมะนาวในอ.ด่านช้าง จึงตัดสินใจ ลงทุนซื้อกิ่งพันธุ์มะนาวแป้น 220 กิ่ง มูลค่า 5,500 บาท และพลิกดินจากแปลงผักเป็นสวนมะนาวอย่างจริงจัง “ตลอดเวลาปลูกมะนาว ทำไปก็คิดไปว่าจะสำเร็จหรือจะล่มเหมือนสวนผัก อีกทั้งประสบการณ์ก็ไม่มี แถมโรคแคงเกอร์ระบาดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เหมือนการดื้อยา ขนาดที่ว่าแม้จะฉีดยาเพิ่มมากแค่ไหนก็เอาไม่อยู่ เหลือดอกผลไว้ให้ลุ้นในช่วงเก็บเกี่ยวเพียง 20% เท่านั้น”



     ปัจจุบันสวนมะนาวทรัพย์ธนภรหันมาใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ฉีดพ่นแก้ปัญหาโรค แคงเกอร์ ครอบคลุมสวนมะนาวทั้ง 60 ไร่ โดยผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีส่งไปจำหน่ายยังตลาดไทและปากคลองตลาดเป็นลูกค้าหลัก ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมเท่าตัวจากผลิตผลที่มีคุณภาพ และลดค่าใช้จ่ายในส่วนของยากำจัดศัตรูพืช“แต่ก่อนแคงเกอร์รุมเร้าหนักมาก จะใช้ผงเขียวที่เป็นคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์กับคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์สำหรับกำจัดศัตรูพืชฉีดลงมะนาว แต่หลังได้ยินว่ามีโครงการวิจัยแก้โรคแคงเกอร์จึงลองเข้าร่วมดู ครั้งแรกลองฉีดแค่ 4 ไร่ ผลที่ออกมาพบใบที่เป็นแคงเกอร์หยุดลามไปยังใบอื่น และผลัดใบที่มีอาการของโรคทิ้ง อีกทั้งยังเสริมฤทธิ์ยาฆ่าแมลง ตอนนี้เลยใช้หมดทั้งหมด รู้สึกว่ามะนาวที่ได้เป็นมะนาวเกรดเอ ซึ่งยังช่วยประหยัดต้นทุนให้เกษตรกรมากขึ้น ทำให้ได้ราคาหน้าสวนเต็มๆ ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม" นางธนภรบอกแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ระหว่างลงพื้นที่เพื่อสำรวจความสำเร็จของการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์แก้ปัญหาโรคแคงเกอร์




        จากเดิมมีต้นทุนในการดูแลต่อไร่ 100 บาท หลังจากมีการใช้อนุภาคนาโนฯ ทำให้ต้นทุนที่ใช้ลดลง เหลือเพียงไร่ละ 25 บาทเท่านั้น ส่งผลให้สวนของเขามีรายได้ตกเดือน 1 แสนบาท
ก็นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เป็นความหวังของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวในอนาคตได้ หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดที่วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กรุงเทพฯ หรือ โทร.0-2329-8000 ต่อ 3034 หรือศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรด่านช้าง โทร.0-2329-8000 ต่อ 3076


วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ธุรกิจมะนาวนอกฤดู มันดีอย่างไร

มะนาวนอกฤดู มันดีอย่างไร  สำหรับ นายศุภรักษ์ ศุภเอม

  1. ธุรกิจ มีกำไรสูง ROI อาจมากถึง 400% ใน 1 ปี (กำไรต่อไร่อาจสูงถึง 1 ล้านบาท)
  2. การบังคับมะนาวนอกฤดู ทำได้ยาก จึงเป็นข้อดี ในการป้องกันการเกิด Over Supply
  3. งานในสวนมะนาว เป็นงานยาก ไม่ใช่งานหนัก ใช้เวลาทำงานแต่ะวัน ประมาณ 2-3 ชม.
  4. ธุรกิจสวนมะนาว มักเป็นของเกษตรกร ไม่มีบริษัทใหญ่ เข้ามาแข่งขันในตลาด
  5. ตลาดของมะนาว เป็นตลาดในประเทศ ไม่ใช่ตลาดโลก สามารถคาดการณ์ได้ง่าย
  6. การลงทุนสวนมะนาวในเบื้องต้น ไม่สูงจนเกินไป ประมาณ 500000 บาท
  7. สอดคล้องกับความถนัดทางวิชาการด้านเกษตรศาสตร์ ชีวะวิทยา พิษวิทยา และเคมี
  8. การลงทุนในมะนาวได้ผลตอบแทนเร็ว ภายใน 1 ปี
  9. เจ้าของกิจการไม่จำเป็นต้องอยู่สวนตลอดเวลา สามารถมีเวลาว่างไปเที่ยวพักร้อนได้
  10. มีสามารถ ในการทำมะนาวปลอดสารพิษได้ ซึ่งแทบยังไม่มีคู่แข่งด้านนี้เลย

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปุ๋ยสูตรโยกหน้า โยกหลัง ของ ดร.รวี กับมะนาวนอกฤดู

“ปุ๋ยสูตรโยกหน้า” เช่น ปุ๋ยสำเร็จรูปสูตร 21-7-14 ก็ใช้ได้ ปุ๋ยสูตรโยกหน้าจะช่วยเพิ่มความแกร่งให้กับเนื้อไม้ ป้องกันการฉีก หัก ของกิ่ง-ต้นได้ การให้ปุ๋ยไม่ควรทิ้งระยะเกิน 1 เดือน/ครั้ง หากกรณีของสภาพดินที่เป็นดินทรายไม่ควรเกิน 15 วัน/ครั้ง หรืออาจใช้หลักการให้ปุ๋ยแบบ “ให้ทีละน้อย แต่ให้บ่อยๆ” ก็ได้ ขณะที่ “การจัดการศัตรูพืช” แนะนำให้ใช้ ระบบ 1-4-7 โดยเริ่มไปตั้งแต่ช่วงที่พืชมีการผลิ “ใบอ่อน” หรือ “ดอกอ่อน” หรือ “ผลอ่อน” ออกมาได้ขนาดประมาณ 2-3 มม. จังหวะนี้เองที่ ศัตรูพืชอาทิ “เพลี้ยไฟ” จะเริ่มเข้าทำลายรวมทั้ง “หนอนชอนใบ” ก็จะเข้ามาวางไข่ด้วย ให้นับเป็นวันที่ 1 ในการฉีดพ่นยาเพื่อป้องกันกำจัด เช่น อะบาเมกติน แล้วก็เว้นวันที่ 2 วันที่ 3 ไปวันที่ 4 ฉีดซ้ำอีกโดยใช้ยาตัวเดิม จากนั้นก็เว้นวันที่ 5 วันที่ 6 ไปวันที่ 7 ฉีดอีกโดยใช้ อิมิาโคลพริด , ฟิโปรนิล, คลอไพรีฟอสตัวใดตัวหนึ่ง หรือใช้  ไซเปอร์เมทริน เป็นการป้องกันหนอนชอนใบ เพื่อไม่ให้เกิดบาดแผล ซึ่งโรคแคงเกอร์จะเข้าทางบดแผลเท่านั้น ก็จะตัดวงจรของแมลงศัตรูพืชได้พอดี แต่หลังจากนี้ไปแล้วหากพบการระบาดอีกก็ฉีดพ่นยาเพื่อการกำจัดเป็นกรณีๆ ไป หรืออีกวิธีหนึ่งอย่าง



     รศ.ดร. รวี กล่าวว่า หลังจากมีการดูแลต้นมะนาวดังที่กล่าวมาแล้ว อายุต้น 6 เดือน และมีขนาดทรงพุ่มตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป ก็สามารถที่จะเริ่มขั้นตอนการบังคับนอกฤดูเพื่อให้มีผลผลิตได้แล้ว ก็คือประมาณเดือนกรกฎา-สิงหาเริ่มทำการตัดปลายยอด จากนั้นเพื่อกระตุ้นให้สร้าง “ใบอ่อน” ขึ้นมาจะให้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูงหรือ “สูตรโยกหน้า” เรื่อยไปจนถึงคลี่ใบสุด (ประมาณ 22-30 วัน) โดยในระหว่างนี้เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนชุดที่ 2 ขึ้นมาซ้ำซ้อน เพราะมะนาวที่จะบังคับให้ออกดอก-ติดผลได้ต้องมีอายุใบหรือยอดเกิน 90 วันเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าจะต้องพยายามรักษาใบอ่อนชุดแรกให้มีอายุถึง 90 วันให้ได้ ดังนั้นจึงมีการนำสาร “พาโคลบิวทราโซล” เข้ามาช่วยลดการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง, ใบ และยังเปิดโอกาสให้มีการออก “ดอก” เพิ่มมากขึ้น อัตราที่ใช้ 400 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นให้ชุ่มทั่วทั้งต้นหลังจากตัดยอดได้ 15 วัน นับเป็นการใช้สารครั้งที่ 1 แล้วใบอ่อนชุดแรกมีอายุเลย 30 วันไปแล้วจึงเปลี่ยนสูตรปุ๋ยที่ให้เป็นตัวท้าย (K) สูง หรือ “สูตรโยกหลัง” ซึ่งสัดส่วนที่ให้ก็คือ 1 :1 : 3 หรือ 2 :1 : 3 หรือ 3 : 1 : 4 เช่น สูตร 15-5-20 เพื่อช่วยบำรุงให้ออกดอก ในระหว่างนี้พอครบ 60 วันหลังจากที่ตัดยอดก็จะทำการพ่นสารซ้ำอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 2 อาจร่วมกับการงดน้ำด้วย ในกรณีโครงสร้างดินมีลักษณะเป็นทรายจะทำให้การบังคับด้วยการอดน้ำได้ผลดียิ่งขึ้น และจากการที่ปลูกระยะชิดซึ่งมีการควบคุมทรงพุ่มทำให้พุ่มต้นไม่ใหญ่มากตอบสนองต่อการชักนำให้ออกดอกได้ดีกว่าพุ่มต้นที่มีขนาดใหญ่ จากนั้นพอเลย 90 วันไปแล้ว (ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด) มะนาวจะเริ่มติดดอก-ออกผลต่อไป ต้องมีการดูแลให้น้ำ-ให้ปุ๋ยอย่างเพียงพอและคอยควบคุมศัตรูพืชอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะหลังดอกโรยหรืออายุผลมะนาวในช่วง 2 เดือนแรก จะมีความอ่อนแอต่อ “เพลี้ยไฟ” และ “แคงเกอร์” แต่ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา นอกจากนี้ช่วงมะนาวขยายลูกต้องดูแลเรื่องการให้น้ำอย่างเพียงพอ และสูตรปุ๋ยที่ให้ในช่วงนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นสูตร “โยกหน้า” ไปจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยว ซึ่งหากเริ่มทำการบังคับตามรอบที่กล่าวมาจะทำให้มีมะนาวออกมาทันขายในช่วงกุมภา-มีนา-เมษา ได้พอดี


           อย่างไรก็ตาม รศ.ดร. รวี ยังได้กล่าวถึงสาเหตุของการทำมะนาวนอกฤดูแล้วไม่ประสบผลสำเร็จด้วยว่า เป็นเพราะส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจธรรมชาติของต้นมะนาวอย่างดีพอ อาทิ มะนาวจะไม่มีการออกดอกในกิ่งที่มีการติดผลอยู่ ดังนั้นการที่จะให้ต้นมะนาวออกดอกได้ดีตามต้องการจึงจำเป็นต้องกำจัดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นออกทิ้งไปเสียก่อน หรือ หลังจากมีการตัดแต่งกิ่งแล้ว ยอดหรือกิ่งมะนาวที่จะสร้างตาดอกได้ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วันขึ้นไป เป็นต้น โดยนอกจากนี้แล้วการจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต้องผสานร่วมกัน เช่น การจัดการน้ำ (การงดน้ำ), การใช้สารกลุ่มชะลอการเจริญเติบโตพืช (สารพาโคลบิวทราโซล), การปฏิบัติการจัดการทรงพุ่ม (พุ่มต้นที่เล็กกว่าสามารถชักนำการออกดอกเพื่อการผลิตนอกฤดูได้ดีกว่า), โครงสร้างดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายมีการระบายน้ำที่ดีจะมีผลทำให้การชักนำการออกดอกได้ดีกว่า และการจัดการเรื่องปุ๋ยที่มีสัดส่วนของ N-P-K เหมาะสมกับการเจริญเติบโตพืชในแต่ละช่วง โอกาสของความสัมฤทธิ์ผลในการบังคับนอกฤดูย่อมสูงตามไปด้วย

ปัจุบัน ผู้เขียน มี หนังสือเสียง และ อีบุ๊ค สวนมะนาวเงินล้านจำหน่าย 
อยากได้ หนังสือ คู่มือ สวนมะนาว แนว How to ไหม
อยากทำกำไร จาก สวนมะนาวปีละ ล้านทำอย่างไร
พบ คำตอบ ใน ชุด หนังสือ คู่มือชาวสวนมะนาว ฉบับสมบูรณ์


ราคา 390 บาท เท่านั้น  โอนเงิน แล้ว แจ้งที่
โอนเงิน ธนาคารกรุงไทย ออมทรัพย์ ชื่อ ศุภรักษ์ ศุภเอม


เลขบัญชี 434 – 119 -3414

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การจัดการโรคแคงเกอร์ มะนาว

โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis จะเข้าทำลาย ใบมะนาว กิ่ง และผลมะนาว โดยที่ใบจะมีจุดสีเหลืองเกิดขึ้น และอาจมีจุดสีแดง หรือ น้ำตาลอยู่ด้วย ตามภาพ


ในผลมะนาวที่เป็น แคงเกอร์ (canker) ก็จะมีจุดสีเหลือง ขึ้นเช่นกัน และทำให้มะนาวราคาตกต่ำไม่เป็นที่ต้องการของแม่ค้าในตลาด ตามภาพ



การป้องกันโรคแคงเกอร์เริ่มจาก
1 คัดเลือกกิ่งพันธุ์ดี ปลอดโรคแคงเกอร์
2 แช่น้ำยา streptomycin  + oxytetracycline นาน 90 นาที ในกิ่งพันธุ์ก่อนปลูก
3 ปลูกไม้ไผ่เป็นแนวกันลม ในสวนมะนาว
4 ป้องกันหนอนชอนใบโดยใช้ ไดโนทีฟูแรน(dinotefuran)
5 ใช้  White oil เมื่อมีการระบาด
6 ใช้แบคทีเรีย บาซิลลัสสูตร พลายแก้ว  ฉีดพ่น ทุก 30 วัน
7 ใช้ zinc  oxide nano พ่นเมื่อ แคงเกอร์ระบาด และพ่นต่อทุก 15-30 วัน




หนอนชอนใบ จะทำให้โรคแคงเกอร์ระบาดมากขึ้น

เมื่อเกิดการระบาดของโรคแคงเกอร์
1 ตัด กิ่งใบที่ติดโรค มาเผาทำลาย
2 ฉีดพ่นด้วย zinc oxide nano   2 รอบ ห่างกัน 10 วัน
3 ตามด้วยการพ่น บาซิลลัสสูตร 3 อีกสองรอบ


White oil  ทำจากปิโตเลี่ยมจึงค่อนข้างปลอดภัย ใช้กำจัดหนอนชอนใบ และเพลี๊ยะไก่แจ้
ได้แก่ สารยี่ห้อ เอสเค 99 ของโซตัส http://www.sotus.co.th/index.php?p=438&hl=th




ไดโนทีฟูแรน(dinotefuran)  ยี่ห้อ สตาร์เกิล (Starkle) ความเป็นพิษต่ำมาก ต่อมนุษย์ และ ใช้กำจัดหนอนชอนใบ เพลี๊ยะไก่แจ้ และเพลี๊ยะไฟ  ได้ดี ออกฤทธิ์นาน 14 วัน 



zinc oxide nano
         ใช้  zinc oxide nano 50 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันโรคแคงเกอร์ ได้ผลดีกว่า copper hydroxide แต่มีพิษน้อยกว่า ราคาก็ถูกกว่า 50% ทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ เบอร์โทรศัพท์ 02-329-800 ต่อ3034 หรือศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เบอร์โทรศัพท์ 02-3298000 ต่อ 3076 หรือเข้าไปที่ www.nano.kmitl.ac.th

ความปลอดภัยของ zinc oxide
ยานี้ปลอดภัยมาก เพราะใช้ทำยาคาลาไมท์ ครีมกันแดด  และสามารถใช้ผสมอาหารได้
ยกเว้นเมื่อให้ความร้อนสูงมากๆ zinc oxide จะเระเหยและเกิดพิษได้


ปล. ผมได้ทำ แบคทีเรียบีเอส ปราบโรคแคงเกอร์ชื่อ ยี่ห้อ Killer B
  ขาย แล้ว 1 ชุด มี 4 ซอง ราคา 200 บาท  2 ชุดราคา 300 บาท  และ 4 ชุด 450 บาท ค่าส่งฟรี  
โอนเงิน ตามบัญชีกรุงไทย เลขบัญชี 434 – 119 -3414


โอนเงินแล้ว ติดต่อเภสัชเอก 0823074103
*** ส่งหลักฐานการโอนเงินที่***
 อีเมล newfrxbaby@gmail.com หรือ https://www.facebook.com/supparak.suppaaim
ควร ขอเป็นเพื่อนผม ใน facebook ก่อนน่ะครับ

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยสูตรโยกหน้า โยกหลัง

ปุ๋ยโยกหน้า

ปุ๋ยโยกหน้า เน้น N มาก เร่งใบ เร่งผล



ปุ๋ยเกร็ดสูตร 30-20-10 เร่งการแตกใบอ่อน ขยายผล บำรุงใบ

ขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม/ขวด

ปุ๋ยเกร็ดสูตร 30-20-10 เร่งการแตกใบอ่อน ขยายผล บำรุงใบ

ขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม/ขวด
http://www.thaigreenagro.com/product/order.aspx?productID=308


ปุ๋ยสูตร 20-10-12 ราคา 740-840 บาท


http://www.akesuphan.com/web/product/ปุ๋ยสูตร-20-10-12-ราคา-740-840-บาท.html



ปุ๋ยเคมี ตราเอ็ม-เปค  16-8-8 ปุ๋ยโยกหน้า 






ปุ๋ยสูตรโยกหลัง 

ปุ๋ยสูตรโยกหลัง  เน้น K มาก แล้วใบอ่อนชุดแรกมีอายุเลย 30 วันไปแล้วจึงเปลี่ยนสูตรปุ๋ยที่ให้เป็นตัวท้าย (K) สูง หรือ “สูตรโยกหลัง” ซึ่งสัดส่วนที่ให้ก็คือ 1 :1 : 3 หรือ 2 :1 : 3 หรือ 3 : 1 : 4 เช่น สูตร 15-5-20 เพื่อช่วยบำรุงให้ออกดอก


การใช้ จุลินทรีย์ควบคุมโรคมะนาว

โรครากเน่า โคนเน่า คุมด้วยเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา



ส่วนโรคแคงเกอร์ (canker) คุมด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส

https://www.facebook.com/pages/เชื้อราไตรโคเดอร์มา-และเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสเพื่อควบคุมโรคพืช/650175675012354?sk=timeline

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ฮอร์โมน สำหรับ มะนาว

ชื่อสามัญ : แพคโคลบิวทราโซล 10% WP.

                 Paclobutrazol 10% WP

กลุ่มสารเคมี: Triazole


 ประโยชน์ แพคโคลบิวทราโซล เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช มีคุณสมบัติในการลดปริมาณการสร้างจิบเบอเรลลินในพืชมีผลทำให้ต้นพืชที่ได้รับสาร มีการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านลดลง
เป็นสารชะลอการเจริญเติบโตของพืชที่นิยมใช้กับมะม่วงและพืชไร่ และเป็นสารกำจัดเชื้อรากลุ่ม triazole ออกฤทธิ์ในทางตรงข้ามกับจิบเบอเรลลิน โดยยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลิน ลดการยืดตัวของปล้อง เพิ่มการเจริญเติบโตของราก เร่งให้เกิดดอก ทำให้ออกลูกเร็ว ถูกใช้ในการจัดสวนเพื่อลดการเจริญเติบโตของยอด ใช้ได้ผลดีกับไม้พุ่มและไม้ต้น ช่วยเพิ่มความทนทานต่อความเครียดจากความแล้ง เกิดใบไม้สีเขียวเข้ม มีความต้านทานต่อเชื้อราและแบคทีเรียเพิ่มขึ้นและเพิ่มการพัฒนาของราก[3] การเจริญของแคมเบียมเช่นเดียวกับการยับยั้งการเจริญของยอดในไม้ต้นบางชนิด[4]



จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ ควบคุมการเจริญเติบโตและมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางพัฒนาการรวมทั้งการยืดของข้อ การงอก การพักตัว การออกดอก การแสดงเพศ การชักนำการสร้างเอนไซม์ รวมทั้งการชราของดอกและผล

การออกฤทธิ์ของจิบเบอเรลลิน



กระตุ้นการขยายตัวของเซลล์ โดยการเพิ่มความยืดหยุ่นของผนังเซลล์ ทำให้เซลล์มีรูปร่างยืดยาวขึ้น
กระตุ้นการเจริญของรากโดยเฉพาะการเจริญของรากแรกเกิด (Radicle) รากต้องการจิบเบอเรลลินในปริมาณที่น้อยกว่าลำต้น เช่นรากต้องการ GA3 ในระดับนาโนโมลาร์ แต่ยอดต้องการในระดับไมโครโมลาร์ จิบเบอเรลลินมีผลต่อพัฒนาการของดอกโดยเฉพาะพัฒนาการของก้านชูเกสรตัวผู้และกลีบดอก บริเวณที่มีการสร้างจิบเบอเรลลินมากในดอกคือผนังของอับละอองเรณูและในละอองเรณู การสร้างจิบเบอเรลลินในอับละอองเรณูนี้จะควบคุมพัฒนาการของดอกทั้งหมด กระตุ้นการติดผล ในพืชหลายชนิด เช่น ส้ม มะเขือเทศ องุ่น การได้รับจิบเบอเรลลินช่วยให้เกิดการติดผลโดยไม่ต้องผสมเกสรได้


- จิบเบอเรลลิกแอซิด 20%

ส้ม มะนาว

เพื่มการติดผลและเพิ่มผลผลิต

-ใช้อัตรา 5-10 กรัม (1-2 เม็ด) ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นในระยะดอกบานเต็มที่

ชะลอการแก่ของของผลและยืดอายุการเก็บเกี่ยว

-ใช้อัตรา 5 กรัม (1 เม็ด) ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นก่อนที่ผลจะเริ่มเปลี่ยนสี

ส้ม มะนาว ยับยั้งการออกดอกในรุ่นที่ไม่ต้องการ

-ใช้อัตรา 5-10 กรัม (1-2 เม็ด) ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นในช่วงที่คาดว่าส้มจะออกดอก

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ยาปราบศัตรูมะนาว












โรค และ แมลง ศัตรูของ มะนาว


  1. โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย าการเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งใบ กิ่ง ก้าน และผล
  2. หนอนชอนใบ เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
  3. โรครากเน่าโคนเน่า กิดจากเชื้อราไฟท้อฟโธร่า(Phytophthoraparasitica Dastur ) ส่วนใหญ่มักพบโรครากเน่าโคนเน่านี้ในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว
  4. โรคกรีนนิ่ง ใบมะนาวจะด่างเหลือ หรือ ขาวใส ใบจะเล็กลง
  5. ไรแดง จะพบในหน้าหนาว หรือ ช่วงแล้งจัด ไรแดงจะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ และผล
  6. เพลี๊ยะไฟ เป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก มีสีเหลืองนวล เหลืองปนน้ำตาล
  7. โรคทริสเตซ่าไวรัส ต้นมะนาวมีอาการใบเหลือง หลุดร่วงง่าย หรือเกิดอาการยางไหลออก
  8. โรคราดำ จะมีสีดำที่ใบ เปลือก หรือ ผลมะนาว ทำให้สังเคราะห์แสงได้น้อย
ไรแดงในสวนมะนาว


โรคแคงเกอร์ในมะนาว

หนอนชอนใบ


โรคมะนาว

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเตรียมการสร้างสวนมะนาวนอกฤดูในฝัน ตอนที่ 1


  1. หาพื้นที่ปลูกมะนาว ที่เหมาะสม
  2. เขียนแผนธุรกิจ เงินลงทุน และ กระแสเงินสด
  3. ฝึกอบรมเพิ่มเติม
  4. หาที่ปรึกษา ที่ไว้ใจได้
  5. เตรียมเงินลงทุน
  6. ปรับพื้นที่ปลูกมะนาว
  7. เตรียมหาคนงานพ่นยา  รดน้ำ และ ใส่ปุ๋ยมะนาว
  8. วางระบบน้ำหยดใน สวนมะนาว 
  9. ติดตั้งระบบไฟฟ้า
  10. เตรียมกิ่งพันธุ์มะนาว
  11. ปลูก ระยะ 4*3 เมตร ได้ 130 ต้น/ไร่
  12. อาคารสถานที่ และรั้วสวนมะนาว
  13. ปลูกมะนาวชุดแรก 2 ไร่ 260 ต้น 1 ตุลาคม
  14. บังคับออกดอก ช่วงปีถัดไป
  15. ปลูกมะนาว ชุดที่สอง 6 ไร่ พฤษศจิกายน ปีถัดไป
  16. ผลผลิต  ทำกำไรดี ในปีที่ 4 เกิน 100,000 บาท/ไร่
  17. ปีที่ 5 ปลูกมะนาวแปลง ที่ สอง อีกอย่างน้อย 13 ไร่

มะนาวนอกฤดู 1 ไร่ ได้กำไรเท่าใดกัน

          กำไรของสวนมะนาวนอกฤดู

              ผมจะใช้ ข้อมูล ของ จ.เพรชบุรี ที่ปลูกมะนาว แบบมืออาชีพ โดยผลผลิตอยู่ใน

ช่วง 1,800-3,000 กก./ไร่ หาก 20 ผล / 1 กก. ผลผลิตต่อไร่ คือ 36,000-60,000 ผล/ไร่

ราคาขายมะนาวนอกฤดู อยู่ในช่วง 1.5- 8 บาท ต่อผล

ดังนั้น รายได้ต่อไร่คือ  54,000-480,000 บาท/ไร่

ต้นทุน มะนาวต่อไร่ จาก กระทรวงเกษตร อยู่ที่ ประมาณ 24,000-32,000 บาท/ไร่/ปี

กำไรเบื้องต้น มะนาวนอกฤดู ต่อ ไร่ จะเป็น 22,000-456,000 บาท/ไร่/ปี

หาก ต้องการมีรายได้จากการทำสวนมะนาว ต่อปี อยู่ที่ 2,400,000 บาท

หากคิด ค่าเฉลี่ย กำไร ต่อไร่ 239,000 บาท ดังนั้น ต้องปลูกมะนาว ประมาณ 10 ไร่ ขึ้นไป

หาก คิดสำรอง เผื่อ ความไม่แน่นอน ควร ปลูกมะนาว ประมาณ 13 ไร่ จะมีรายได้ดีมาก ตามฝัน

ตาม ความต้องการ ของผู้ปลูก  คือ มีรายได้จากกำไรเฉลี่ยเดือน ละ 200,000 บาท




ผลผลิตมะนาว ต่อไร่ คือเท่าใด

ดีที่สุด คือ เพรชบุรี คือ 2100 กก./ไร่/ปี หาก มะนาว 20 ผล = 1 กก.
แสดง ว่า มะนาว 1 ไร่ จะให้ผลผลิต ประมาณ 42000 ผล
หาก ขายได้ผลละ 3-6 บาท (นอกฤดูกาล) จะได้เงิน ราวๆ 126000-252000 บาท/ไร่
ดังนั้น กำไร ต่อปี น่าจะประมาณ ไร่ละ ไม่เกิน 100000-200000 บาท
ราคามะนาว นอกฤดู ปี พศ.2557 ตลาดสี่มุมเมือง





เริ่ม ต้นสวนมะนาว ด้วยหาทำเลที่ดี

ทำเลที่เหมาะกับสวนมะนาว มีลักษณะดังนี้


  1. ดินทราย หรือ ดินร่วมปนทราย
  2. น้ำไม่ท่วมถึง
  3. มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ
  4. ราคาไม่แพงจนเกินไป
  5. มีไฟฟ้าด้วยจะดีมาก

ทำเลที่ผมเลือกไว้ ราคาไม่แพง 350000 บาท 8 ไร่ บ้านหนองผือ ต้องไป สำรวจพื้นที่จริงก่อน




วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พันธุ์มะนาวต้อง รู้ และน่าสนใจ

มะนาวในบ้านเรามีหลาหลายพันธฺุ์ ที่ผมเองสนใจได้แก่พันธุ์

1 แป้นรำไพ
2 แป้นพิจิตร 1
3 แป้นดกพิเศษ
4 ตาฮิติ


แป้นรำไพ เป็นมะนาวแป้นที่ นิยมที่สุด ออกลูกดก ออกทวาย มีดอกตลอดปี รสชาติหอม อร่อย เป็นที่นิยมมาก ขายง่าย ข้อเสีย คือ มีโรคง่าย โดยเฉพาะโรคแคงเกอร์ หนอนชอนใบ เพลี๊ยะไฟ รากเน่าและโคนเน่า และ โรคไวรัสทริสเทซ่า

แป้นพิจิตร 1 เป็นลูกผสมระหว่างมะนาวแป้นกับ มะนาวน้ำหอม ข้อดี คือ มีโรคแคงเกอร์น้อย ลูกดกมาก เติบโตดีมาก แต่ข้อเสีย คือเมล็ดมาก กลิ่นไม่หอมมาก เหมือนแป้นรำไพ ในฤดูปกติจะขายยาก และราคาถูกกว่า แป้นรำไพ

แป้นดกพิเศษ พัฒนามาสายพันธุ์จากแป้นรำไพ ออกลูกดอก ผลใหญ่ กลิ่นหอมดี ออกดอกตลอดปี ข้อเสีย คือ มีโรคง่าย โดยเฉพาะโรคแคงเกอร์

ตาฮิติ หรือ มะนาวทูลเกล้า เป็นมะนาวไร้เมล็ด ผลโต น้ำมาก และทนต่อโรคแคงเกอร์ แต่ข้อเสีย คือ มีกลิ่นไม่หอม เหมือนแป้นรำไพ เหมาะกับการปลูกทำน้ำมะนาวคั้น

ผมพลาดตรงจุดไหน ในการทำสวนมะนาว

ความผิดพลาดชัดเจนในการทำสวนมะนาวของผมก็คือ 


  1. ไม่ได้ทุ่มเท อย่างเต็มที่ ไม่ได้เข้าสวนทุกวัน
  2. ขาดการวางแผน จัดการที่ดีเพียงพอ
  3. ตั้งแต่ การหากิ่งพันธุ์คุณภาพดี ปลอดโรค การปลูก และการจัดการโรค
  4. ขาดเงินทุน ในการดำเนินการ
  5. ไม่ได้เตรียมระบบน้ำ ในสวนมะนาวให้มีเพียงพอ
หากผมจะเริ่มต้น ทำสวนมะนาวอีกครั้ง ผมจะเริ่มต้นให้ดีกว่าเดิมด้วยการ
  • ศึกษาเพิ่มเติม ให้เข้าใจ ทุกกระบวนการอย่างแท้จริง
  • โดยเน้นตั้งแต่ การเตรียมแปลง กิ่งพันธุ์คุณภาพดี การปลูก และการจัดการโรคและแมลง
  • เตรียมเงินสำหรับเริ่มทำสวนมะนาว โดยจะเริ่มทำจาก 1 ไร่ก่อน อาจมีการปลูก ในวงบ่อซีเมน์ 2 งาน และปลูกลงดิน 2 งาน โดยเริ่มทดลองใช้ระบบน่้ำหยด
  • แต่ต้องมีการพ่นยาป้องกันโรคทุก 7-15 วัน พร้อมใส่ปุ๋ยทุกเดือน


วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แพ้ ก็กลับมาสู้อีกครั้ง กับ ความฝันสวนมะนาวนอกฤดู

เคยทำไปแล้ว สวนมะนาว 2 ไร่ แต่ท้อถอยไป พ่ายแพ้ ไม่ได้เลิก เนื่องจากปัญหา


  • โรคและ แมลง ศัตรูของมะนาว
  • ขาดแหล่งน้ำ ในการดูแลมะนาว
  • ภรรยาไม่เห็นด้วย ว่ามะนาวจะขายได้
  • เภสัชเอก ไม่เอาจริง ไม่ทุ่มเท
  • ขาดเงินทุน หมุนเวียน
  • สวนไกลจากบ้านพัก และที่ทำงาน

มาหนนี้ผมอยากกลับมาสู้ต่ออีกครั้ง ครับ อยาก จะทำสวนมะนาวนอกฤดู ให้สำเร็จ
ไม่เอา มาก สวนมะนาว สัก 15 ไร่ กำไร ปีละ 4 ล้านบาท พอแล้ว
เป็นกำลังใจให้ผมด้วยครับ พี่น้อง