เพลี้ยไฟพริก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scirtothrips dorsalis Hood
ลักษณะทั่วไปและการเข้าทำลาย
เพลี้ยไฟพริก สามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น พริก มะม่วง มะนาว กุหลาบ เป็นต้น เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวยาวประมาณ 1-2 มม. มีสีน้ำตาลปนเหลือง ตัวเต็มวัยมีปีก ทำลายพืชโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอดอ่อน ตาใบ ตาดอก หากดูดน้ำเลี้ยงที่ใบจะทำให้ขอบใบม้วนหงิกงอ ขอบใบและปลายใบไหม้ ถ้าเป็นมากใบจะร่วงในที่สุด หากทำลายยอดจะทำให้ยอดหงิกงอ ไม่เจริญเติบโต หากทำลายผล จะทำให้ผลเกิดเป็นแผลสีน้ำตาลเป็นทาง อาจทำให้ผลบิดเบี้ยว เพลี้ยไฟมักระบาดมากในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง เช่นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และปริมาณจะลดลงในช่วงฤดูฝน
การป้องกันและกำจัด
- ก่อนนำต้นไม้ต้นใหม่เข้ามาต้องตรวจดูว่าไม่มีเพลี้ยไฟติดมาด้วย และควรกำจัดเพลี้ยไฟก่อนนำไปปลูกรวมกับต้นอื่น ๆ
- ถ้าเพลี้ยไฟทำลายไม่มากนัก ให้ตัดส่วนที่แมลงทำลายไปเผาทำลาย
- ก่อนปลูกกุหลาบหรือย้ายกระถาง ให้ใช้ สตาร์เกิล จี รองก้นกระถางก่อนปลูก อัตรา 2 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา) หรือ จะใช้โรยรอบกระถางก็ได้อัตรา 10 กรัม (ประมาณ 5 ช้อนชา) ต่อกระถางขนาด 12 นิ้ว
สตาร์เกิล จี ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น
- หากพบว่ากุหลาบมีเพลี้ยไฟทำลายจำนวนมาก แนะนำให้ใช้สตาร์เกิล เอสแอส(สูตรน้ำเข้มข้น) จำนวน 1 ซีซี ผสมน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากันแล้วหยดสารเพิ่มประสิทธิภาพ เทนชั่น ที-7 จำนวน 2 หยด เพื่อให้สตาร์เกิล เอสแอลสามารถจับติดที่ใบทำให้ประสิทธิภาพในการดูดวึมเข้าต้นพืชได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ใช้ปากเจาะและดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกมะม่วงโดยเฉพาะฐานรองดอก และขั้วผลอ่อน ทำให้เซลล์บริเวณนั้นถูกทำลาย สังเกตพบผลอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วง กรณีที่ระบาดไม่รุนแรง จะปรากฎแผลชัดเจน เป็นวงที่ขั้วผลมะม่วง
- ใบ การทำลายที่ใบ เพลี้ยไฟจะทำให้ใบที่แตกใหม่แคระแกรน ขอบใบ และปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็ก ๆ สำหรับใบที่โตแล้ว ตามขอบใบจะม้วนงอ ปลายใบไหม้
- ยอด ถ้าเป็นการทำลายที่รุนแรง ทำให้ยอดแห้งไม่แทงช่อใบหรือช่อดอกออกมาได้
- ช่อดอก การทำลายในระยะติดดอก จะทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วง ไม่ติดผลหรือทำให้ติดผลน้อย
- ผล ที่ขั้วผลอ่อนจะเห็นเป็นวงสีเทาเกือบดำ หรือผลบิดเบี้ยว ถ้าการทำลายรุนแรงผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด แมลงชนิดนี้ระบาดเมื่ออากาศร้อนและแห้งแล้ง ถ้ามีการระบาดรุนแรง เพลี้ยไฟจะทำลายมะม่วงระยะผลอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อยู่ในช่วงมะม่วงเริ่มแทงดอกในระยะเดือยไก่ และปริมาณประชากรจะลดลงในระยะดอกตูม และเพิ่มขึ้นเมื่อดอกใกล้บาน จนถึงดอกบานเต็มที่ จากนั้นจะเริ่มลดลง เมื่อเริ่มติดผลและจะพบน้อยมากเมื่อผลผลิตใกล้เก็บ
ศัตรูธรรมชาติ
ไรตัวห้ำ Amblyseius sp. ด้วงเต่า
การป้องกันกำจัด
1. ถ้าพบไม่มากนักให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดไปเผาทิ้ง เพราะเพลี้ยไฟมักจะอยู่กันเป็นกลุ่ม บริเวณส่วนยอดอ่อนของพืช
2. การพ่นสารฆ่าแมลงควรพ่นในระยะติดดอก อย่างน้อย 2 ครั้ง คือ เมื่อเริ่มแทงช่อดอก และมะม่วงเริ่มติดผลขนาดมะเขือพวง (ประมาณ 0.5 - 1 ซม.) ถ้าหากปีใดมีเพลี้ยไฟระบาดรุนแรงจำเป็นต้องพ่นซ้ำในระยะก่อนดอกบานสารฆ่าแมลงที่แนะนำคือ cyhalotrin (คาราเต้ 2.5% EC) 7 มล. 20 ลิตร หรือ fenpropathrin (ดานิทอล) 10% EC อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ carbaryl (เซฟวิน 85% WP) 45 - 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ควรหลีกเลี่ยงเมื่อดอกบานสารฆ่าแมลงดังกล่าวมีอันตรายต่อผึ้ง
3. ในระยะแตกใบอ่อน ถ้ามีการระบาดให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงดังข้อ 2 ถ้าเพลี้ยไฟทำลายรุนแรงจนยอดอ่อนไม่แตกใบ ต้องตัดแต่งกิ่งช่วยด้วย
เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก มีสีเหลืองนวล เหลืองปนน้ำตาล น้ำตาลเข้มและสีดำ มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ปีกมีลักษณะเป็นแผ่น
บางใส มีขนยาวรอบขอบปีก ปีกแบนราบขนานกันบนสันหลังหรือสามารถซ้อนลำตัวได้ ส่วนท้องมีลักษระเรียวยาว มีจำนวนปล้อง 10 ปล้อง เพลี้ย
ไฟเป็นแมลงที่มีเขตการแพร่กระจายไปทั่วโลก ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสามารถทำลายพืชได้ โดยใช้กรามเขี่ยวดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชในส่วน
ยอด ตาอ่อน ใบ ดอกและผล ทำให้ใบเกิดรอยด่าง สีซีด หรือทำให้ขอบใบแห้ง ตาอ่อนชะงักการเจริญเติบโต กลีบดอกมีสีซีด โดยเฉพาะกลีบดอก
ที่มีสีเข้มจะเห็นการทำลายได้อย่างชัดเจน บางครั้งพบลักษณะเป็นรอยแผลสีน้ำตาล
นอกจากนี้ความเสียหายจากเพลี้ยไฟยังเกิดจากสิ่งขับถ่ายที่เพลี้ยไฟถ่ายออกมามีลักษณะคล้ายหยดน้ำเล็กๆ ติดอยู่ตามส่วนต่างๆ ของพืช
หยดน้ำเหล่านี้เมื่อแห้งจะทำให้พืชเกิดรอยตำหนิเป็จุดดำ ที่สำคัญเพลี้ยไฟบางชนิดสามารถเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่พืช ซึ่งการถ่ายทอดเชื้อไวรัส
เกิดจากเพลี้ยไฟตัวอ่อนระยะแรกรับเชื้อไวรัส และเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะถ่ายทอดเชื้อนี้ให้กับพืชทางน้ำลาย การสืบพันธุ์ของเพลี้ยไฟมีทั้งแบบไม่
อาศัยเพศและอาศัยเพศ ถ้าเป็นแบบไม่อาศัยเพศลูกที่ได้จะเป็นตัวผู้ทั้งหมด หลังจากผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ เพลี้ยไฟสามารถแพร่กระจายไปตาม
แหล่งต่างๆ ได้ง่าย โดยอาศัยลมเป็นพาหะ พบได้ตามแหล่งปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ดอกทั่วทุกภาพของประเทศไทย
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ให้ใช้สารเคมีตามคำแนะนำ ได้แก่ ฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร อิมิดาโคลพริด 70% ดับบลิวจี อัตรา 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตร อย่างไรก็ตามเพื่อลดความเสียหายต่อผลผลิต และลดปริมาณแมลงศัตรูพืชให้น้อยลง เกษตรกรควรใช้วิธี
ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชแบบผสมผสานร่วมด้วย โดยใช้สารสกัดจากพืช เช่น สารสะเดาสามารถช่วยลดปริมาณการเข้าทำลายของแมลง
ศัตรูพืชได้ การใช้กับดักแมลง เช่นกับดักกาวเหนียวสีเหลือง อัตรา 80-100 กับดัก/ไร่ สามารถช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ และ
แมลงหวี่ขาว รวมทั้งต้องหมั่นสำรวจและทำความสะอาดแปลง เพื่อช่วยลดการสะสมของแมลงศัตรูพืช
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง โดยเฉพาะในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แต่อย่างไรก็ตามในสภาพบ้านเรา การขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี แต่อาจจะรุนแรงเป็นระยะ ๆเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบข้าวที่ยังอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและ อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลงลักษณะทั่วไปและการเข้าทำลาย
เพลี้ยไฟพริก สามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น พริก มะม่วง มะนาว กุหลาบ เป็นต้น เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวยาวประมาณ 1-2 มม. มีสีน้ำตาลปนเหลือง ตัวเต็มวัยมีปีก ทำลายพืชโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอดอ่อน ตาใบ ตาดอก หากดูดน้ำเลี้ยงที่ใบจะทำให้ขอบใบม้วนหงิกงอ ขอบใบและปลายใบไหม้ ถ้าเป็นมากใบจะร่วงในที่สุด หากทำลายยอดจะทำให้ยอดหงิกงอ ไม่เจริญเติบโต หากทำลายผล จะทำให้ผลเกิดเป็นแผลสีน้ำตาลเป็นทาง อาจทำให้ผลบิดเบี้ยว เพลี้ยไฟมักระบาดมากในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง เช่นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และปริมาณจะลดลงในช่วงฤดูฝนเพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็กในโลกนี้มีเพลี้ยไฟอยู่ทั้งหมดมากกว่า 5,000 ชนิด เพลี้ยไฟที่ลำลายพืชที่พบในประเทศไทย โดยทั่ว ๆ ไปมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตรเท่านั้น(ขนาดของเพลี้ยไฟเท่าที่มีรายงานมีความยาวลำตัวประมาณ 0.5-14 มิลลิเมตร แล้วแต่ชนิด)
เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายพืชโดยการดูดน้ำเลี้ยง โดยเฉพาะส่วนอ่อนหรือส่วนเจริญ เช่น ตา ใบอ่อน ดอก เป็นต้น ส่วนของพืชที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย สังเกตได้ง่าย ๆ คือ จะมีอาการหงิกงอ เป็นคลื่น มีสีขาวซีด หรือถ้ามีการทำลายรุนแรงส่วนนั้น ๆ จะเป็นรอยด่างสีน้ำตาล เหี่ยวแห้ง ถ้าทำลายดอกเพลี้ยไฟจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ยังเป็นตาดอก ทำให้ตาดอกเหี่ยวแห้ง ไม่ออกดอก การทำลายตั้งแต่เป็นดอกตูมจะทำให้ดอกมีรูปร่างผิดปกติกลีบดอกหงิกงอบิดเบี้ยและเล็กลงมากจนถึงเป็นรอยด่างสีน้ำตาล
เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูที่มีปัญหามาก โดยเฉพาะในการปลูกเลี้ยงไม้ดอกหลาย ๆ ชนิด เช่น กล้วยไม้ เบญจมาศ กุหลาบ เยอร์บีร่า มะลิ ดาวเรือง เป็นต้น เพลี้ยงไฟ นอกจากจะเคลื่อนที่โดยการเดิน บินแล้ว ยังอาศัยลมในการพัดพาไป
เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อการส่งออก ซึ่งประเทศไทยกำลังมีปัญหาทางด้านการกักกันพืชที่มีเพลี้ยไฟติดไปกับดอกกล้วยไม้และกระทบกระเทือนต่อการส่งออกดอกกล้วยไม้ของประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
อย่างไรก็ตามแม้ว่าโดยลักษณะรูปร่างภายนอกเพลี้ยไฟมีรูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกันแต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ซึ่งการแยกลักษณะชนิดของเพลี้ยไฟ ต้องอาศัยหลักการทางวิชาการค่อนข้างยุ่งยาก เพราะเป็นแมลงขนาดเล็ก ไม่สามารถแยกชนิดโดยดูลักษณะภายนอกด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะวิเคราะห์ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องแน่นอน
การป้องกันกำจัด
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ โดยทั่ว ๆ ไป วิธีการอื่น ๆนอกจากการพ่นสารฆ่าแมลงยังไม่รายงานว่าใช้ได้ผลแต่อาจจะใช้
1. กับดักกาวเหนียวสีเหลือง แขวนหรือปักไว้ในสวนเพื่อตรวจสอบดูว่า เริ่มมีการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในแปลงพืชหรือยัง ซึ่งช่วยได้ในแง่การทำนายการระบาด นอกจากนี้กับดักยังใช้ในการศึกษาข้อมูลอื่น ๆ ของเพลี้ยไฟด้วย
2. ถ้ามีการระบาดทำลายมาก และจำเป็นต้องใช้สารเคมีให้ใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งคือสารคาร์โบซัลแฟน (พอสซื 20 ℅อีซี) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร สารโปรไธโอฟอส (โตกุไธออน 50℅อีซี) อัตรา 20-30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร และสารเบนฟูราคาร์บ (ออนคอล 20℅อีซี) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น และเนื่องจากเพลี้ยไฟมีวงจรชีวิตสั้นมากในระยะที่มีการระบาดค่อนข้างสูง จึงควรพ่นสารเคมีค่อนข้างถี่ คือประมาณ 4-5 วันครั้งติดต่อกัน 2-3 ครั้งหรือจนกว่าการระบาดจะลดลง
3. ในกลุ่มเกษตรอนทรีย์ให้ใช้เชื้อสดราขาว บิวเวอร์เรีย บาเซียน่า ซึ่งเป็นเชื้อราที่สามารถเข้าทำลายเพลี้ยไฟได้ดีที่สุด ในอัตรา 200ซีซี:น้ำ20ลิตร ฉีดพ่นห่างกัน 3วันเป็นเวลา 3ครั้ง และ100ซีซี:น้ำ20ลิตรทุก15วันเป็นการป้องกันต่อไป
ถ้าพืชถูกทำลายมากจะเหี่ยวแห้ง หงิกงอ ยอดอาจไม่เจริญ ควรจะพ่นปุ๋ยทางใบไปพร้อมกันด้วยเพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากเพลี้ยไฟบินในเวลากลางวันในช่วงเช้าจนถึงบ่ายคือเริ่มพบเพลี้ยไฟมากในช่วง 8.00-13.00 น. สูงสุดในเวลา 9.00-10.00 น. หลังจากนี้จะพบเพลี้ยไฟน้อยลงโดยเฉพาะในเวลา18.00-6.00 น. จะพบน้อยมาก ดังนั้นในการพ่นสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟโดยเฉพาะในรังกล้วยไม้ ซึ่งโรงเรือนมีการพรางแสงอยู่แล้วจึงควรจะพ่นในระยะเวลาเช้า คือในระหว่างเวลา 8.00-10.00 น. ทั้งนี้เพื่อให้สารฆ่าแมลงมีโอกาสถูกตัวเพลี้ยไฟได้โดยตรง